กฏหมายภาษี.com
  • หน้าแรก
  • กฎหมาย
  • ข่าวสาร
  • บทความแนะนำ
  • ภาษี
@2021 - All Right Reserved. Designed and Developed by กฏหมายภาษี.com
Category:

กฎหมาย

กฎหมาย

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่ควรรู้

by taxlaw 5 มีนาคม 2023
written by taxlaw
กฎหมายอสังหาริมทรัพย์

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่ควรรู้

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่ควรรู้ สำหรับใครที่เป็นนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะมีความรู้เรื่องการลงทุน รู้จักวิเคราะห์ และการคาดการผลกำไรในอนาคตให้ได้แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนต้องมีความรู้ประกอบควบคู่กันไปด้วย คือ เรื่องของกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นอย่ารอช้า มาดูรายละเอียดกันชัด ๆ พร้อม ๆ กันกับกฏหมายภาษีกันเลยค่ะ

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมการซื้อขาย

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกทางด้านกฎหมายที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้ เมื่อเกิดการซื้อขาย เปลี่ยนมืออสังหาริมทรัพย์ จะมีทั้งเรื่องการทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด การจดทะเบียน เอกสารสิทธิ์ การโอน และในเรื่องของนิติกรรมมีสิ่งที่นักลงทุนควรรู้กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้

การทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด เพราะการลงทุนอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีการเปลี่ยนมือการครอบครองบ่อยครั้ง และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านและคอนโด มีส่วนประกอบสำคัญที่เป็นเครื่องยืนยันการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ ได้แก่

  • สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือสัญญาซื้อขายที่จะใช้ในการจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ สัญญาที่กฎหมายบังคับให้ต้องมี และนำไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน โดยผู้ที่กำลังทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นโครงการคอนโดใกล้รถไฟฟ้าเพื่อลงทุนหรือทาวน์โฮม บ้านเดี๋ยวโครงการใหม่
  • สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำ เป็นการแสดงเจตนาว่าจะมีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นจริงในอนาคต เช่น นางบีซื้อโครงการทาวน์โฮม 3 ชั้นครึ่ง โดยผู้ขายได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำก่อนและภายหลังจึงจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

นักลงทุนต้องรู้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ด้วย เมื่อเกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ต้องบอกเลยว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีผลต่อการตั้งราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้ได้กำไร ส่วนต่างการจ่ายค่อนข้างเยอะ โดยส่วนใหญ่จะใช้ราคาประเมินจากกรมธนารักษ์เป็นตัวกำหนดราคาในการเสียค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน คอนโด และภาษี จะประกอบด้วย 4 รายการ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าอากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยเช่า

เป็นเรื่องที่ต้องรู้เพราะเกี่ยวข้องกับนักลงทุนโดยตรง ในปัจจุบันทางภาครัฐก็ค่อนข้างจะเข้มงวดกับการปล่อยดังนั้นกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ข้อนี้จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนพลาดไม่ได้ โดยทั้งนี้จะขอกล่าวส่วนหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักลงทุนที่อยากปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ กฎหมายใหม่ว่าด้วยการปล่อยเช่าและเก็บค่าเช่าอาคารที่อยู่อาศัย และกฎหมายควบคุมการปล่อยเช่าคนต่างชาติ

สนับสนุนโดย : ล็อตโต้สด888 เว็บแทงหวยและคาสิโนออนไลน์ที่ดีที่สุดของปี 2023

5 มีนาคม 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

เรื่องที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน 

by taxlaw 3 มีนาคม 2023
written by taxlaw
สัญญาขายฝากที่ดิน

เรื่องที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน 

เรื่องที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน ท่านใดที่กำลังจะขายฝากแต่ไม่มีความรู้เรื่องข้อกำหนด เงื่อนไข และเรื่องสัญญาขายฝาก วันนี้กฏหมายภาษีเราจะมานำเสนอข้อที่ควรรู้ จะมีข้อสรุปถึงความสำคัญของข้อกำหนดต่าง ๆ จะเป็นอย่างไรนั้น ตามมาดูกันเลย

ข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน

กฎหมายขายฝากฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ที่ได้มีการประกาศบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายน ปี 2562 เพื่อคุ้มครองผู้ขายฝากที่เป็นบุคคลธรรมดาให้ได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญาขายฝาก มีสาระสำคัญดังนี้

  1. ขายฝาก คือ สัญญาขายฝากที่ดินซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อฝาก โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝาก หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
  2. กำหนดเวลาไถ่ ห้ามต่ำกว่า 1 ปี หรือ เกิน 10 ปี เพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาสั้นจนทำให้ผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ทันกำหนดเวลาไถ่ และเพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกิน 10 ปี
  3. สินไถ่เมื่อรวมดอกเบี้ย ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี โดยจำนวนสินไถ่จะกำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากก็ได้ แต่เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยแล้ว ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี
  4. สิทธิการใช้ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อไป ผู้ขายฝากมีสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งอยู่อาศัย หรือประกอบเกษตรกรรมในระหว่างขายฝาก ไปจนถึงวันที่หมดสิทธิในการไถ่ ตามที่ตกลงกันในสัญญาขายฝาก

สาระสำคัญของสัญญาขายฝากที่ดิน

สิ่งสำคัญในกระบวนการขายฝากที่ดิน คือ เรื่องของการทำสัญญาขายฝาก โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน และพนักงานเจ้าหน้าที่จะระบุไว้ในสารบัญสำหรับจดทะเบียนว่า เป็นการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย และสัญญาขายฝากที่ดินอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ 5 ข้อ ได้แก่

