
อยากเสียภาษีน้อยต้องทำธุรกิจแบบไหน
บทความนี้ กฏหมายภาษี จะมานำอยากเสียภาษีน้อยต้องทำธุรกิจแบบไหน มาดูกันเลย เพราะการเริ่มต้นทำธุรกิจถ้าเราเริ่มต้นได้ดี ถูกทาง เหมาะสม โอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จก็มีมาก ดังนั้นการเลือกรูปแบบธุรกิจที่ถูกต้องเหมาะสมกับธุรกิจของเราก็มีผลต่อความสำเร็จของเราด้วยเช่นกัน และมีผลต่อภาษีเงินได้ที่เราต้องเสียด้วย
2 รูปแบบของการทำธุรกิจเพื่อเสียภาษีน้อย
1. ธุรกิจประเภทบุคคลธรรมดา

สำหรับภาษีเงินได้จะคิดจากเงินได้สุทธิ ซึ่งเท่ากับ เงินได้พึงประเมิน-ค่าใช้จ่าย- ค่าลดหย่อน โดยมีอัตราภาษีที่ก้าวหน้า ตามฐานเงินได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจะเสียภาษีเงินได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิของเรา จะเห็นได้ว่าถ้าเงินได้สุทธิเรายิ่งสูงอัตราภาษีจะยิ่งแพง เป็นข้อเสียที่สำคัญของการทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม เราก็สามารถทำให้เงินได้สุทธิน้อยลง ก็ทำได้ 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ ลดเงินได้, เพิ่มค่าใช้จ่าย, เพิ่มค่าลดหย่อน
ข้อดีของการทำประเภทบุคคลธรรมดา
1. มีค่าลดหย่อนที่จะช่วยให้เราประหยัดภาษีได้เยอะ
2. เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ ช่วยประหยัดภาษีกรณีค่าใช้จ่ายจริงน้อยกว่า 60% ของเงินได้
3. ไม่ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 ไม่ยุ่งยาก แต่รู้ไหมว่าทำให้เราขาดข้อมูลทางบัญชีในเชิงการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจ ทำให้เราเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายของกรมสรรพากรเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาฐานหลีกเลี่ยง หรือฉ้อโกงภาษีที่เข้าข่ายกฎหมายฟอกเงิน
2. ธุรกิจประเภทนิติบุคคล

ไม่ว่าจะเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด, บริษัท(มหาชน) จำกัด ในแต่ละรูปแบบต่างกัน สำหรับเรื่องการเสียภาษีคือ ภาษีเงินได้ จะคิดจากกำไรสุทธิ ซึ่งเท่ากับ รายได้-ค่าใช้จ่าย
ข้อดีของการทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา
มีอัตราภาษีสูงสุดอยู่แค่ 20% สรุปได้ว่าถ้าเรามีเงินได้สุทธิเยอะ ๆ ก็ควรเลือกทำธุรกิจในรูปนิติบุคคลจะดีกว่า และยิ่งทำในรูป SME จะยิ่งประหยัดภาษี เนื่องจากกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก ยกเว้นภาษี, กำไรสุทธิ ช่วง 300,000 – 3 ล้านบาท เสียภาษีแค่ 15%, กำไรสุทธิส่วนที่มากกว่า 3 ล้านบาท ถึงเริ่มเสียที่อัตรา 20%
สำหรับการจะเป็น SME ได้ก็ต้องเข้าเงื่อนไข 2 ข้อ ได้แก่ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทในรอบระยะบัญชี

ข้อเสียการทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล
1. การหักค่าลดหย่อนไม่ได้เหมือนทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา
2. ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ทำให้นิติบุคคลที่มีค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริงน้อยกว่า 60% ของรายได้ มีกำไรสุทธิมากกว่าการทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา
3. ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 เสียค่าทำบัญชี และมีค่าผู้สอบบัญชีที่ต้องเสียตอนปลายปีอีกประมาณ 15,000 บาท การจัดทำบัญชีจะทำให้เรามีข้อมูลทางบัญชีที่น่าเชื่อถือในแต่ละธุรกรรม ความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายของกรมสรรพากรเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาฐานหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีก็น้อยลง