
อาชีพฟรีแลนซ์วางแผนภาษีอย่างไรดี
ฟรีแลนซ์ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ ไม่ได้สังกัดบริษัท องค์กร จึงเป็นเจ้านายตัวเอง ต้องกำกับเวลาตัวเอง ติดตามงานเอง รับค่าจ้างเอง รวมถึงต้องจัดการเรื่องภาษีด้วยตัวเอง ซึ่งควรศึกษาคู่มือจัดการสำหรับฟรีแลนซ์เอาไว้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวกับการใช้จ่ายมากที่สุด ดังนั้นข้อมูลที่จำเป็นต่อการยื่น คนที่มีอาชีพฟรีแลนซ์ต้องเตรียมเก็บไว้เอง บทความนี้ กฏหมายภาษี จะนำวิธีการจัดการภาษีฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปอ่านกันเลยค่ะ
ขั้นตอนการวางแผนภาษีของฟรีแลนซ์
1. ต้องตรวจสอบกฎเกณฑ์ของกรมสรรพากร

ต้องตรวจสอบในหมวดอาชีพว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาหักหรือจ่ายภาษีได้บ้าง จากนั้นนำเงินได้พึงประเมินมาหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน จึงจะได้รายได้สุทธิออกมา นำรายได้สุทธินี้ไปใช้คำนวณฐานภาษี หากคำนวณแล้วยังเข้าข่ายต้องจ่าย ดังนั้นต้องศึกษาว่าอะไรบ้างที่สามารถจะช่วยในการลดหย่อนได้
2. วิธีลดหย่อนภาษี

หากมีการคำนวณรายได้สุทธิและได้ฐานภาษีเรียบร้อย หากยังมียอดที่ต้องจ่ายสูงอยู่ก็ต้องหาวิธีเพื่อลดหย่อนภาษี วิธีมีดังนี้
2.1 ค่าเดินทางท่องเที่ยว
การลดหย่อนด้วยวิธีนี้โดยสามารถนำใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีฉบับเต็ม ของค่าบริการนำเที่ยวหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปมาขอลดหย่อนได้
2.2 ค่าซื้อสินค้าและบริการ
การลดหย่อนด้วยวิธีนี้จะช่วยในเรื่องการจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายได้อย่างลงตัว ซึ่งวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ คือการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่สามารถนำไปลดหย่อนได้ ที่ต้องเสียมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยที่ผู้เสียภาษีต้องเรียกขอจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม สำหรับค่าใช้จ่ายที่ได้สิทธิลดหย่อน เช่น ค่าซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ จากห้างสรรพสินค้า ค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหารหรือในโรงแรม บริการนวดหน้า ค่าบริการสปา ค่าซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถ อะไหล่รถ ค่าซ่อมรถที่มีการซ่อมแล้วเสร็จและชำระค่าบริการตามช่วงเวลาที่รัฐกำหนดในแต่ละปี

2.3 ประกันชีวิต
การลดหย่อนที่ฟรีแลนซ์สามารถเลือกใช้โอกาสนี้ในการหากรมธรรม์ที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการออมเงินและที่สำคัญยังจะเป็นวางแผนภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ที่ช่วยให้สามารถจัดสรรเรื่องเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเองด้วย
2.4 การลงทุนใน LTF หรือ RMF
การลดหย่อนเป็นอีกวิธีที่นิยมเลือกมาใช้ในการวางแผนภาษีคือ การเลือกซื้อกองทุน LTF หรือ RMF ไว้ได้ ผลประโยชน์ของการลงทุนใน LTF และ RMF นอกจากจะช่วยเรื่องออมเงิน และลดหย่อนได้แล้ว เมื่อขายหน่วยลงทุนคืนยังไม่ต้องเสียอีกด้วย
2.5 การบริจาคเงิน
การลดหย่อนด้วยการบริจาคเงินเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยลดหย่อน การบริจาคเงินเพื่อการศึกษาและกีฬา และการบริจาคอื่น ๆ ที่น่าสนใจคือ การบริจาคเงินเพื่อการศึกษาและกีฬานั้น สามารถลดหย่อนได้ถึง 2 เท่าของเงินบริจาค ส่วนการบริจาคอื่น ๆ เช่น การบริจาคให้วัดหรือมูลนิธิ สามารถลดหย่อนได้ 1 เท่า เป็นอีกวิธีที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นการทำบุญด้วย
3. ต้องตัดรายได้ 30% สำรองไว้จ่ายภาษี

สำหรับฟรีแลนซ์ก็ควรตัดรายได้ 30% หรือมากกว่านั้น เพื่อกันไว้เป็นสิ่งที่ต้องจ่ายต่อปี ปัญหานี้เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มักชะล่าใจ เพราะอาจจะไม่ได้สังกัดองค์กรหรือหน่วยงานใด ๆ หรือฟรีแลนซ์บางคนก็คิดไปเองว่าได้โดนหัก ณ ที่จ่ายไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้เมื่อถึงเวลายื่นคำนวณพบว่าต้องจ่ายภาษีเพิ่ม กลับไม่มีเงินไปจ่าย เพราะไม่ได้กันรายได้ไว้สำรองสำหรับจ่าย ดังนั้นการวางแผนจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
4. ต้องรับทราบเงินได้พึงประเมิน

ต้องคำนวณยอดเงินในแต่ล่ะเดือนไว้ โดยต้องเป็นคนรวบรวมเอกสารหัก ณ ที่จ่ายจากผู้ว่าจ้างให้ครบทุกบิลที่มีการจ่ายชำระค่าจ้าง รวมถึงใบเสร็จในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มในงานที่ทำ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันรายได้ต่อสรรพากร