  1. จะต้องระบุชื่อและที่อยู่คู่สัญญา
  2. มีการแจกแจงรายการและลักษณะแห่งทรัพย์สินที่ขายฝาก 
  3. จำเป็นต้องมีการแจกแจงราคาที่ขายฝาก 
  4. จำเป็นต้องมีจำนวนสินไถ่ 
  5. ต้องระบุวันที่ขายฝากและวันที่ครบกำหนดไถ่

การไถ่ถอนที่ดินควรทำอย่างไร

  1. ผู้ซื้อฝากต้องแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝาก เพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่ จำนวนสินไถ่ พร้อมแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย โดยแจ้งก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ดำเนินการตามที่กำหนดไว้นี้ ผู้ขายฝากจะมีสิทธิไถ่ได้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามสัญญา 
  2. เอกสารที่ใช้ในวันไถ่ถอนที่ดิน ผู้ขายฝาก และผู้ซื้อฝากจำเป็นต้องนำเอกสารขายฝากที่ดิน เป็นหลักฐานไปยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วน
  3. ค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท ค่าอากรแสตมป์ 0.5% คำนวณจากราคาไถ่ถอน หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

สนับสนุนโดย : ล็อตโต้สด888 เว็บแทงหวยและคาสิโนออนไลน์ที่ดีที่สุดของปี 2023

3 มีนาคม 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

ข้อควรรู้ของกฎหมายการถมที่ดิน

by taxlaw 23 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
กฎหมายการถมที่ดิน

ข้อควรรู้ของกฎหมายการถมที่ดิน

ข้อควรรู้ของกฎหมายการถมที่ดิน สำหรับบทความนี้กฏหมายภาษีเราจะนำเสนอกฎหมายการถมที่ดิน ชวนมาศึกษาเรื่องการถมดินกันว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

กฎหมายการถมที่ดินเป็นอย่างไร

สำหรับกฎหมายการถมที่ดิน คือ พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการถมดิน คือ การถมดินพื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ที่ดินข้างเคียงหรือบุคคลอื่น

และกฎหมายการถมที่ดินกรณีที่ถมดินเกินกว่า 2,000 ตารางเมตร จะต้องจัดให้มีการระบายน้ำแล้ว ยังต้องแจ้งการถมดินแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อได้รับการแจ้งแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งภายใน 7 วัน แล้วผู้แจ้งจึงสามารถเริ่มถมดินได้เมื่อได้รับใบรับแจ้ง และให้อำนาจหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการถมดิน

รายละเอียดของกฎหมายการถมที่ดิน

  1. การถมดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของ ที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินเกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  2. ห้ามทำการถามที่ดินในเวลากลางคืน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  3. หากพื้นที่สูงตั้งแต่ 2 เมตร จากพื้นที่ต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ต้องมีแบบแปลน รายการคำนวณ และวิศวกรระดับโยธาเซ็น
  4. เมื่อพื้นที่สูงตั้งแต่ 5 เมตร ต้องมีวิศวกร ระดับวุฒิวิศวกรเซ็นเท่านั้น
  5. เมื่อพื้นที่ใหญ่ติดกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร และสูงเกิน 2 เมตร ต้องมีผู้คุมงานเพิ่ม
  6. เรื่องฐานของเนินดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่นหรือที่สาธารณะ เป็นระยะไม่น้อยกว่าความสูงของเนินดินที่จะถมดิน
  7. ต้องติดตั้งป้ายสีสะท้อนแสงเตือนถึงความอันตราย
  8. เมื่อถมแล้วเสร็จต้องตรวจเสถียรภาพของเนินดินให้มีความมั่นคงปลอดภัย

กฎหมายการถมที่ดินอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย

สำหรับการถมดินจะมีข้อบังคับตามประมวลกฎหมายพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 ให้คำจำกัดความสำหรับคำว่า ขุด และ ถม ไว้ดังนี้

  • การขุดดิน เป็นการกระทำแก่พื้นดิน เพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน
  1. การขุดดินลึกเกิน 3 เมตร หรือพื้นที่ปากบ่อเกินกว่า 10,000 ตารางเมตร
  2. ปากบ่อดินมีระยะห่างถึงเขตที่ดินข้างเคียง ไม่เกิน 2 เท่าของความลึกเพราะการกระทำดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการพังทลายของดิน
  3. ต้องขออนุญาต จัดการป้องกันการพังทลายของดิน โดยต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรเสียก่อน
  • การถมดิน เป็นการกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงขึ้นกว่าเดิม
  1. มีการทำการถมดินสูงเกินกว่าที่ดินข้างเคียง โดยวัดจากด้านที่มีพื้นที่ต่ำสุดเป็นมาตรฐาน
  2. พื้นที่ที่มีมากกว่า 2,000 ตารางเมตร
  3. ดำเนินการตามที่เจ้าพนักงานกำหนด โดยต้องทำรางน้ำเพื่อนการระบายน้ำไม่ให้เดือดร้อนพื้นที่ใกล้เคียง
23 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

กฎหมายควรรู้ การครอบครองปรปักษ์คืออะไร

by taxlaw 13 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
การครอบครองปรปักษ์

กฎหมายควรรู้ การครอบครองปรปักษ์คืออะไร

กฎหมายควรรู้ การครอบครองปรปักษ์คืออะไร ถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นบทความนี้ กฏหมายภาษี จะพาผู้อ่านมาศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์กัน

