กฏหมายภาษี.com
  • หน้าแรก
  • กฎหมาย
  • ข่าวสาร
  • บทความแนะนำ
  • ภาษี
@2021 - All Right Reserved. Designed and Developed by กฏหมายภาษี.com
Category:

ภาษี

ภาษี

TAX & VAT คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร

by taxlaw 21 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
TAX & VAT

TAX & VAT คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร

TAX & VAT คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะ TAX กับ VAT เชื่อว่าหลาย ๆ คนนั้นมีคามสงสัยกันแน่นอน เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกัน ดังนั้นบทความนี้ กฏหมายภาษี เราจะมานำเสนอว่าทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร

TAX (ภาษี) คืออะไร

TAX คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชน เพื่อนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร และแบ่งออกเป็นภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ และภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้

ดังนั้นใครมีหน้าที่เสีย TAX (ภาษี) หากกรณีที่เป็นบุคคลที่มีรายได้ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง จะมีหน้าที่ในการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขณะที่บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีทางตรงที่คำนวณแบบขั้นบันไดทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 

VAT (Value Added Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจัดอยู่ในภาษีทางอ้อม

ดังนั้นผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต หรือเป็นผู้ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน

สำหรับประชาชนทั่วไปไม่ได้เสียภาษีโดยตรง แต่ผู้ประกอบการจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเท่ากับเป็นการเสียภาษีทางอ้อม

วิธีคิด VAT จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทมีอะไรบ้าง

  1. วิธีคิด VAT ใน

สำหรับการคิดวิธีนี้มีไว้ใช้คำนวณ เมื่อจ่ายค่าสินค้าไปแล้วในราคาแบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องการรู้ราคาสินค้าหรือบริการจริง ๆ ก่อนรวม VAT คือเท่าไร โดยสามารถใช้สูตรคำนวณดังนี้

ราคาสินค้าหรือบริการที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว x (100 / 107) = ราคาสินค้าหรือบริการที่ยังไม่รวม VAT

เช่น จ่ายบิลค่าน้ำรวม VAT แล้วเป็นเงิน 250 บาท สามารถคิดได้เป็น 250 x (100 / 107) = 233.64 หรือประมาณ 234 บาท ซึ่งเท่ากับว่ามีค่า VAT อยู่ที่ 250 – 234 = 16 บาท

  1. วิธีคิด VAT นอก

สำหรับการคิดวิธีนี้มีไว้ใช้คำนวณ เมื่อราคาสินค้ายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องการรู้ราคาแบบรวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่ายคือเท่าไร โดยสามารถใช้สูตรคำนวณดังนี้

ราคาสินค้าหรือบริการ + [(ราคาสินค้าหรือบริการ x 7) / 100] = ราคาสินค้าหรือบริการที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

เช่น บิลจ่ายค่าโทรศัพท์รายเดือน 590 บาท สามารถคิดได้เป็น 590 + [(590×7) / 100] = 631.3 บาท เท่ากับว่าจะต้องเสีย VAT เพิ่มอีก 41.3 บาท

21 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

VAT 0 และ ไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร

by taxlaw 19 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ไม่ต้องเสีย VAT

VAT 0 และ ไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร

VAT 0 และ ไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร สำหรับบทความนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ  ภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ที่กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบจัดเก็บ แต่นอกจาก VAT 7% ที่เรารู้จักกันแล้วยังมี VAT 0 และ Non VAT (ไม่ต้องเสีย VAT) ด้วย เรากฏหมายภาษีจะมาบอกเรื่องราวของ VAT 0 และไม่ต้องเสีย VAT มาเรียนรู้กันว่าทั้งสองชนิดนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร

VAT 0 คืออะไร

VAT 0 คือการไม่เก็บภาษีแต่ยังต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และแสดงรายการภาษีขาย และรายการภาษีซื้อ การจะได้คืนในส่วนของภาษีซื้อทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหรือบริการที่ส่งออก หรือนำไปใช้ยังต่างประเทศ เมื่อไม่ได้มีการใช้สินค้าหรือบริการในประเทศ เราจึงจะได้รับอัตราภาษีร้อยละ 0 ดังนั้นจึงมีผลเท่ากับไม่ต้องเสียภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้น ๆ 

