
เรียนรู้ภาษีอีเพย์เมนต์บังคับใช้กับใครบ้าง
ภาษีอีเพย์เมนต์ ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงกันอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ เมื่อ ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 โดยมีประเด็นสำคัญ คือ ให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลบัญชีที่มีความเคลื่อนไหวเข้าข่ายต้องเสียภาษี หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “พ.ร.บ.เก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์” หรือ “ภาษีอีเพย์เมนต์” นั่นเอง หมายความว่า ใครที่รับโอนเงินถึงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จะถูกส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรเพื่อตรวจสอบการเสียภาษี และไม่ใช่เพียงผู้ค้าออนไลน์เท่านั้น แต่ทุกคนมีสิทธิ์โดนตรวจสอบเหมือนกันหมด ฉะนั้น เรามาดูรายละเอียดของกฎหมายตัวนี้กันให้ชัด ๆ กฏหมายภาษี ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
รายละเอียดเกี่ยวกับภาษีอีเพย์เมนต์

1. ภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มใช้เมื่อใด
ภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมของผู้เข้าข่ายเสียภาษีครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563
2. ภาษีอีเพย์เมนต์ บังคับใช้กับใครบ้าง
โดยกฎหมายอีเพย์เมนต์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการตรวจสอบข้อมูลของผู้ที่มีรายได้ มียอดฝากเงิน หรือรับโอนเงิน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี ไม่ว่าผู้มีรายได้นั้นจะเป็น
– ผู้มีร้านค้าออนไลน์หรือผู้ค้าออนไลน์
– พ่อค้า-แม่ค้า
– มนุษย์เงินเดือน
– ผู้ที่มีอาชีพรับจ้าง
– บริษัท-ห้างร้านต่าง ๆ
รวมไปจนถึงผู้ที่มีรายได้อื่น ๆ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ยังไม่ได้มีการยื่นเสียภาษีอีเพย์เมนต์อย่างถูกต้อง

3. มียอดรับ – โอนเท่าไหร่ ธนาคารถึงส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
สถานบันการเงินจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรก็ต่อเมื่อ บุคคลหรือร้านค้ามียอดฝากหรือรับโอนเงิน รวมกันทุกช่องทางทั้งเคาน์เตอร์ธนาคาร ทางตู้เอทีเอ็ม และ Internet Banking ในแต่ละธนาคาร ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1. มียอดฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี
ถ้าปีนั้นรับโอนถึง 3,000 ครั้ง จะโดนตรวจสอบหมด ไม่ว่าจำนวนเงินจะมากหรือน้อย
2. มียอดฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาท/ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ การนับยอดการทำธุรกรรมจะเป็นแบบปีต่อปี คือ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ และข้อมูลจะถูกแยกเป็นแต่ละสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะไม่รวมข้อมูลกัน

4. ผู้ค้าออนไลน์มีได้รายได้เท่าไหร่ ถึงต้องเสียภาษีอีเพย์เมนต์
สำหรับเรื่องการเสียภาษีอีเพย์เมนต์ ในปัจจุบันผู้ค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นเสียภาษีกันอยู่แล้ว หากมีรายได้ตามเกณฑ์ ดังนี้
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากบุคคลนั้นมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี
ในปัจจุบันนี้ ภาษีอีเพย์เมนต์เป็นเรื่องที่อยู่ตัวเราเข้ามาทุกที เนื่องจากสังคมเราถูกรายล้อมด้วยการซื้อขายและการทำธุรกรรมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น ฉะนั้นเราต้องมีความรู้เรื่องภาษีตลอดจนภาษีอีเพย์เมนต์อย่างละเอียดเพื่อวางแผนการใช้เงินได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น