การครอบครองปรปักษ์คืออะไร และมีหลักเกณฑ์อย่างไร

เป็นหลักกฎหมายที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน เดิมด้วยเจตนาที่จะทำให้การซื้อขายที่ไม่ถูกต้องตามแบบ เมื่อผู้ซื้อมีการครอบครองทรัพย์ และปฏิบัติครบหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว ก็จะได้กรรมสิทธิ์ไป โดยจะมีความบกพร่องเรื่องแบบพิธีในการซื้อขาย ในยุคต่อ ๆ มา การครอบครองปรปักษ์กลายเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมให้คนใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ปล่อยให้รกร้างไม่ดูแล ไม่เช่นนั้นผู้เข้าใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ก็จะได้กรรมสิทธิ์ไป

สรุปการแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ สำหรับการครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ได้แก่ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของผู้อื่น, โดยสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ, ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (5 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์)

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์

  1. สำหรับการครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น โฉนด โฉนดตราจอง 
  2. การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น ทรัพย์ของตนเองไม่สามารถอ้างได้
  3. การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น ผู้ครอบครองไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น อาจเข้าใจว่าเป็นของตนเองก็ได้
  4. การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ ต้องใช้สอยทรัพย์นั้นอย่างเดียวกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ ขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นเข้ายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์นั้น และต้องไม่เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิหรือยอมรับสิทธิของบุคคลอื่น เช่น 
  • การที่ผู้ซื้อครอบครองที่ดินตามสัญญาซื้อขาย เป็นการครอบครองแทนผู้ขายจนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
  • การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองที่ดินมรดกทั้งหมด เป็นการครอบครองแทนทายาททุกคน ต้องมีการบอกกล่าวต่อทายาทอื่น ๆ ก่อนว่าเจตนายึดถือเพื่อตนจึงจะเริ่มนับว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ได้
  • การครอบครองที่ดินโดยเจ้าของที่ดินอนุญาตให้อยู่อาศัยไม่ได้กรรมสิทธิ์
  • เจ้าของรวมคนหนึ่งครอบครองที่ดินถือว่าครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่น ๆ
  1. ถ้ามีการโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างที่ครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ 10 ปี และผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน มีผลทำให้การครอบครองปรปักษ์ก่อนหน้านี้สิ้นผลไป ต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่
  2. ต้องเป็นการครอบครองโดยสงบ ไม่ว่าจะเป็น ไม่ได้ถูกฟ้องคดี และต้องเปิดเผย คือ ไม่ได้หลบ ๆ ซ่อน ๆ แต่แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปโดยเปิดเผย

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น และเป็นกฎหมายที่มีมานาน และมีข้อพิพาทเรื่องนี้มาก คำพิพากษาศาลฎีกาก็มีอยู่มากมาย มีแง่มุมให้ศึกษาอย่างหลากหลาย แต่ปัจจุบัน ด้วยสภาพเศรษฐกิจสังคมที่พัฒนาไปมาก ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่านั้นแทบไม่มีแล้ว

13 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

กฎหมายน่ารู้ การรอนสิทธิคืออะไร 

by taxlaw 11 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
การรอนสิทธิ

กฎหมายน่ารู้ การรอนสิทธิคืออะไร 

กฎหมายน่ารู้ การรอนสิทธิคืออะไร เป็นเรื่องที่มีผลทางกฎหมาย เมื่อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ถูกรอนสิทธิ จะส่งผลให้ผู้เข้าถือกรรมสิทธิ์ต่อไป ต้องเสียสิทธิบางอย่าง และไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ หรืออาจถึงขั้นไม่สามารถใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้เลย ดังนั้นกฏหมายภาษีเราจะพามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรอนสิทธิให้มากขึ้น

การรอนสิทธิคืออะไร

คือสภาวะที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ถูกลดสิทธิ หรือสิทธิเหนือที่ดินที่ตนครอบครอง การรอนสิทธิที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะมาจากข้อกำหนดจากภาครัฐ หรือเกิดขึ้นเพราะเจ้าของไปจดทะเบียนรอนสิทธิตัวเองลงที่สำนักงานที่ดินเพื่อมอบให้แก่ผู้อื่น

7 ลักษณะการรอนสิทธิ มีอะไรบ้าง

  1. ข้อกำหนดห้ามโอน เกิดได้จากการออก น.ส.3 โดยที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ หรือมี ส.ค.1 อยู่ก่อน ทางการอาจกำหนดห้ามโอนในระยะเวลา 10 ปี หรือที่เรียกว่า โฉนดหลังแดง ในกรณีนี้หากระยะเวลาที่ห้ามเหลืออีกนาน
  2. สัญญาเช่า เมื่อกฎหมายในบ้านเรากำหนดให้สัญญาเช่า มีระยะเวลาเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินด้วย จึงต้องตรวจสอบดูว่าสัญญาเช่ายังเหลืออีกกี่ปี และอัตราค่าเช่าเป็นอย่างไร
  3. สิทธิเก็บกิน เป็นสิทธิผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครองใช้หรือถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินนั้น ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายไว้ไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิก็ได้ เมื่อจดทะเบียนมอบสิทธิแบบนี้ให้กับใครแล้ว เวลาทำสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องทำกับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน แทนที่จะทำกับเจ้าของซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
  4. สิทธิอาศัย เป็นสิทธิที่ผู้อาศัยมีสิทธิอยู่ในโรงเรือน โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าอาจมีระยะเวลาไม่เกินกว่า 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ
  5. สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น และอาจมีกำหนดเวลาไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้ และเมื่อครบกำหนด ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไปด้วย
  6. ภาระติดพัน ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากทรัพย์สินนั้น หรือได้ใช้ หรือถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามระบุไว้ ถ้าไม่ระบุระยะเวลาไว้สันนิษฐานไว้ว่ามีอยู่ตลอดชีวิตของผู้ได้รับประโยชน์ หรือถ้ากำหนดเวลาไม่เกิน 30 ปี
  7. ภาระจำยอม ที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่าง กระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน

ข้อควรระวังของการรอนสิทธิ 

ในเรื่องของภาระจำยอม คือ การรอนสิทธิแบบเปิดกว้างแบบครอบจักรวาล ยิ่งไม่ได้ระบุระยะเวลาไว้ด้วย จะเท่ากับว่าภาระจำยอมจะอยู่ติดกับที่ดินตลอดไปตลอดกาล ดังนั้นการเลือกซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ทุกครั้ง ต้องไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อตรวจเช็คเรื่องการรอนสิทธิในที่ดินแปลงนั้นว่ามีอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องมาดูต่อว่าเป็นลักษณะไหน ยาวนานเท่าไหร่

การรอนสิทธิมี 2 กรณี อะไรบ้าง

  1. บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขายอยู่ก่อน หรือในขณะทำสัญญาซื้อขาย
  2. ความผิดของผู้ขาย ผู้ขายก็ต้องรับผิดต่อการรอนสิทธิที่เกิดขึ้น

ลักษณะของการรอนสิทธิที่ทำให้ผู้ขายต้องรับผิดเป็นอย่างไร

  • สิทธิของบุคคลอื่นที่มาแย้งหรือรบกวนที่มีอยู่เหนือทรัพย์จะต้องเป็นสิทธิตามกฎหมาย และจะต้องเป็นสิทธิที่เหนือกว่าสิทธิผู้ขาย
  • สิทธิของบุคคลอื่นที่มาโต้แย้งหรือรบกวน จะต้องมีอยู่แล้วในเวลาซื้อขาย ไม่ใช่เกิดหลังทำสัญญาซื้อขาย ถ้าเป็นสิทธิที่เกิดหลังผู้ขายไม่ต้องรับผิด
  • สิทธิของบุคคลอื่นที่มาโต้งแย้งหรือรบกวน จะเกิดภายหลังทำสัญญาซื้อขายผู้ขายก็อาจต้องรับผิด ถ้าการรอนสิทธินั้นเกิดเพราะความผิดของผู้ขาย
11 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

เปิดกฎหมายน่ารู้เพื่อรับมือกับข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง

by taxlaw 7 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง

เปิดกฎหมายน่ารู้เพื่อรับมือกับข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง

เปิดกฎหมายน่ารู้เพื่อรับมือกับข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะได้เจอปัญหารบกวน ดังนั้นวันนี้กฏหมายภาษี จะพามาดูว่ามีกฎหมายน่ารู้ที่ใช้ในการรับมือมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

  1. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421

เมื่อเจ้าของบ้านผู้ได้รับความเสียหายสามารถใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และ 421 ดำเนินการเพื่อรับสินไหมทดแทนได้ ดังนั้นหากข้างบ้านจงใจรบกวนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ สร้างความเสียหายต่อสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างสงบในบ้านเรือนของคุณเอง หากตักเตือนแล้วแต่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังเช่นนั้นดังเดิมถือเป็นการละเมิดสิทธิ คนข้างจะต้องเยียวยาด้วยสินไหมทดแทนหรือเยียวยาความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างเหมาะสม

  1. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์มาตรา 1337

เมื่อมองความเสียหายของกรณีข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังโดยคำนึงถึงสภาพ และตำแหน่งที่อยู่ของทรัพย์สินเจ้าบ้านหรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะยุติความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญที่เกิดขึ้นได้อีกทั้งยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากข้างบ้านได้ด้วย

  1. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 มีโทษปรับ 1,000 บาท

เมื่อข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้และเจ้าของบ้านผู้ได้รับความเสียหายต้องการดำเนินการทางกฎหมาย เจ้าบ้านผู้เสียหายสามารถเอาผิดทางอาญาได้โดยในกรณีที่เสียงดัง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เป็นความผิดลหุโทษ เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ซึ่งมีโทษปรับเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท โดยกฎหมายตามมาตรานี้ครอบคลุมทั้งกรณี การเล่นดนตรีหรือมีการสังสรรค์เสียงดังเกินกว่าค่ามาตรฐาน คือ 70 เดซิเบล

  1. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังกับบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 25

เมื่อข้างบ้านเสียงดังก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่พักอาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ถือเป็นเหตุรำคาญที่มีผลต่อสุขภาพ จึงถือว่าเข้าข่ายความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญาและบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 25

  1. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังกับบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 26

ดังนั้นเมื่อเกิดกรณีนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่มีอำนาจห้ามไม่ให้ผู้ใดก่อเหตุรำคาญในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชนสามารถเข้ามาระงับกรณีข้างบ้านได้

  1. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังกับบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 27

ดังนั้นเมื่อเสียงดังจนก่อให้เกิดความรำคาญเจ้าบ้านสามารถเข้าแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ระงับตักเตือนได้ และหากยังฝ่าฝืนต่อไม่หยุดก็สามารถดำเนินการทางกฎหมายได้

ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินการจัดการกับข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง

  1. เจ้าบ้านผู้เสียหายไม่ควรเข้าไปเจรจากับคู่กรณีข้างบ้านด้วยตนเองเพียงลำพัง ดังนั้นเมื่ออาศัยอยู่ในคอนโดหรือหมู่บ้านจัดสรรควรติดต่อให้นิติบุคคลหรือติดต่อผ่านผู้ใหญ่บ้านให้มาเจรจาให้
  2. เมื่อต้องการดำเนินการทางกฎหมาย เจ้าของบ้านผู้ได้รับความเสียหายต้องไปร้องเรียนกับกรมมลพิษทางเสียงที่สำนักงานเขตหรืออำเภอจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาจัดการปัญหาให้
  3. เมื่อข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังอาจ อาจติดต่อไปยังเบอร์ร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เสียง เช่น ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กรมควบคุมมลพิษ 1650, ตำรวจ 191, ศูนย์รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร 1555, ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111
7 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

ทางเข้าบ้านจัดสรรกับกฎหมายที่ควรรู้

by taxlaw 3 กุมภาพันธ์ 2023
written by taxlaw
ทางเข้าบ้านจัดสรร

ทางเข้าบ้านจัดสรรกับกฎหมายที่ควรรู้

ทางเข้าบ้านจัดสรรกับกฎหมายที่ควรรู้ ในทางกฎหมายมีข้อกำหนดไว้ว่าถนนทางเข้าบ้านจัดสรรแต่ละโครงการควรมีขนาดความกว้างและความยาวเท่าไหร่ ดังนั้นกฏหมายภาษี เราจะพามารู้จักว่ากฎหมายทางเข้าบ้านจัดสรรนั้นควรจะเป็นอย่างไร จะพามาดูกันเลย

ถนนทางเข้าบ้านจัดสรรตามกฎหมายแล้วต้องกว้างเท่าไหร่

มีข้อกำหนดการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ได้ระบุไว้ว่า ระบบและมาตรฐานของถนนและทางเท้า ด้านหน้าของที่ดินแต่ละแปลง ต้องมีความกว้างของหน้าที่ดินที่ติดถนนสำหรับใช้เป็นทางเข้าบ้านจัดสรรไม่ต่ำกว่า 4 เมตร โดยมีขนาดความกว้างของถนน ดังนี้

  1. ถนนทางเข้าบ้านจัดสรร ที่ดินแปลงย่อยไม่เกิน 100 แปลง หรือไม่เกิน 20 ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า 8 เมตร ความกว้างของผิวจราจร 6 เมตร และจัดทำทางเท้ายกระดับ
  2. ถนนทางเข้าบ้านจัดสรร ที่ดินแปลงย่อยไม่เกิน 300 แปลง หรือไม่เกิน 50 ไร่ ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า 12 เมตร ความกว้างของผิวจราจร 9 เมตร และทางเท้าข้างละ 1.50 เมตร
  3. ถนนทางเข้าบ้านจัดสรร ที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 300 แปลงขึ้นไป หรือมากกว่า 50 ไร่ขึ้นไป ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า 16 เมตร มีความกว้างของผิวจราจร 12 เมตร และทางเท้าข้างละ 2 เมตร
  4. ถนนทางเข้าบ้านจัดสรร ที่ดินแปลงย่อยประเภทที่ประกอบการอุตสาหกรรมทุกขนาด ต้องมีความกว้างของเขตทางไม่ต่ำกว่า 16 เมตร มีความกว้างของผิวจราจร 12 เมตร และทางเท้าข้างละ 2 เมตร และมีรัศมีการเลี้ยวโค้งที่ทางเลี้ยวหรือทางแยกไม่ต่ำกว่า 12 เมตร
  1. ถนนทางเข้าบ้านจัดสรรที่บรรจบกับทางหลวงแผ่นดิน หรือทางสาธารณประโยชน์ ต้องมีความกว้างของผิวจราจรและทางเท้าไม่น้อยกว่าเกณฑ์กำหนด
  2. ในกรณีที่ที่ดินแปลงย่อยมีหน้าแปลงที่ดินติดต่อกับเขตห้ามปลูกสร้างอาคารริมทางหลวงแผ่นดิน หรือทางหลวงแผ่นดิน ให้ปรับปรุงเขตทางนั้นเป็นผิวจราจร โดยให้เชื่อมเป็นส่วนเดียวกับผิวจราจรของทางหลวง
  3. ถนนทางเข้าบ้านจัดสรรแต่ละสายให้มีความยาวจากทางแยกหนึ่งถึงอีกทางแยกหนึ่ง ไม่เกิน 300 เมตร และไม่ควรให้เป็นแนวตรงยาวเกินกว่า 600 เมตร ต้องจัดให้มีที่กลับรถทุกระยะ 100 เมตร
  4. จัดให้มีที่จอดรถระหว่างผิวจราจรกับทางเท้ากว้าง 2.50 เมตร ในบริเวณตลอดความยาวด้านหน้าที่ดินแปลงย่อยประเภทอาคารพาณิชย์, ตลอดความยาวทุกด้านที่ติดถนนของที่ดินแปลงใหญ่, ตลอดความยาว 2 ฝั่งถนน เป็นระยะทางข้างละ 50 เมตร นับจากปากทางเข้าออกของโครงการที่บรรจบ กับทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงท้องถิ่นที่มีความกว้างของเขตทาง ตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป
  1. ถนนสายประธานหรือสายหลัก ที่ต้องรับปริมาณการจราจรมาก ต้องมีความลาดชัน และทางเลี้ยวของผิวการจราจรที่สะดวกต่อการขับขี่อย่างปลอดภัย ความลาดชันของผิวจราจรทุกจุดต้องไม่เกิน 7 ส่วนต่อทางราบ 100 ส่วน ทางเลี้ยวหรือทางบรรจบต้องไม่เป็นมุมแหลมเล็กกว่า 60 องศา กรณีทางเลี้ยวที่ห่างกันน้อยกว่า 37 เมตร ต้องเป็นมุมป้านไม่ต่ำกว่า 120 องศา
  2. ปากทางของถนนที่มีเขตทางต่ำกว่า 12 เมตร จะต้องปาดมุมถนนให้กว้างขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าด้านละ 1 เมตร
  3. ถนนที่ตัดผ่านลำรางสาธารณะประโยชน์ ซึ่งกว้างกว่า 3 เมตรขึ้นไป จะต้องทำเป็นสะพาน ถ้าลำรางสาธารณะประโยชน์กว้างต่ำกว่า 3 เมตรจัดให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  4. ที่กลับรถ ต้องจัดให้เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนี้
  • เมื่อเป็นวงเวียน ต้องมีรัศมีความโค้งวัดถึงกึ่งกลางถนนไม่ต่ำกว่า 6 เมตร และผิวจราจรต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
  • เมื่อเป็นรูปแบบตัว T ต้องมีความยาวสุทธิของไหล่ตัวที ด้านละไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ทั้ง 2 ด้าน และผิวจราจรต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
  • เมื่อเป็นรูปแบบตัว L ต้องมีความยาวสุทธิของขาแต่ละด้านไม่ตำ่กว่า 5 เมตร และผิวจราจรต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
  • เมื่อเป็นรูปแบบตัว Y ต้องมีความยาวสุทธิของแขนตัววาย ด้านละไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ผิวจราจรต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร มุมตัววายต้องไม่ตำ่กว่า 120 องศา