และกรณีที่จะนำส่งภาษีมูลค่า VAT 0 จะต้องเกิดจากอะไรบ้าง มีดังนี้

  1. การมีรายได้ตามมาตรา 80/1 
  2. การขายสินค้าหรือให้บริการโดยการส่งออก 
  3. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเลที่กระทำ โดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล 
  4. การขายสินค้าหรือการให้บริการกับภาครัฐ ทั้งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
  5. การขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่สถานกงสุล
  6. การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือระหว่าง ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร

ตัวอย่างของการเสีย VAT 0 เป็นอย่างไร

เมื่อบริษัทมีการส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศ 200,000 บาท ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 แสดงรายการภาษีขาย และรายการภาษีซื้อทั้งหมด โดยมีการคิดในอัตรา 0% แต่ต้องมีการออกใบกำกับภาษี และต้องการนำมารวมคำนวณในแบบ ภ.พ.30 ข้อ 2

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ต้องเสีย VAT 

สำหรับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือการที่ไม่นำรายได้มาคำนวณภาษีซึ่งจะต้องมีการนำมารวมคำนวณใน แบบ ภ.พ. 30 ข้อ 3 โดยจะได้รับการยกเว้นในกิจการบางประเภทที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด มีกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน 
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมาย
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ตัวอย่างการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร

เมื่อผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าทางเกษตร มีรายได้ 1,000,000 บาท ผู้ประกอบการไม่ต้องมีการยื่นแบบแสดงรายการ

19 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

เรื่องภาษีร้านอาหาร คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้

by taxlaw 15 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ภาษีร้านอาหาร

เรื่องภาษีร้านอาหาร คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้

เรื่องภาษีร้านอาหาร คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ เพราะเรื่องของภาษีคนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ ถือเป็นทักษะสำคัญที่ควรรู้อีกด้วย เมื่อเราเข้าใจก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่าย ๆ ในทุก ๆ ปีได้ ดังนั้นมาทำความเข้าใจเรื่องภาษีขั้นพื้นฐานที่ง่ายกว่าที่คิด วันนี้กฏหมายภาษีจะมาบอก ตามมาดูกันเลยค่ะ

คนทำร้านอาหารต้องเสียภาษีร้านอาหาร

อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า เราทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร เราอาจจะเสียภาษีในรูปแบบของภาษี ณ ที่จ่าย เช่น การซื้อของตามห้างร้าน การนั่งทานอาหารตามร้าน เป็นต้น สำหรับคนที่มีรายได้ในทุก ๆ อาชีพ ภาษีที่จะต้องจ่ายคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีเกณฑ์ของกรมสรรพากรว่าถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ต่อปีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีเพิ่ม แต่เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ มาลดหย่อนได้อีกมากมาย มีช่วงเวลายื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ 

  1. ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน ยื่นได้ด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ 
  2. ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ยื่นได้ด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ 

หากในกรณีที่มีรายได้ไม่ถึง 150,000 ต่อปี ต้องยื่นไหม คำตอบคือยื่น เพราะกรมสรรพากรจะเก็บเป็นประวัติรายได้เอาไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียภาษี 

ภาษีร้านอาหารเล็ก ๆ ต้องยื่นไหม

สำหรับร้านเล็กหรือร้านใหญ่ หากมีรายได้มากหรือน้อยควรต้องยื่นภาษีในทุก ๆ ปี และร้านที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของรอบเดือนถัดไปด้วย

ส่วนร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน ควรยื่นภาษีร้านอาหารไหม

เมื่อร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน และมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่เป็นปัญหาใด ๆ แต่หากกรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่ารายได้ต่อปีเกินจากนั้น อาจมีการเรียกเก็บย้อนและการหลบหลีกหรือไม่ยื่นเลยไม่ใช่ทางออกที่ดี ดังนั้นเจ้าของร้านอาหารทุกร้านต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละคน

ภาษีร้านอาหารการเข้าร่วมเดลิเวอรี่ต้องเสียภาษีด้วยไหม

ภาษีร้านอาหารที่ทั้งเปิดหน้าร้านและเดลิเวอรี่ เวลายื่นตรวจสอบภาษีจะต้องนำรายได้ 2 ช่องทางมารวมกัน โดยกรมสรรพากรจะมีฐานข้อมูลร้านเดลิเวอรี่ รวมถึงรายได้ในแต่ละเดือน จากการที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ต้องยื่นเสียภาษีในทุก ๆ เดือน ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดหน้าร้านด้วยหรือขายผ่านแอปเดลิเวอรี่ก็จำเป็นต้องยื่นภาษีในทุก ๆ ปี

วิธีลดหย่อนภาษีร้านอาหาร

  1. สำหรับร้านค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา

เจ้าของภาษีร้านอาหารสามารถลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ รวมถึงค่าลดหย่อนสำหรับครอบครัว ค่าการทำประกัน และการลงทุน หรือค่าเงินบริจาค

  1. สำหรับภาษีร้านอาหารที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือบริษัท
  • จากค่าเสื่อมและค่าสึกหรอ
  • จากค่าจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 
  • จากค่าอบรมพนักงาน
  • จากการทำประกันความคุ้มครอง
  • จากการเข้าร่วมโครงการของรัฐ
15 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

ใบ 50 ทวิ สำคัญอย่างไร

by taxlaw 9 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ใบ 50 ทวิ

ใบ 50 ทวิ สำคัญอย่างไร

ใบ 50 ทวิ สำคัญอย่างไร หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีทุกปี หน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องทำ สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องภาษี ดังนั้นกฏหมายภาษีเราจะพามาทำความเข้าใจกันตั้งแต่ขั้นพื้นฐานและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ใบ 50 ทวิ คืออะไร

เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นหนังสือที่ผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกให้กับผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เป็นหลักฐานการหักภาษี อาจถูกเรียกได้หลายแบบ เช่น ใบ 50 ทวิ, ใบหัก ณ ที่จ่าย และหนังสือรับรอง 50 ทวิ ผู้ที่มีรายได้ต้องจ่ายภาษี หากรัฐเก็บภาษีทีเดียวปีละครั้ง ก็อาจจะเป็นภาระก้อนใหญ่เกินไปสำหรับผู้จ่ายภาษี หรือเกิดการเลี่ยงภาษีขึ้นมา จึงมีการหักภาษีส่วนหนึ่งจากรายได้ หรือที่เรียกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ใบ 50 ทวิ จะได้รับเมื่อไหร่

  1. เมื่อจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ เป็นต้น จะออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปี ถัดจากปีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกจากงานระหว่างปี ใบ 50 ทวิ จะถูกออกให้แก่ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน
  2. เมื่อจ่ายเงินได้อื่น ๆ ฟรีแลนซ์ จะออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องใช้ในการคำนวณภาษี เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี ดังนั้นหากเลยกำหนดที่ควรจะได้ใบ 50 ทวิจากบริษัท แนะนำให้รีบติดต่อสอบถามแผนกบุคคลทันที หรือกรณีฟรีแลนซ์ติดต่อผู้จ่ายเงิน

ใบ 50 ทวิ สำคัญอย่างไร

  1. ตรวจสอบจำนวน โดยจะต้องได้รับใบ 50 ทวิ 2 ฉบับ ที่มีข้อความกำกับทั้ง 2 ฉบับเหมือนกัน ตรงตามที่กรมสรรพากรกำหนด ฉบับที่ 1 สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับการแสดงรายการภาษี และฉบับที่ 2 สำหรับให้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน
  2. ตรวจสอบความถูกต้อง หากข้อมูลไม่ถูกต้องอาจเกิดปัญหาตอนนำไปใช้ลดหย่อนภาษี หรือขอคืนภาษีตอนสิ้นปีได้ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้จ่ายเงินและของผู้รับเงิน (ผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย), วันเดือนปี ที่จ่ายเงิน, จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนภาษีที่หักและนำส่งไว้, ลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน

ใบ 50 ทวิ มีประโยชน์อย่างไร

  1. สามารถนำไปยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปีกับกรมสรรพากร เพื่อลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระตอนสิ้นปีได้ หรือในกรณีที่ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปน้อยกว่าที่ต้องจ่ายจริง ก็จะต้องมีการจ่ายภาษีเพิ่ม
  2. เมื่อถูกหักภาษีไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระทั้งปี ก็สามารถใช้ใบ 50 ทวิ ยื่นเพื่อขอคืนภาษีได้

