การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310

by taxlaw
0 comment
ภาษีสมัยอยุธยา

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310 เมื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก ดังนั้นบทความนี้กฏหมายภาษี เราจะมาบอกการจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา มาดูกันเลย

ภาษีสมัยอยุธยา

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา หรือ ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยภาษีสมัยอยุธยามีรายละเอียดดังนี้

  1. จังกอบหรือจำกอบ เป็นภาษีสมัยอยุธยาที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า นำเข้ามาจำหน่าย
  2. อากร เป็นภาษีสมัยอยุธยาที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ เป็นต้น ดังนั้น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
  1. ส่วย มีความหมายตามที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า คำว่า ส่วย คือ
  • เป็นเครื่องราชบรรณาการ คือ สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง 
  • เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ไม่ได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล เมื่อสังคมไทยแต่ดั้งเดิม มีระบบเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยรัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะให้ความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน ทั้งนี้เดิมราษฎรที่ถูกเกณฑ์แรงงาน จะมาประจำการเป็นเวลาปีละ 6 เดือน และผู้ที่ไม่มารับราชการเมื่อถึงเวรของตน จะต้องเสียส่วยเรียกว่า ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน
  • เงินที่ทางราชการกำหนดให้ราษฎรร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง
  • ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลวง
  1. ฤชา ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว เช่น ผู้ใดจะขอโฉนดตราสาร เพื่อไม่ให้ผู้อื่นบุกรุกแย่งชิงที่เรือกสวนไร่นา จักต้องเสียฤชาแก่รัฐ เป็นต้น ดังนั้นฤชาที่สำคัญ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับทางการศาล

สรุป

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา เป็นการจัดเก็บภาษีทั้งในรูปของการบังคับจัดเก็บจะได้รับประโยชน์ในทางอ้อม คือ กรณีจังกอบและส่วย ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือในรูป ที่ผู้ถูกจัดเก็บจะได้รับผลประโยชน์จากรัฐโดยตรง คือ อากรและฤชา

You may also like

Leave a Comment