ถนนที่ใช้เป็นถนนเดินรถทางเดียวในบริเวณการจัดสรรที่ดิน หรือใช้สำหรับเป็นทางเข้าบ้านจัดสรร ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน

สนับสนุนโดย huaysod เว็บแทงหวยออนไลน์อัตราการจ่ายหวยสูงที่สุด 2566

3 กุมภาพันธ์ 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

ข้อควรรู้ กฎหมายถนนในหมู่บ้าน

by taxlaw 31 มกราคม 2023
written by taxlaw
กฎหมายถนนในหมู่บ้าน

ข้อควรรู้ กฎหมายถนนในหมู่บ้าน

ข้อควรรู้ กฎหมายถนนในหมู่บ้าน เพราะการออกแบบโครงการหมู่บ้านจัดสรร ถนนที่ใช้สัญจรภายในหมู่บ้านก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นต้องมีกฎหมายถนนในหมู่บ้านรองรับและกำหนดว่าควรมีขนาดเท่าไหร่ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย วันนี้กฏหมายภาษีจะพามาดู

กฎหมายถนนในหมู่บ้านมีอะไรบ้าง

รู้ไหมว่าสำหรับกฎหมายถนนในหมู่บ้านแต่ละโครงการจะมีขนาดไม่เท่ากัน ทั้งหมดนั้นต้องขึ้นอยู่ขนาดโครงการว่ามีจำนวนบ้านกี่หลัง มีรายละเอียดดังนี้

  1. โครงการขนาดไม่เกิน 99 แปลง หรือไม่เกิน 19 ไร่ กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าต้องมีขนาดถนนไม่ต่ำกว่า 9 เมตร ต้องมีความกว้างบริเวณถนนที่รถยนต์วิ่งได้อย่างน้อย 6 เมตร
  2. โครงการขนาด 100-299 แปลง หรือขนาด 19-50 ไร่ กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าต้องมีขนาดถนนไม่ต่ำกว่า 12 เมตร มีความกว้างของผิวจราจรขั้นต่ำ 8 เมตร
  3. โครงการขนาด 300-499 แปลง หรือ 50-100 ไร่ กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าต้องมีขนาดถนนไม่ต่ำกว่า 16 เมตร และผิวจราจรต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 12 เมตร
  4. โครงการขนาดมากกว่า 500 แปลง หรือมากกว่า 100 ไร่ กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าต้องมีขนาดถนนไม่ต่ำกว่า 18 เมตร ต้องมีผิวจราจรให้รถวิ่งกว้างอย่างน้อย 13 เมตร มีเกาะกลางถนนคั่นต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร และทางเท้า 2 ข้างทาง กว้างข้างละ 2 เมตร
  1. ขนาดของถนนทางแยกในหมู่บ้าน กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าถนนแต่ละสายต้องมีความยาวจากทางแยกหนึ่งถึงอีกทางแยกหนึ่งไม่เกิน 300 เมตร แต่ไม่ควรให้เป็นแนวตรงยาวเกินกว่า 600 เมตร ถนนที่เป็นถนนปลายตัน ต้องจัดให้มีที่กลับรถทุกระยะ 100 เมตร และที่ปลายตันที่กลับรถต้องมีมาตรฐานแบบใดแบบหนึ่ง
  2. ถนนสายสายหลักในหมู่บ้าน กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าถนนสายหลักของหมู่บ้านที่ต้องรับปริมาณการจราจรมาก โดยความลาดชันของผิวจราจรทุกจุดต้องไม่เกิน 7 ส่วนต่อทางราบ 100 ส่วน โดยมีทางเลี้ยวหรือทางบรรจบต้องไม่เป็นมุมแหลมเล็กกว่า 60 องศา และในกรณีทางเลี้ยวที่ห่างกันน้อยกว่า 37 เมตร ต้องเป็นมุมป้านไม่ต่ำกว่า 120 องศา
  3. ปากทางของถนนที่มีเขตทางต่ำกว่า 12 เมตร กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าจะต้องปาดมุมถนนให้กว้างขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าด้านละ 1 เมตร ถ้าปากทางถนนดังกล่าวเป็นมุมเล็กกว่า 90 องศา จะต้องปาดมุมให้กว้างขึ้นอีกตามความเหมาะสม
  4. ถนนที่ตัดผ่านลำรางสาธารณะประโยชน์ กว้างกว่า 3 เมตรขึ้นไป กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าจะต้องทำเป็นสะพาน ถ้าลำรางสาธารณะ ประโยชน์กว้างต่ำกว่า 3 เมตร จะจัดทำเป็นสะพานหรือสะพานท่อ หรือใช้ท่อลอดโดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 100 เซนติเมตร และหลังท่อลึกจากผิวจราจรไม่ต่ำกว่า 80 เซนติเมตร
  1. ขนาดของทางกลับรถในหมู่บ้าน กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าขนาดของทางกลับรถในหมู่บ้านต้องมีขนาดดังนี้
  • เมื่อเป็นวงเวียน ต้องมีรัศมีความโค้งวัดถึงกึ่งกลางถนนไม่ต่ำกว่า 6 เมตร และผิวจราจรกว้าง ไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
  • เมื่อเป็นรูปตัว T ต้องมีความยาวสุทธิของไหล่ตัวที ด้านละไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ทั้ง 2 ด้าน และผิวจราจรกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
  • เมื่อเป็นรูปตัว L ต้องมีความยาวสุทธิของขาแต่ละด้านไม่ต่ำกว่า 5 เมตร และผิวจราจรกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร
  • เมื่อเป็นรูปตัว Y ต้องมีความยาวสุทธิของแขนตัววายด้านละไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ผิวจราจรกว้างไม่ต่ำกว่า 4 เมตร มุมตัววายต้องไม่เล็กกว่า 120 องศา