ใบ 50 ทวิ นอกจากจะเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีแล้ว บางกรณีก็สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานแสดงฐานะหรือความมั่นคงทางการเงินแก่สถาบันการเงิน ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ ใบ 50 ทวิ จึงถือเป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญ

9 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

ไขคำตอบอาชีพดูดวงต้องเสียภาษีไหม

by taxlaw 27 ธันวาคม 2022
written by taxlaw
อาชีพดูดวง

ไขคำตอบอาชีพดูดวงต้องเสียภาษีไหม

ไขคำตอบอาชีพดูดวงต้องเสียภาษีไหม เมื่อหมอดูเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทย การทำนายดวงชะตาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้อาชีพหมอดูเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจอย่างมากอาชีพหนึ่ง ปัจจุบันการดูดวงผ่านสื่อออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมากในรูปแบบการดูด้วยไพ่ยิปซี ไพ่ทาโรต์ ลายมือ หรือดูจาก วัน เดือน ปีเกิด มีหลายคนเกิดความสงสัยว่าอาชีพดูดวงต้องเสียภาษีหรือไม่ ดังนั้นอย่ารอมา บทความนี้ กฏหมายภาษีมีคำตอบ

รายได้จากอาชีพดูดวงต้องเสียภาษีไหม

สามารถแยกที่มาของรายได้จากอาชีพดูดวง โดยอาชีพหมอดูมีรายได้จากช่องทางต่าง ๆ ได้แก่

  1. การดูดวงช่องทางออนไลน์ เพราะในยุคดิจิทัลการดูดวงผ่านสื่อออนไลน์ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้คนสามารถเข้าไปใช้บริการฟังดูดวงสด ๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด หมอดูแต่ละคนจะมี Channel ของตนเอง โดยมีผู้เข้าไปกดติดตาม แชร์หรือเป็นสมาชิก รายได้ของหมอดูมาจากส่วนแบ่งรายได้จาก YouTube เป็นต้น

เงื่อนไขของการเสียภาษี รายได้จาก YouTube ประกอบด้วย รายได้จากการโฆษณา รายได้มาจากส่วนแบ่งค่าโฆษณาที่แทรกในคลิป รวมทั้งรายได้จาก ผู้ใช้ YouTube Premium โดยพิจารณาจากยอด Follower และยอดวิวทุกคลิปรวมกันใน 1 ปี ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

ส่วนรายได้จากการรับรีวิวสินค้า รายได้ส่วนนี้มาจากการที่หมอดูรับรีวิวสินค้า ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

  1. การดูดวงช่องทางโทรศัพท์ เพราะช่องทางออนไลน์จะเป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยม การดูดวงทางโทรศัพท์ผ่านทางหมายเลข 1900 ตามด้วยรหัส 6 หลัก หรือเรียกว่า ระบบ Audio Text เป็นบริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ โดยมีรายได้ค่าบริการคิดเป็นรายนาที

เงื่อนไขของการเสียภาษี รายได้จากค่าบริการดูดวงออนไลน์, แอปพลิเคชันดูดวง และทางโทรศัพท์ รายได้ค่าบริการรับดูดวงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อพิจารณาสาระสำคัญถือว่าเป็นการรับทำงานให้ ที่คำนึงถึงผลสำเร็จของงานเนื่องจากการทำนายโชคชะตาให้แก่ผู้ว่าจ้างเสร็จสิ้นถือเป็นผลสำเร็จของงาน

  1. การเปิดร้านรับดูดวง โดยจะเปิดเป็นร้านหรือสำนักงานในการประกอบการ มีอาคารสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือเช่าจากบุคคลอื่น 

เงื่อนไขของการเสียภาษีรายได้จากการเปิดร้านรับดูดวง เป็นรายได้จากการประกอบธุรกิจ มีการลงทุนจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฏากร

จึงสรุปได้ว่าหากหมอดูที่มีชื่อเสียง และมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก มีรายได้ต่อปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท จะต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยการให้บริการดูดวงถือเป็นบริการตามคำนิยามบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

