
ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร
ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร เพราะวิสาหกิจชุมชนเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยเป็นการเลือกจะรวมกลุ่มทำธุรกิจในชุมชนบ้านเกิดของตัวเอง เช่น ขายทอผ้าจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ขายอาหารแปรรูป ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ดังนั้นธุรกิจเล็ก ๆ จากการรวมตัวของเพื่อนบ้าน และสมาชิกในชุมชนเช่นนี้ ช่วยสร้างรายได้ให้คนในชุมชน วันนี้เรากฏหมายภาษีเราจะมานำเสนอภาษีวิสาหกิจชุมชน มาดูกันเลยว่าจะเป็นอย่างไร
หน้าที่ทางบัญชีและภาษีวิสาหกิจชุมชนที่ต้องจัดทำ

รูปแบบวิสาหกิจชุมชนมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ บุคคลธรรมดา หรือเป็นนิติบุคคล มีรายละเอียด ดังนี้
- บุคคลธรรมดา เช่น การรวมตัวกันของสมาชิก 7 คน ตามกฎหมายเราเรียกว่า คณะบุคคล หรือ หุ้นส่วนสามัญ ทั้ง 2 แบบนี้ในทางกฎหมายยังถือเป็นบุคคลธรรมดาไม่ถือว่าเป็นนิติบุคคล
- นิติบุคคล ต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และเลือกได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
สำหรับเรื่องการทำบัญชี มีข้อกำหนดเรื่องทำบัญชี แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
- บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำบัญชี และมีงบการเงินส่งทุกปี
- นิติบุคคล ตามกฎหมายบังคับให้นิติบุคคลทำบัญชี และนำส่งงบการเงินเป็นประจำทุกปี
การยื่นภาษีวิสาหกิจชุมชน

ภาษีวิสาหกิจชุมชนต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของวิสาหกิจชุมชน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่วิสาหกิจชุมชนมีภูมิลำเนาตั้งอยู่ และนำการส่งภาษีแยกตามรูปแบบของธุรกิจ 2 ได้แก่
- บุคคลธรรมดา นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (5-35%) ซึ่งเงินได้สุทธิคำนวณจาก เงินได้ หักด้วยค่าใช้จ่าย (ตามจริงหรือแบบเหมา) ถ้าเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายตามจริง จะต้องทำบัญชีและมีเอกสารประกอบด้วย
- นิติบุคคล นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี x อัตราภาษี (สูงสุด 20%) ซึ่งกำไรสุทธิทางภาษีจะคำนวณได้ก็ต่อเมื่อเราทำบัญชีตามกฎหมายเท่านั้น
สิทธิประโยชน์ของภาษีวิสาหกิจชุมชน

การจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนจะได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในหลาย ๆ ด้าน แน่นอนว่านั้นคือเรื่องของภาษี ซึ่งทางกรมสรรพากรได้มีการออกกฎหมายมาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกิจในชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
โดยวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนแล้ว จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้พึงประเมิน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่เป็นนิติบุคคล มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท ตามกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 371 (พ.ศ. 2563) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ระยะเวลาในการยกเว้นภาษี ขยายออกไปจนถึง 31 ธันวาคม 2568
สรุป
เป็นอย่างไรบ้างคะ ทั้งหมดนี้เป็นความรู้เบื้องต้นทางบัญชีและภาษีวิสาหกิจชุมชน ดังนั้นการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และทำบัญชียื่นภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญสำหรับทุก ๆ ท่าน