ถนนสำหรับการเดินรถทางเดียว กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุไว้ว่าถนนที่ใช้เป็นถนนเดินรถทางเดียวในบริเวณการจัดสรรที่ดิน และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินแล้วเท่านั้น

31 มกราคม 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

เรื่องควรรู้ของกฎหมายทางหนีไฟ 

by taxlaw 29 มกราคม 2023
written by taxlaw
กฎหมายทางหนีไฟ 

เรื่องควรรู้ของกฎหมายทางหนีไฟ 

เรื่องควรรู้ของกฎหมายทางหนีไฟ หรือบันไดหนีไฟ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเรื่องความปลอดภัยในการอยู่อาศัยในตึกสูง โดยเฉพาะคอนโดเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อคอนโดจะต้องให้ความใส่ใจก่อนเลือกซื้อคอนโด ดังนั้น กฏหมายภาษี ควรมีลักษณะอย่างไร ตามมาดูคำตอบกฎหมายทางหนีไฟจากบทความนี้กันได้เลย

กฎหมายทางหนีไฟกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

  1. สำหรับอาคารที่สูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป และสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูง 3 ชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่ 3 ที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร มีบันไดของอาคารตามปกติแล้ว ตามกฎหมายทางหนีไฟต้องมีบันไดหนีไฟที่ทำด้วยวัสดุทนไฟอย่างน้อย 1 แห่ง และต้องมีทางเดินและไม่มีสิ่งกีดขวาง
  2. สำหรับทางหนีไฟบันไดต้องมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา กรณียกเว้นตึกแถวและบ้านแถวที่มีความสูงไม่เกิน 4 ชั้น ให้มีบันไดหนีไฟที่มีความลาดชันเกิน 60 องศาได้ และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
  3. สำหรับทางหนีไฟภายนอกอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และต้องมีผนังส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านเป็นผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทนถาวร และเป็นวัสดุทนไฟ ดังนั้นตามกฎหมายทางหนีไฟถ้าทอดไม่ถึงพื้นชั้นล่างของอาคารต้องมีบันไดโลหะที่สามารถเลื่อนหรือยืดหรือหย่อนลงมาจนถึงพื้นชั้นล่างได้
  4. กฎหมายทางหนีไฟสำหรับบันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องอระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้
  5. สำหรับประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และต้องทำเป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น กับต้องติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง และต้องสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา
  6. กฎหมายทางหนีไฟสำหรับพื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันไดและอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

กฎหมายทางหนีไฟจากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 กำหนดเกี่ยวกับบันไดหนีไฟไว้ดังนี้

  1. สำหรับอาคารที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป มีบันไดตามปกติแล้วจะต้องมีทางหนีไฟ
  2. กฎหมายทางหนีไฟสำหรับทางหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและถาวร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร ชานพักกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได มีราวบันไดสูง 90 เซนติเมตร ห้ามสร้างบันไดหนีไฟเป็นแบบบันไดเวียน พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร และต้องมีความลาดชันไม่เกินกว่าร้อยละ 12
  3. สำหรับทางหนีไฟภายในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟและถาวรกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และแต่ละชั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่เปิดสู่ภายนอกได้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.40 ตารางเมตร โดยต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน
  1. กฎหมายทางหนีไฟสำหรับตึกแถวหรือบ้านแถวที่มีจำนวนชั้นไม่เกิน 4 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15 เมตรจากระดับถนน บันไดหนีไฟจะอยู่ในแนวดิ่งก็ได้แต่ต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น โดยมีความกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ระยะห่างของชั้นบันไดแต่ละชั้นไม่มากกว่า 40 เซนติเมตร
  2. สำหรับตำแหน่งที่ตั้งทางหนีไฟ ต้องมีระยะห่างระหว่างประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตันไม่เกิน 10 เมตร
  3. สำหรับกฎหมายทางหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และต้องเป็นบานเปิดชนิดผลักเข้าสู่บันไดเท่านั้น
  4. สำหรับต้องมีป้ายเรืองแสง หรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉินบอกทางออกสู่บันไดหนีไฟให้ชัดเจน
29 มกราคม 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
กฎหมาย