การคำนวณและการเสียภาษีสำหรับอาชีพดูดวง

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ประเภท 40(2) หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท, กรณีเงินได้ประเภท 40(8) หักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มคิด 7% จากฐานมูลค่าบริการ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มีการให้บริการหรือการชำระเงิน การจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย รวมทั้งนำรายการภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งด้วย แบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

27 ธันวาคม 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

ใครต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

by taxlaw 25 ธันวาคม 2022
written by taxlaw
เสียภาษีธุรกิจ

ใครต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ใครต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะคือภาษีที่เก็บจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนด เป็นพิเศษแยกจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บจากธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะด้วยแบบคำขอ ภ.ธ.01 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มกิจการ มีรายละเอียดเพิ่มเติม กฏหมายภาษี จะพาไปดูดังนี้

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีอะไรบ้าง

สำหรับกิจการธนาคาร, ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์, การรับประกันชีวิต, การรับจำนำ, การประกอบการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ, การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร, การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์, การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง เป็นธุรกิจที่ลูกค้าตกลงจะโอนหนี้ทางการค้า ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง โดยผู้ประกอบการธุรกิจแฟ็กเตอริ่งนั้นตกลงจะให้สินเชื่อรวมถึง การรับที่จะดำเนินธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบริหารลูกหนี้ การเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น

อัตราการจ่ายภาษีภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นอย่างไร

เมื่อฐานภาษีการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ การนำรายรับก่อนหักรายจ่ายของผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าจะมาจากในหรือนอกราชอาณาจักร มีการคำนวณจากรายรับตามฐานภาษีของกิจการแต่ละประเภท คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ รวมกับภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะที่คำนวณได้

วิธียื่นภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นอย่างไร

  1. สำหรับขั้นตอนแรกนั้นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการโดยใช้แบบ ภ.ธ.40 โดยแสดงประเภทกิจการ จำนวนเงินรายรับ จำนวนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ
  2. ต่อมาผู้ประกอบการมีหน้าที่ที่ต้องยื่นแบบ ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสามารถยื่นแบบทางออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบ
  3. ขั้นตอนสุดท้ายภาษีในเดือนภาษีใด เมื่อรวมคำนวณแล้วมีจำนวนไม่ถึง 100 บาท ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น แต่ยังคงต้องยื่นแบบแสดงรายการตามปกติ

เอกสารและหลักฐานที่ต้องจัดทำภาษีธุรกิจเฉพาะมีอะไรบ้าง

  • รายงานและแสดงผลรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยจัดทำเป็นรายวันและสรุปรายการทุกสิ้นเดือน
  • รายงานและแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ และลงรายการให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายรับ
  • การจัดเก็บรายงานดังกล่าว และเอกสารประกอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยนับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือวันจัดทำรายงานแล้วแต่กรณี
25 ธันวาคม 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเครื่องดื่ม

by taxlaw 7 พฤศจิกายน 2022
written by taxlaw
ภาษีเครื่องดื่ม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเครื่องดื่ม

บทความนี้ กฏหมายภาษี จะนำเสนอภาษีเครื่องดื่มเบื้องต้น เพราะในปัจจุบันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น ทั้งเครื่องดื่มที่ให้พลังอิ่มท้อง ดับกระหาย รวมถึงเครื่องดื่มที่เปี่ยมคุณค่าทางโภชนาส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มควรจะต้องรู้จักและทำความความเข้าใจกับขั้นตอนการเสียภาษีเครื่องดื่ม เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างถูกต้องตามกฎหมายและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

ภาษีเครื่องดื่มเป็นอย่างไร

ตามพระราชบัญญัติพ.ศ. 2527 เครื่องดื่มที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษี หมายถึง สิ่งที่ตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้ โดยไม่ต้องเจือปนและไม่มีแอลกอฮอล์ โดยจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ เช่น น้ำแร่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำพืชผักและน้ำโซดา เป็นต้น สนับสนุนโดย LOTTOSOD888 ฝาก-ถอนออโต้ไม่มีขั้นต่ำ

วิธีการเสียภาษีเครื่องดื่มกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษี 

