VAT 0 และ ไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร

by taxlaw
0 comment
ไม่ต้องเสีย VAT

VAT 0 และ ไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร

VAT 0 และ ไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร สำหรับบทความนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ  ภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ที่กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบจัดเก็บ แต่นอกจาก VAT 7% ที่เรารู้จักกันแล้วยังมี VAT 0 และ Non VAT (ไม่ต้องเสีย VAT) ด้วย เรากฏหมายภาษีจะมาบอกเรื่องราวของ VAT 0 และไม่ต้องเสีย VAT มาเรียนรู้กันว่าทั้งสองชนิดนี้นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร

VAT 0 คืออะไร

VAT 0 คือการไม่เก็บภาษีแต่ยังต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และแสดงรายการภาษีขาย และรายการภาษีซื้อ การจะได้คืนในส่วนของภาษีซื้อทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหรือบริการที่ส่งออก หรือนำไปใช้ยังต่างประเทศ เมื่อไม่ได้มีการใช้สินค้าหรือบริการในประเทศ เราจึงจะได้รับอัตราภาษีร้อยละ 0 ดังนั้นจึงมีผลเท่ากับไม่ต้องเสียภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้น ๆ 

และกรณีที่จะนำส่งภาษีมูลค่า VAT 0 จะต้องเกิดจากอะไรบ้าง มีดังนี้

  1. การมีรายได้ตามมาตรา 80/1 
  2. การขายสินค้าหรือให้บริการโดยการส่งออก 
  3. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเลที่กระทำ โดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล 
  4. การขายสินค้าหรือการให้บริการกับภาครัฐ ทั้งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
  5. การขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่สถานกงสุล
  6. การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือระหว่าง ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร

ตัวอย่างของการเสีย VAT 0 เป็นอย่างไร

เมื่อบริษัทมีการส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศ 200,000 บาท ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 แสดงรายการภาษีขาย และรายการภาษีซื้อทั้งหมด โดยมีการคิดในอัตรา 0% แต่ต้องมีการออกใบกำกับภาษี และต้องการนำมารวมคำนวณในแบบ ภ.พ.30 ข้อ 2

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ต้องเสีย VAT 

สำหรับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือการที่ไม่นำรายได้มาคำนวณภาษีซึ่งจะต้องมีการนำมารวมคำนวณใน แบบ ภ.พ. 30 ข้อ 3 โดยจะได้รับการยกเว้นในกิจการบางประเภทที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด มีกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน 
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมาย
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ตัวอย่างการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ต้องเสีย VAT เป็นอย่างไร

เมื่อผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าทางเกษตร มีรายได้ 1,000,000 บาท ผู้ประกอบการไม่ต้องมีการยื่นแบบแสดงรายการ

You may also like

Leave a Comment