เปิดกฎหมายการสร้างรั้วบ้าน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

by taxlaw 27 มกราคม 2023
written by taxlaw
กฎหมายการสร้างรั้วบ้าน

เปิดกฎหมายการสร้างรั้วบ้าน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

เปิดกฎหมายการสร้างรั้วบ้าน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพราะรั้วบ้านเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งของบ้าน ดังนั้นลองมาดูกันว่าก่อนจะสร้างรั้วบ้านนั้นมีกฎหมายการสร้างรั้วบ้านอะไรที่คุณควรรู้บ้าง กฏหมายภาษี จะพาทุกท่านมาดูกัน

กฎหมายการสร้างรั้วบ้านต้องขออนุญาตหรือไม่

สำหรับกฎหมายการสร้างรั้วบ้านหลักที่ควบคุมการก่อสร้าง คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้เราต้องขออนุญาตก่อสร้างอาคาร และกำหนดลักษณะของอาคารต่าง ๆ ไว้และได้ให้คำนิยามของอาคารไว้ว่า อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้าสำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง

  1. สิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน
  2. สำหรับ สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายน้ำ ท่าจอดเรือ รั้ว กำแพง หรือประตูที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ และสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย
  3. ป้ายต่าง ๆ ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตรหรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม และที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้วระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง
  4. พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถสำหรับอาคารที่กำหนด
  5. สิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ดังนั้นจะเห็นว่าโดยปกติรั้วและกำแพงไม่ถือเป็นอาคาร แต่เฉพาะรั้วหรือกำแพงที่ติดต่อกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอยเท่านั้นที่เป็นอาคาร ต้องขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายการสร้างรั้วบ้านฉบับนี้ ในขณะที่รั้วกั้นระหว่างที่ดินของเอกชนด้วยกัน ไม่เป็นอาคาร ไม่ต้องขออนุญาต

สรุปได้ว่ารั้วหรือกำแพงบ้านจะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เป็นอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารมี 2 ประเภท คือ รั้วที่ติดกับที่สาธารณะ และรั้วที่สูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป

กฎหมายการสร้างรั้วบ้านตรงส่วนไหนของแนวเขต

มาดูตำแหน่งของการสร้างรั้วที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นรั้วที่ติดกับที่สาธารณะ ตัวรั้วทั้งหมดจะต้องอยู่ในที่ดินของเรา จะมีส่วนล้ำเข้าไปในที่สาธารณะไม่ได้ ถ้าเป็นรั้วที่ติดกับที่ดินเอกชน หากไม่ได้ตกลงกันไว้ก็จะต้องสร้างภายในเขตที่ดินของเราทั้งหมดเช่นกัน หากตกลงกันได้ก็สามารถสร้างรั้วตรงกึ่งกลางแนวเขตได้

กฎหมายการสร้างรั้วบ้านสิทธิในรั้วที่ติดต่อกับที่ดินเอกชน

รั้วถ้าเราสร้างทั้งหมดในเขตของเราเองถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเราทั้งหมด เพื่อนบ้านด้านติดกันจะมาทำอะไรกับรั้วไม่ได้ แต่ถ้าสร้างตรงกึ่งกลางแนวเขตโดยเพื่อนบ้านยินยอม ถ้าไม่ได้ตกลงอะไรเป็นพิเศษก็น่าจะถือว่าตกลงให้รั้วเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างเรากับเพื่อนบ้านโดยปริยาย ดังนั้นรั้วด้านที่ติดกับเพื่อนบ้านก็เป็นสิทธิของเพื่อนบ้านที่จะทาสี หรือทำอะไรก็ได้ตราบที่ไม่กระทบกับโครงสร้างของฝั่งเรา สำหรับการซ่อมแซมรั้วผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ก็ต้องซ่อมไป คือ ถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดียวก็ต้องซ่อมคนเดียว ถ้าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมก็ช่วยกันออกค่าซ่อม

สุดท้ายกฎหมายการสร้างรั้วบ้านเรื่องรูปทรงและลวดลาย ความหนาของรั้วหรือกำแพงไม่มีกฎหมายการสร้างรั้วบ้านบังคับไว้

27 มกราคม 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
Newer Posts
Older Posts

เรื่องล่าสุด

  • ขายฝาก vs จำนอง มีความต่างกันอย่างไร 
  • กฎหมายอสังหาริมทรัพย์ที่ควรรู้
  • เรื่องที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน 
  • การจัดเก็บภาษีสมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310
  • ภาษีวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างไร

ติดตามเรา

Facebook Twitter Instagram Youtube

หมวดหมู่

  • กฎหมาย (63)
  • บทความแนะนำ (17)
  • ภาษี (128)
  • ไม่มีหมวดหมู่ (5)
  • Facebook
  • Twitter
  • Instagram
  • Youtube

@2021 - All Right Reserved. Designed and Developed by กฏหมายภาษี.com