1. ใช้แสตมป์สรรพสามิต

2. ใช้เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน เช่น เครื่องดื่มประเภทน้ำโซดา น้ำอัดลมเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น

3. ชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีหลักประกัน

การประกอบธุรกิจเครื่องดื่มกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวของภาษีเครื่องดื่ม

ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องดำเนินการทั้งก่อนที่จะนำเข้า ผลิต จำหน่ายหรือส่งออกเครื่องดื่ม มีดังนี้

1. ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มผลิตหรือจำหน่าย

2. ต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากกรมสรรพากร ตามขนาดและประเภทธุรกิจ เพื่อใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากรรวมทั้งการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีมีรายได้จากยอดขายเครื่องดื่มเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือกรณีที่ต้องการเป็นผู้นำเข้าหรือส่งออกเครื่องดื่ม

กรณีการนำเข้าเครื่องดื่ม

1. ผู้ประกอบการจะต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรก่อน

2. ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร

3. ต้องขออนุญาตนำเข้าเครื่องดื่มจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

4. ดำเนินการนำเข้าตามพิธีการนำเข้าของกรมศุลกากร โดยสำหรับสินค้าประเภทเครื่องดื่มนั้นจะต้องขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์และชำระภาษีสรรพสามิต

5. จัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อไป

กรณีการผลิตเครื่องดื่ม

ผู้ประกอบการจะต้องมีเลขประจ้าตัวผู้เสียภาษีอากร จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่ยอดขายต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท และจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว มีดังต่อไปนี้

1. ต้องขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตเครื่องดื่มจากหน่วยราชการท้องถิ่น 

2. ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต ณ สำนักงานกรมสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน ก่อนเริ่มผลิตสินค้า

3. ต้องยื่นขออนุญาตผลิต โดยหลังจากผลิตเสร็จแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องส่งตัวอย่างเครื่องดื่มตามที่กฎหมายกำหนดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขออนุมัติการผลิต

4. ต้องยื่นแจ้งวันทำการผลิตและราคาขายต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันเริ่มจำหน่าย รวมทั้งทำการจดแจ้งฉลากและจัดทำบัญชีงบเดือน เพื่อใช้ประกอบการเสียภาษีสรรพสามิตด้วย

5. ต้องจัดทำรายงานภาษียื่นต่อกรมสรรพสามิต เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนนำสินค้าออกวางจำหน่าย

7 พฤศจิกายน 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

ทำความรู้จักกับภาษีเงินได้ชาวต่างชาติ

by taxlaw 5 พฤศจิกายน 2022
written by taxlaw
ภาษีเงินได้ชาวต่างชาติ

ทำความรู้จักกับภาษีเงินได้ชาวต่างชาติ

บทความนี้จะมานำเสนอภาษีเงินได้ชาวต่างชาติ เนื่องจากปัจจุบันนี้มีชาวต่างชาติมากมายที่ทำมาหากินอยู่ในเมืองไทย พร้อมกับคำถามว่าต้องเสียภาษีอย่างไร สำหรับประเทศไทยได้จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร กฏหมายภาษี จะสามารถสรุปได้ดังนี้

ภาษีเงินได้ชาวต่างชาติเป็นอย่างไร

1. มาจากหลักแหล่งเงินได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่

– เงินได้จากงานที่ทำในประเทศไทย สำหรับผู้ที่มีเงินได้ปฏิบัติงานในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น บริษัทในอเมริกา ส่งนายซีเป็นพนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในไทย นายซีต้องนำเงินเดือนค่าจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานในไทยมายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย แต่นายซีอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย หากเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขยกเว้นภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน

– เงินได้จากกิจการที่ทำในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น นายเอ็กซ์เปิดร้านขายอาหารในประเทศไทย นายเอ็กซ์ต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้น มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

– เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย เป็นผู้ที่ได้รับเงินอาจจะปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทย หรือต่างประเทศก็ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทรวยจำกัด เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ได้ส่ง นายเอเป็นพนักงานของบริษัท ไปปฏิบัติงาน ณ สาขาของบริษัทที่ประเทศอังกฤษ โดยบริษัทรวยจำกัด เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้ทุกเดือน นายเอพนักงานต้องนำเงินได้มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย

– เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย เป็นเรื่องของเงินที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล เป็นต้น

สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ หากมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ข้างต้น ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ และจะได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม แต่กฎหมายบังคับให้จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้น

2. มาจากหลักถิ่นที่อยู่จะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข 3 ข้อ

– สำหรับผู้มีเงินได้มีเงินได้จากงานที่ทำในต่างประเทศ หรือจากกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

– สำหรับผู้ที่ได้นำเงินที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น

– สำหรับผู้มีเงินได้นั้นอยู่อาศัยในประเทศไทยถึง 180 วัน

สรุปได้ว่าไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ หากมีเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยได้นำเงินที่เกิดขึ้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และได้อาศัยอยู่ในเมืองไทยถึง 180 วัน จะต้องนำเงินนั้นมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ แต่ถ้าหากกรณีที่ไม่ครบเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมา ผู้ที่มีเงินได้นั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด

5 พฤศจิกายน 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

ภาษีคนโสดเป็นอย่างไร

by taxlaw 3 พฤศจิกายน 2022
written by taxlaw

ภาษีคนโสดเป็นอย่างไร

ภาษีคนโสด

บทความนี้จะพามารู้จักกับภาษีคนโสด เพราะในประเทศไทยยังมีคนโสดอยู่มากเช่นกัน ด้วยวิถีชีวิตรูปแบบใหม่กับความคิดที่แตกต่างจากอดีต ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้คนโสดมากขึ้น ดังนั้น กฏหมายภาษี จะพามารู้จักกับภาษีคนโสดกันเถอะ

การยื่นภาษีภาษีคนโสด

ภาษีคนโสดสำหรับทุกคนที่มีงาน หากมีรายได้เท่าไรถึงต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่มีงานทำและเป็นผู้มีรายได้ ปลายปีก็ต้องยื่นภาษีเงินได้เช่นเดียวกัน ไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นมาดูการกำหนดว่าต้องมีรายได้เท่าไหร่ และต้องยื่นภาษีแบบไหน ดังนี้

– มนุษย์เงินเดือน ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท หรือรายได้ทั้งปีมากกว่า 120,000 บาท ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91

– มนุษย์เงินเดือนและมีรายได้อย่างอื่น ตัวอย่างเช่น ขายของออนไลน์ เปิดร้านอาหาร มีบ้านหรือคอนโดให้เช่า เป็นต้น เป็นผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาท หรือรายได้ทั้งปีมากกว่า 60,000 บาท ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90

– ผู้ที่มีงานอิสระและอื่น ๆ เช่น YouTuber ขายของออนไลน์ เปิดร้านกาแฟ มีบ้านหรือคอนโดให้เช่า เป็นต้น เป็นผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาท หรือมีรายได้ทั้งปีมากกว่า 60,000 บาท ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90

สิทธิการลดหย่อนภาษีคนโสด

1. สิทธิการลดหย่อนภาษีคนโสดสำหรับส่วนตัวและครอบครัว ได้แก่ ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท, ค่าอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ตัวเอง คนละ 30,000 บาท, ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาท

2. สิทธิประกันสุขภาพและประกันชีวิต ได้แก่ ประกันสังคมตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท, ประกันสุขภาพตัวเองตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท, ประกันชีวิตทั่วไปตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท, ประกันชีวิตแบบบำนาญตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท, ประกันสุขภาพพ่อแม่ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

3. สิทธิการลดหย่อนภาษีคนโสดจากการออมและลงทุน ได้แก่ เงิน กบข., เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท, กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สูงสุด 30% ของเงินได้  แต่ไม่เกิน 200,000 บาท, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

4. สิทธิสินเชื่อและการกู้เงิน ดอกเบี้ยและเงินกู้ยืม เพื่อการมีที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

5. สิทธิการลดหย่อนภาษีคนโสดจากเงินบริจาค ได้แก่ เพื่อการศึกษา, การกีฬา, การพัฒนาสังคม, โรงพยาบาลรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน, พรรคการเมืองตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท, เงินบริจาคทั่วไปตามที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

