กฏหมายภาษี.com
  • หน้าแรก
  • กฎหมาย
  • ข่าวสาร
  • บทความแนะนำ
  • ภาษี
@2021 - All Right Reserved. Designed and Developed by กฏหมายภาษี.com
Category:

ไม่มีหมวดหมู่

ไม่มีหมวดหมู่

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310

by taxlaw 27 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ภาษีสมัยอยุธยา

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310 เมื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก ดังนั้นบทความนี้กฏหมายภาษี เราจะมาบอกการจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา มาดูกันเลย

ภาษีสมัยอยุธยา

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา หรือ ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยภาษีสมัยอยุธยามีรายละเอียดดังนี้

  1. จังกอบหรือจำกอบ เป็นภาษีสมัยอยุธยาที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า นำเข้ามาจำหน่าย
  2. อากร เป็นภาษีสมัยอยุธยาที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำนา ทำไร่ ทำสวน หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ เป็นต้น ดังนั้น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
  1. ส่วย มีความหมายตามที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า คำว่า ส่วย คือ
  • เป็นเครื่องราชบรรณาการ คือ สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง 
  • เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ไม่ได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล เมื่อสังคมไทยแต่ดั้งเดิม มีระบบเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยรัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะให้ความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน ทั้งนี้เดิมราษฎรที่ถูกเกณฑ์แรงงาน จะมาประจำการเป็นเวลาปีละ 6 เดือน และผู้ที่ไม่มารับราชการเมื่อถึงเวรของตน จะต้องเสียส่วยเรียกว่า ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน
  • เงินที่ทางราชการกำหนดให้ราษฎรร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง
  • ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลวง
  1. ฤชา ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว เช่น ผู้ใดจะขอโฉนดตราสาร เพื่อไม่ให้ผู้อื่นบุกรุกแย่งชิงที่เรือกสวนไร่นา จักต้องเสียฤชาแก่รัฐ เป็นต้น ดังนั้นฤชาที่สำคัญ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับทางการศาล

สรุป

การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา เป็นการจัดเก็บภาษีทั้งในรูปของการบังคับจัดเก็บจะได้รับประโยชน์ในทางอ้อม คือ กรณีจังกอบและส่วย ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือในรูป ที่ผู้ถูกจัดเก็บจะได้รับผลประโยชน์จากรัฐโดยตรง คือ อากรและฤชา

27 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ไม่มีหมวดหมู่

ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร

by taxlaw 25 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ภาษีวิสาหกิจชุมชน

ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร

ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร เพราะวิสาหกิจชุมชนเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยเป็นการเลือกจะรวมกลุ่มทำธุรกิจในชุมชนบ้านเกิดของตัวเอง เช่น ขายทอผ้าจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ขายอาหารแปรรูป ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ดังนั้นธุรกิจเล็ก ๆ จากการรวมตัวของเพื่อนบ้าน และสมาชิกในชุมชนเช่นนี้ ช่วยสร้างรายได้ให้คนในชุมชน วันนี้เรากฏหมายภาษีเราจะมานำเสนอภาษีวิสาหกิจชุมชน มาดูกันเลยว่าจะเป็นอย่างไร

หน้าที่ทางบัญชีและภาษีวิสาหกิจชุมชนที่ต้องจัดทำ 

รูปแบบวิสาหกิจชุมชนมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ บุคคลธรรมดา หรือเป็นนิติบุคคล มีรายละเอียด ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา เช่น การรวมตัวกันของสมาชิก 7 คน ตามกฎหมายเราเรียกว่า คณะบุคคล หรือ หุ้นส่วนสามัญ ทั้ง 2 แบบนี้ในทางกฎหมายยังถือเป็นบุคคลธรรมดาไม่ถือว่าเป็นนิติบุคคล
  2. นิติบุคคล ต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และเลือกได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

สำหรับเรื่องการทำบัญชี มีข้อกำหนดเรื่องทำบัญชี แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำบัญชี และมีงบการเงินส่งทุกปี 
  2. นิติบุคคล ตามกฎหมายบังคับให้นิติบุคคลทำบัญชี และนำส่งงบการเงินเป็นประจำทุกปี

การยื่นภาษีวิสาหกิจชุมชน

ภาษีวิสาหกิจชุมชนต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของวิสาหกิจชุมชน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่วิสาหกิจชุมชนมีภูมิลำเนาตั้งอยู่ และนำการส่งภาษีแยกตามรูปแบบของธุรกิจ 2 ได้แก่

