โครงสร้างภาษีของประเทศไทยเป็นอย่างไร

by taxlaw
0 comment
โครงสร้างภาษี

โครงสร้างภาษีของประเทศไทยเป็นอย่างไร

โครงสร้างภาษีโดยปกติแล้วภาษีทุกชนิดนั้นจะมีองค์ประกอบพื้นฐานหกอย่าง ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ได้กับภาษีที่เป็นภาษีอากรทุกประเภท ถึงแม้รายละเอียดจะแตกต่างกัน แต่หากมองในเชิงโครงสร้างแล้วภาษีจะประกอบด้วยหกส่วน วันนี้ กฏหมายภาษี จะพามาดู

องค์ประกอบของโครงสร้างภาษี

1.ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

โดยปกติแล้วทางกฎหมายจะต้องกําหนดว่าผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนั้นเป็นใคร สาเหตุคือเพื่อนให้คน ๆ นั้นรู้ว่าตนเองทำหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย โดยภาษีแต่ละแบบนั้นกําหนดตัวผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีเงินได้จะทำหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ในขณะที่ผู้ประกอบการนั้นจะมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คน ๆ หนึ่งอาจเสียภาษีได้มากกว่าหนึ่งประเภท

2.ฐานภาษี

โครงสร้างภาษีอย่างที่สองคือฐานภาษี เมื่อเราทราบแล้วว่าผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนั้นเป็นใคร ต่อมา ฐานภาษีจะเป็นตัวกําหนดว่าสาเหตุอะไรทำให้คน ๆ นั้นต้องเสียภาษีตามกฎหมายกําหนด ยกตัวอย่างเช่น ฐานภาษีเงินได้คือรายได้ และฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคือสินค้าและบริการ

3.อัตราภาษี

อัตราภาษีเรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างภาษีอย่างที่สาม การที่เราจะเสียภาษีจำนวนมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอัตราภาษีที่จะนำมาใช้คํานวณร่วมกับฐานภาษีประเภทนั้น ๆ โดยอัตราภาษีสามารถมีได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น

3.1 อัตราภาษีก้าวหน้า เป็นอัตราภาษีแบบแรก ในบางครั้งเราจะเรียกอัตราภาษีแบบนี้ว่าอัตราภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษีนั้นจะสูงเมื่อฐานภาษีได้เพิ่มขึ้นตามแบบขั้นบันได เรียกได้อีกอย่างว่า ถ้าสมมติว่าฐานภาษีนั้นสูงขึ้นในระดับหนึ่ง ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีก็จะรับภาระในอัตราที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยอัตราก้าวหน้านี้จะมีส่วนทําให้คนที่มีฐานภาษีที่สูงต้องรับภาระหนักมากกว่าเดิม

3.2 อัตราภาษีถดถอย เป็นอัตราภาษีแบบที่สอง อัตราภาษีชนิดนี้จะตรงกันข้ามกับอัตราก้าวหน้า กล่าวคือ ยิ่งฐานภาษีนั้นสูง อัตราภาษีก็จะยิ่งต่ำลง

3.3 อัตราภาษีคงที่ หมายถึง จะมีอัตราเดียวสำหรับฐานภาษีซึ่งจะไม่แปรผันตามข้อมูลฐานภาษี

3.3 อัตราภาษีเหมาจ่าย หมายถึง การเก็บภาษีแบบเหมาเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนโดยไม่นำฐานภาษีมาคำนวณ

4.แนวทางการเสียภาษี

โครงสร้างภาษีต่อมาคือแนวทางในการเสียภาษีเองก็สำคัญไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก เพราะหากผู้เสียภาษีนี่นไม่ทําให้ถูกขั้นตอน พวกเขาอาจพบปัญหาตามมาได้ โดยวิธีการเสียภาษีนั้นทางกฎหมายจะกําหนดเอาไว้แล้วว่า ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องดําเนินการตามขั้นตอนใดจึงจะเรียกได้ว่าพวกเขาได้เสียภาษีอย่างถูกต้องแล้ว

5.การระงับความขัดแย้งด้านภาษี

จะเห็นได้ว่าการมีความเห็นที่แตกต่างนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ภาษีเองก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่คนถกเถียงกันมากที่สุด โดยหากพนักงานภาษีตรวจสอบได้ว่าคุณคํานวณภาษีผิดพลาดด็อาจมีปัญหาตามมาภายหลังได้

6.การออกหมายเรียก

การออกหมายเรียกในกรณีที่ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนั้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเองก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยโทษทางกฎหมายนั้นมีทั้งหนักและเบา

และนี่คือทั้งหมดของโครงสร้างภาษีในประเทศไทย จะเห็นได้ว่าโครงสร้างภาษีนั้นมีหลายองค์ประกอบ โดยหากขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจจะไม่สมบูรณ์ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก

โครงสร้างภาษี – iTAX pedia

You may also like

Leave a Comment