ค่าลดหย่อนอะไรที่นำไปหักภาษีได้ ?

by taxlaw
0 comment
หักภาษี

ค่าลดหย่อนอะไรที่นำไปหักภาษีได้ ?

“ค่าลดหย่อน” ภาษี คือบรรดารายการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้ให้ไว้ว่าให้หักเพิ่มเติมจากเงินได้พึ่งประเมิน โดยจะหักหลังจากที่ทำการหักค่าใช้จ่ายแล้ว จุดประสงค์ก็เพื่อบรรเทาภาระภาษีที่ผู้เสียภาษีให้เบาบางลง ค่าลดหย่อนนั้นเกิดขึ้นก็เพื่อลดภาระภาษีของผู้เสียภาษีโดยแท้ เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เรื่องของภาษีนั้นไม่หนักหนาเกินไป ซึ่งค่าลดหย่อนนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละปี หากเปรียบเทียบก็ไม่ต่างกับการโปรโมชั่นสินค้า ที่ทำขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีตลอดไป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในแต่ละปีมักจะมีการออกนโยบายการลดหย่อนภาษีบางอย่างที่พิเศษออกมา นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องหมั่นติดตามข่าวสารให้มาก เพราะอย่าลืมว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ทั้งสิ้น จะเรียกได้ว่ารู้มากย่อมได้เปรียบมากก็คงไม่ผิด  กฏหมายภาษี

  1. ค่าลดหย่อนหรือสิทธิการลดหย่อน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
    1. 1. สิทธิตามสถานภาพของผู้ที่มีรายได้

เป็นสิทธิที่เกิดแก่ผู้มีรายได้ทั้งหลาย หากว่าเราเป็นผู้มีรายได้ก็จะได้รับสิทธิลดหย่อนในลักษณะนี้ โดยแต่ละอย่างมีดังนี้ การลดหย่อนที่เกิดจากตัวผู้มีรายได้เอง เป็นนโยบายของรัฐบาลเองที่กำหนดไว้ว่าผู้มีรายได้นั้น มีส่วนลดหย่อนทันทีคนละ 30,000  บาท, การลดหย่อนที่เกิดจากตัวคู่สมรส หากว่าคู่สมรสนั้นเป็นผู้ไม่มีรายได้และมีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกกฎหมาย ให้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท, การลดหย่อนด้วยบุตร การมีบุตรก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งนั่นรวมไปถึงบุตรบุญธรรมด้วย LOTTOSOD888 ฝาก-ถอนออโต้ไม่มีขั้นต่ำ

  1. 2. ตามสิทธิในการออมเงินและการลงทุน

การลงทุนหรือการออมทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ ทางรัฐบาลก็ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ด้วยการให้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ก็ต้องอยู่ในข้อกำหนดและลักษณะดังต่อไปนี้ ค่าลดหย่อนด้วยเบี้ยประกัน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาระภาษี เพราะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยสามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงในปีนั้น ๆ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนั้นต้องเป็นประกันชีวิตที่กำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปเท่านั้น และผู้ที่รับประกันภัยเองก็ต้องประกอบกิจการในประเทศไทยด้วย

ค่าลดหย่อนด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF  สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF (Long Tem Equity Fund) ที่ว่านี้เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในตลาดหุ้น เพื่อช่วยสนับสนุนให้มีการออมระยะยาว ซึ่งการลงทุนในลักษณะนี้ทางรัฐบาลได้สนับสนุนด้วยการมอบสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี ในการลดหย่อนภาษี โดยการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนั้นจะมีข้อกำหนดเอาไว้ว่าสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เท่ากับเงินลงทุนจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ อีกทั้งต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี ซึ่งจะไม่รวมกับส่วนที่เป็นเงินลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

ค่าลดหย่อนด้วยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF (Retirement MutualFund) เป็นอีกหนึ่งกองทุนรวมที่ส่งเสริมให้มีการออมเงินไว้เมื่อเกษียณอายุ ซึ่งทางรัฐบาลเองก็ส่งเสริมเพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิตหลังเกษียณและยังนำเงินรายได้ดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยแต่ก็ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่ว่า เมื่อซื้อกองทุนนี้แล้วหากจะขายต้องขายในตอนอายุ 55 ปีขึ้นไปและต้องซื้อมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้เท่าที่ลงทุนจริง แต่นั่นก็ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี ซึ่งจะไม่รวมกับเงินที่จ่ายเข้าในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ค่าลดหย่อนด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนนี้เป็นกองทุนสำหรับข้าราชการ หากว่าข้าราชการผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกของ กบข. สามารถที่ทำการขอลดหย่อนภาษีได้ตามเท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 ต่อปี

ค่าลดหย่อนด้วยกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทางรัฐบาลได้กำหนดเอาไว้ว่าเงินจ่ายสมทบเข้ากองทุนครูนั้นสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง แต่นั่นต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

You may also like

Leave a Comment