  1. บุคคลธรรมดา นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (5-35%) ซึ่งเงินได้สุทธิคำนวณจาก เงินได้ หักด้วยค่าใช้จ่าย (ตามจริงหรือแบบเหมา) ถ้าเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายตามจริง จะต้องทำบัญชีและมีเอกสารประกอบด้วย
  2. นิติบุคคล นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี x อัตราภาษี (สูงสุด 20%) ซึ่งกำไรสุทธิทางภาษีจะคำนวณได้ก็ต่อเมื่อเราทำบัญชีตามกฎหมายเท่านั้น

สิทธิประโยชน์ของภาษีวิสาหกิจชุมชน

การจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนจะได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในหลาย ๆ ด้าน แน่นอนว่านั้นคือเรื่องของภาษี ซึ่งทางกรมสรรพากรได้มีการออกกฎหมายมาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกิจในชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน 

โดยวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนแล้ว จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้พึงประเมิน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่เป็นนิติบุคคล มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท ตามกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 371 (พ.ศ. 2563) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ระยะเวลาในการยกเว้นภาษี ขยายออกไปจนถึง 31 ธันวาคม 2568 

สรุป

เป็นอย่างไรบ้างคะ ทั้งหมดนี้เป็นความรู้เบื้องต้นทางบัญชีและภาษีวิสาหกิจชุมชน ดังนั้นการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และทำบัญชียื่นภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญสำหรับทุก ๆ ท่าน

25 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ไม่มีหมวดหมู่

เรื่องน่ารู้ของภาษีซื้อเฉลี่ย

by taxlaw 17 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ภาษีซื้อเฉลี่ย

เรื่องน่ารู้ของภาษีซื้อเฉลี่ย

เรื่องน่ารู้ของภาษีซื้อเฉลี่ย เพราะการดำเนินธุรกิจย่อมคาดหวังให้กิจการสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน ทำให้ใน 1 บริษัทอาจดำเนินกิจการประเภทต่างกันรวมอยู่ ดังนั้นวันนี้กฏหมายภาษีเราจะมาบอกเรื่องราวของเฉลี่ยภาษีซื้อชนิดนี้ จะเป็นอย่างไรนั้น ตามมาดูกันเลย

ภาษีซื้อเฉลี่ยคืออะไร

ซื้อเฉลี่ย คือ การปันส่วนภาษีซื้อของผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายได้ทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้เป็นประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เสีย จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ผู้ประกอบการนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ ผู้ประกอบการไม่ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อจะถือว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามทั้งจำนวน เช่น

บริษัท แปรรูปหมู จำกัด ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร คือ การนำหมูมาแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบ ได้แก่ การแปรรูปหมูที่มีชีวิต ให้เป็นหมูชิ้นกิจการประเภทนี้ไม่มีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม และการแปรรูปหมูให้เป็นเบคอนกิจการประเภทนี้ต้องมีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีซื้อเฉลี่ยมี 2 วิธี มีอะไรบ้าง

  1. ภาษีซื้อเฉลี่ยตามส่วนของรายได้

การภาษีซื้อเฉลี่ยที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ วัสดุสิ้นเปลือง และภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม

การภาษีซื้อเฉลี่ยตามส่วนของรายได้มีวิธีการดังต่อไปนี้

  • ปีแรกที่เริ่มมีรายได้ เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภท ในปีที่เริ่มมีรายได้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกิน 50%
  • ปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ เมื่อสิ้นปีที่ 2 สามารถเลือกได้ว่า ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบันของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป และไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน โดยเมื่อเริ่มต้นปีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์
  1. ภาษีซื้อเฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร

การภาษีซื้อเฉลี่ยที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ในกิจการทั้งประเภทมี VAT และ NON-VAT ซึ่งจะนำภาษีที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามพื้นที่อาคารที่ใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • เมื่อเริ่มสร้างอาคาร ต้องมีการประมาณพื้นที่อาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการ VAT และ NON-VAT โดยแจ้งการประมาณแต่ละขั้นตอน (เป็นตารางเมตร) แก่สรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.1 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคาร และต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามสัดส่วนของการใช้พื้นที่อาคารตามอัตราส่วนของแต่ละกิจการ

เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ ให้ผู้ประกอบการแจ้งการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แก่กรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.2 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ ในระยะเวลา 3 ปี หากผู้ประกอบการไม่ได้ใช้พื้นที่อาคาร หรือใช้พื้นที่ไม่เกินกว่าที่ประมาณการไว้ ไม่ต้องมีการปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้

17 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ไม่มีหมวดหมู่

หลักฐานการฟ้องชู้มีอะไรบ้าง

by taxlaw 21 พฤศจิกายน 2022
written by taxlaw
หลักฐานการฟ้องชู้

หลักฐานการฟ้องชู้มีอะไรบ้าง

บทความนี้จะมาบอกหลักฐานการฟ้องชู้มีอะไรบ้าง เป็นถามที่คนที่ต้องการฟ้องชู้ทุกคนอยากรู้ และทนายความก็ต้องเข้าใจข้อกฎหมายเรื่องนี้อย่างชัดแจ้ง จึงจะสามารถตั้งเรื่องฟ้องและสู้คดีได้ถูกต้อง กฏหมายภาษี จะพาไปดูได้เลย

กฎหมายเรื่องการฟ้องชู้เป็นอย่างไร

ข้อกฎหมายการฟ้องชู้ภรรยา

กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ว่า หญิงชู้นั้นจะต้องมีพฤติการณ์แสดงตน โดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี หมายถึงชู้และสามีมีพฤติการณ์ปิดตัวหรือแสดงตัวว่าตนเองเป็นคนรัก บุคคลทั่วไป ทราบว่าหญิงชู้มีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี โดยมีตัวอย่างเพื่อให้เห็นความชัดเจน ดังนี้

1. คบหากันเปิดเผย เพื่อนร่วมงานที่ทำงาน หรือเพื่อนบ้านข้างเคียงทราบดีว่าเป็นคนรักกัน

2. แสดงความสัมพันธ์หรือความรักในทำนองชู้สาว โดยเปิดเผยให้กับคนทั่วไปได้รับทราบ เช่น เดินจับมือ โอบกอดในที่สาธารณะ

3. การมีพฤติการณ์ลงรูปคู่ วีดีโอ ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นคนรักกัน

4. การจัดงานพิธีสมรสกันหรือออกงานพิธีต่าง ๆ เช่น ไปร่วมงานแต่งงาน ร่วมงานศพ และแสดงตัวว่าเป็นคนรักกัน

และทั้งนี้สามีกับหญิงชู้นั้นจะมีเพศสัมพันธ์กันหรือไม่ไม่ใช่เป็นเงื่อนไขของการฟ้องคดี ถึงแม้สามีกับหญิงชู้จะไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กันหรือไม่ได้มีหลักฐานถึงขั้นว่าทั้งสองคนมีเพศสัมพันธ์กัน แต่หากมีพยานหลักฐานชัดเจนว่ามีการแสดงตน โดยเปิดเผยว่าคบหาหรือมีความสัมพันธ์กันอย่างคนรัก ตามตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ 

ข้อกฎหมายการฟ้องชู้สามี

ตามกฎหมายการฟ้องชู้สามี เพียงแค่มีชายอื่นมาล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาว ก็สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนได้แล้ว การล่วงเกินภรรยาไปในทำนองชู้สาว ตัวอย่างเช่น แตะเนื้อต้องตัว จูบ จับต้องในบริเวณที่ไม่ควร นอนกอดกัน ในลักษณะที่เกินกว่าวัฒนธรรมของประเทศไทยจะรับได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีเพศสัมพันธ์กัน แต่หากถ้ามีก็ย่อมถือว่าเป็นการล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาวอย่างชัดเจนและร้ายแรงที่สุด ไม่ว่าจะไม่เปิดเผย ไม่ประกาศให้บุคคลอื่นทั่วไปรู้ อาจจะเป็นการแอบคบหา และแอบมีความสัมพันธ์กันในที่ลับสามีก็มีสิทธิฟ้องได้ ดังนั้นกรณีมีชายอื่นมาล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาว และมีความสัมพันธ์กันโดยไม่เปิดเผยสามีก็มีสิทธิฟ้องได้

ความแตกต่างระหว่างการฟ้องชู้ระหว่างฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