ส่วนการลดหย่อนภาษีคนโสดที่ไม่มีสิทธิ ได้แก่ ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรส, ฝากครรภ์และคลอดบุตรและการเลี้ยงบุตร

3 พฤศจิกายน 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
ภาษี

ไขข้อสงสัย ภาษีโครงการคนละครึ่งมีจริงไหม

by taxlaw 1 พฤศจิกายน 2022
written by taxlaw
ภาษีโครงการคนละครึ่ง

ไขข้อสงสัย ภาษีโครงการคนละครึ่งมีจริงไหม

ภาษีโครงการคนละครึ่งมีจริงไหม เป็นคำถามยอดฮิตของประชนชน มีจริง ไม่มีจริง บทความนี้  กฏหมายภาษี จะมีคำตอบ ไปอ่านกันได้เลย

คำถามยอดฮิต ภาษีโครงการคนละครึ่งมีจริงไหม ?

เมื่อโควิดมา รัฐบาลจึงได้จัดโครงการคนละครึ่ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน และส่งผ่านกำลังซื้อไปสู่ผู้ประกอบการให้มีรายได้เพิ่ม ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นข้อกังวลว่าเหล่าพ่อค้าแม่ค้านั้นต้องจ่ายภาษีโครงการคนละครึ่งนั่นเอง หากผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น และอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ต้องดำเนินการไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐหรือไม่ก็ตาม เพราะฉะนั้นการจ่ายภาษีของผู้ประกอบการจึงไม่เกี่ยวกับโครงการคนละครึ่ง เนื่องจากฐานข้อมูลผู้ที่เข้าโครงการคนละครึ่ง ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับระบบของกรมสรรพากรเพื่อตรวจสอบรายได้ ดังนั้นการเสียภาษีอยู่ที่เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของแต่ละบุคคลนั่นเอง จึงเป็นคำตอบว่าการเรียกเก็บภาษีโครงการคนละครึ่งจากพ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง นั่นไม่มีอยู่จริง

กรมสรรพากรไม่ได้มุ่งเน้นจัดภาษีโครงการคนละครึ่งจริงหรือไม่

– สำหรับผู้ประกอบการ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ได้เงินจากการค้าขาย เมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี โดนนำเอกสารหลักฐานต้นทุนในการประกอบกิจการมาหักค่าใช้จ่ายจากยอดขาย เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ หรือผู้ประกอบการไม่ได้เก็บเอกสารต้นทุน ก็สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 60 โดยจะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิหลักหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือในอัตราเหมาจ่าย รวมถึงค่าลดหย่อนแล้ว

– เมื่อมีเงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษีจะได้รับการยกเว้น แต่มีเงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 150,001 บาทเป็นต้นไป จะต้องนำรายได้ยื่นภาษี และจะต้องยื่น 2 ครั้ง ตามระยะเวลาที่กำหนด

– กรณีเป็นร้านที่ขายดีมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT โดยจัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ. 30 นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จึงเป็นบทสรุปได้ว่าเมื่อร้านค้าเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งหรือรับเงินผ่านแอพฯ ถุงเงินต้องเสียภาษีโครงการคนละครึ่งหรือไม่ คำตอบคือ ต้องเสียภาษีสำหรับร้านค้าที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีเท่านั้น คือ ร้านค้าที่มีรายได้ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องยื่นภาษี ส่วนจะต้องเสียภาษีหรือจ่ายภาษีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิหรือรายได้สุทธิที่แต่ละร้านได้รับ โดยเป็นไปตามเกณฑ์คือ ต้องดูที่เงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษี (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ) 

1 พฤศจิกายน 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
Newer Posts
Older Posts

เรื่องล่าสุด

  • ขายฝาก vs จำนอง มีความต่างกันอย่างไร 
  • กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่ควรรู้
  • เรื่องที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน 
  • การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310
  • ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร

ติดตามเรา

Facebook Twitter Instagram Youtube

หมวดหมู่

  • กฎหมาย (63)
  • บทความแนะนำ (17)
  • ภาษี (128)
  • ไม่มีหมวดหมู่ (5)
  • Facebook
  • Twitter
  • Instagram
  • Youtube

@2021 - All Right Reserved. Designed and Developed by กฏหมายภาษี.com