เรื่องน่ารู้ของภาษีซื้อเฉลี่ย

by taxlaw
0 comment
ภาษีซื้อเฉลี่ย

เรื่องน่ารู้ของภาษีซื้อเฉลี่ย

เรื่องน่ารู้ของภาษีซื้อเฉลี่ย เพราะการดำเนินธุรกิจย่อมคาดหวังให้กิจการสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน ทำให้ใน 1 บริษัทอาจดำเนินกิจการประเภทต่างกันรวมอยู่ ดังนั้นวันนี้กฏหมายภาษีเราจะมาบอกเรื่องราวของเฉลี่ยภาษีซื้อชนิดนี้ จะเป็นอย่างไรนั้น ตามมาดูกันเลย

ภาษีซื้อเฉลี่ยคืออะไร

ซื้อเฉลี่ย คือ การปันส่วนภาษีซื้อของผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้ทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้เป็นประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เสีย จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ผู้ประกอบการนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ ผู้ประกอบการไม่ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อจะถือว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามทั้งจำนวน เช่น

บริษัท แปรรูปหมู จำกัด ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร คือ การนำหมูมาแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบ ได้แก่ การแปรรูปหมูที่มีชีวิต ให้เป็นหมูชิ้นกิจการประเภทนี้ไม่มีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม และการแปรรูปหมูให้เป็นเบคอนกิจการประเภทนี้ต้องมีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีซื้อเฉลี่ยมี 2 วิธี มีอะไรบ้าง

  1. ภาษีซื้อเฉลี่ยตามส่วนของรายได้

การภาษีซื้อเฉลี่ยที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ วัสดุสิ้นเปลือง และภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม

การภาษีซื้อเฉลี่ยตามส่วนของรายได้มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • ปีแรกที่เริ่มมีรายได้ เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภท ในปีที่เริ่มมีรายได้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกิน 50%
  • ปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ เมื่อสิ้นปีที่ 2 สามารถเลือกได้ว่า ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบันของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป และไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน โดยเมื่อเริ่มต้นปีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์
  1. ภาษีซื้อเฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร

การภาษีซื้อเฉลี่ยที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ในกิจการทั้งประเภทมี VAT และ NON-VAT ซึ่งจะนำภาษีที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามพื้นที่อาคารที่ใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • เมื่อเริ่มสร้างอาคาร ต้องมีการประมาณพื้นที่อาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการ VAT และ NON-VAT โดยแจ้งการประมาณแต่ละขั้นตอน (เป็นตารางเมตร) แก่สรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.1 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคาร และต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามสัดส่วนของการใช้พื้นที่อาคารตามอัตราส่วนของแต่ละกิจการ

เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ ให้ผู้ประกอบการแจ้งการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แก่กรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.2 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ ในระยะเวลา 3 ปี หากผู้ประกอบการไม่ได้ใช้พื้นที่อาคาร หรือใช้พื้นที่ไม่เกินกว่าที่ประมาณการไว้ ไม่ต้องมีการปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้

You may also like

Leave a Comment