การฟ้องชู้กรณีภรรยาฟ้องหญิงชู้ตามที่กฎหมายบังคับว่าหญิงชู้กับสามีจะต้องแสดงตนโดยเปิดเผย ภริยาจึงจะฟ้องได้ และการฟ้องชู้ถ้าเป็นสามีไปแคบหากันแบบลับ ๆ กับหญิงอื่น หรือไปมีความสัมพันธ์กันแบบชั่วคราวหรือไปซื้อบริการทางเพศกับหญิงอื่น ภริยาก็ฟ้องไม่ได้

21 พฤศจิกายน 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ไม่มีหมวดหมู่

เงินรายได้แบบไหน ที่ได้รับการยกเว้นภาษี ?

by taxlaw 25 กรกฎาคม 2022
written by taxlaw
ยกเว้นภาษี

เงินรายได้แบบไหน ที่ได้รับการยกเว้นภาษี ?

เงินรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีคือ เงินที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ต้องจ่ายภาษีตามที่มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 และการยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาฉบับต่าง ๆ ได้ระบุเอาไว้ ซึ่งมีรวมกันถึง 119 ประเภท วันนี้ กฏหมายภาษี โดยจะยกตัวอย่างให้เห็นกันสัก 10 ประเภทดังต่อไปนี้

เงินรายได้สำคัญ 10 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษี

1. เงินรายได้ที่เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะ ที่ลูกจ้างได้รับตามตำแหน่ง ซึ่งใช้จ่ายไปอย่างสุจริตและเห็นสมควรยกเว้นภาษี

2. ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะที่ทางรัฐกำหนดเอาไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

3. เงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้ใช้จ่ายตามความจำเป็น เพื่อการเดินทางเข้าไปทำงานเป็นครั้งแรก หรือการเดินทางกลับเมื่อสิ้นสุดการทำงาน แต่ยกเว้นเงินค่าเดินทางที่ได้รับจากการย้ายถิ่นฐานเดิม และเข้ารับงานของเจ้านายเดิมภายใน 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งสุดท้ายสิ้นสุดลงยกเว้นภาษี

4. หากนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาโดยสุจริตก่อนหน้าการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475 ว่านายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส ให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดแล้ว แม้เงินจำนวนนั้นจะทำการชำระภายหลังที่ใช้พระราชบัญญัติข้อนี้ ก็ไม่ต้องคิดคำนวณเพื่อการเสียภาษีเงินได้

5. เงินพิเศษประจำตำแหน่ง เงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านพักที่ไม่ต้องเสียค่าเช่ายกเว้นภาษี

6. เงินรายได้ที่เกิดจากการขายหรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ยกเว้นภาษี

7. เบี้ยประชุมกรรมการ ค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือหน่วยงานของราชการจ่ายให้

8. เงินรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยที่ได้รับการยกเว้นภาษี อาทิ ดอกเบี้ยสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาล ประเภทเผื่อเรียก ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ เป็นต้น

9. เงินรายได้ที่ได้จากการขายสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่มุ่งหวังกำไร 

10. เงินที่ได้รับจากการอุปการะ เงินที่ได้รับจากการรับมรดก หรือเงินที่ให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีและโอกาสต่าง ๆ เป็นการยกเว้นภาษี 

เงินรายได้เหล่านี้ล้วนเป็นรายได้ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยยังมีอีกจำนวนมาก เช่น กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์, เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม จากกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ หรือว่างงาน เป็นต้น, เงินบำเหน็จและบำนาญ, เงินที่ได้จากการประกวดหรือแข่งขัน เป็นต้น, เงินรางวัลที่ถูกลอตเตอรรี่สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือสลากออมสิน ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ศึกษาดูเบื้องต้น เพื่อจะได้รู้ว่ามีรายได้อื่น ๆ ที่เรายังไม่รู้อีกจะทำให้ได้สิทธิ์ในการยกเว้นภาษีมากยิ่งขึ้น

25 กรกฎาคม 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail

เรื่องล่าสุด

  • ขายฝาก vs จำนอง มีความต่างกันอย่างไร 
  • กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่ควรรู้
  • เรื่องที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน 
  • การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310
  • ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร

ติดตามเรา

Facebook Twitter Instagram Youtube

หมวดหมู่

  • กฎหมาย (63)
  • บทความแนะนำ (17)
  • ภาษี (128)
  • ไม่มีหมวดหมู่ (5)
  • Facebook
  • Twitter
  • Instagram
  • Youtube

@2021 - All Right Reserved. Designed and Developed by กฏหมายภาษี.com