รู้ทันภาษีคริปโตฯ

by taxlaw
0 comment

รู้ทันภาษีคริปโตฯ

นักลงทุนที่ได้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคริปโตเคอเรนซี่ จะไม่สามารถหนีเรื่องของภาษีคริปโตฯ หรือการที่เราต้องเสียภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือเหรียญดิจิทัลที่ราว ๆ 15% ณ ที่จ่าย สงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าทำไมถึงต้องเป็นตัวเลขที่ 15% เพราะว่าคริปโตฯ ถูกจัดอยู่ในหมวดการลงทุน โดยปกติแล้วมาตรฐานเงินได้จากหมวดนี้ต้องเสียภาษีขั้นพื้นฐาน 15% แบบเดียวกับดอกเบี้ยเงินฝากหรือดอกเบี้ยเงินกู้ ทางกรมสรรพากรเลยใช้เกณฑ์เดียวกันกับรายได้ที่นักลงทุนได้จากการลงทุนในคริปโตฯ วันนี้ กฏหมายภาษี จะพาไปอ่านเพิ่มเติมจากบทความนี้ได้เลยค่ะ

เมื่อมีการเก็บภาษีคริปโตฯ จะส่งผลอย่างไรต่อนักลงทุน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องของการเก็บภาษีคริปโตฯ อาจไม่ส่งผลโดยรวมกับการลงทุนเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ หากจะขายเพื่อทำกำไร อาจต้องยอมรับเงื่อนไขของเว็บเทรดในบ้านเราอยู่แล้ว แต่การเก็บภาษีในครั้งนี้ก็ทำให้หลายคนเลือกที่จะมองหาเว็บเทรดในต่างประเทศที่ไม่มีการเก็บภาษี แต่แลกมาด้วยความเสี่ยงของข้อมูลหรือทรัพย์สินที่ถ้าหากโดนขโมยข้อมูลไปก็ไม่สามารถตามคืนมาได้

รู้ไหมว่าทำไมกรมสรรพากรต้องมาเกี่ยวข้องกับคริปโตฯ

เรื่องของคริปโตฯ กับระหว่าง 2 หน่วยงานของภาครัฐ ในส่วนของ กลต. จะมีหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจ ร่างกฎหมาย ถ้าวันไหนที่เราทำการซื้อและขายแลกเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสด ในเรื่องของการเสียภาษีจะเป็นกรมสรรพากรเข้ามาดูแล การเสียภาษีจากคริปโตฯ จะแบ่งจาก 2 แบบดังนี้

1. รายได้จากการขายเหรียญ หมายถึง ถ้าเราขายเหรียญดิจิทัลไม่ว่าสกุลใดก็ตาม แล้วได้กำไรไม่ว่าเท่าไหร่ จำนวนเงินที่เราเพิ่งทำธุรกรรมซื้อและขายะถูกนำเสียภาษี

2. รายได้จากส่วนแบ่งกำไร หมายถึง ถ้าเรานำเหรียญดิจิทัลไปลงทุน แล้วเราได้รับผลตอบแทนเป็นเหรียญดิจิทัล ภาษีคริปโตส่วนนี้จะคิดจากเหรียญดิจิทัลที่เราได้ส่วนแบ่งออกมา

กรมสรรพากรจะเช็คกำไรจากคริปโตฯ อย่างไร

ปัจจุบันเว็บเทรดในบ้านเรายังไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย ในส่วนของกำไรได้โดยตรง หน้าที่เลยตกมาอยู่ที่นักลงทุนต้องมานั่งคำนวณการซื้อและขาย ในแต่ละครั้งว่าเราได้กำไรหรือขาดทุนด้วยตัวเอง ตอนนี้ก็ยังไม่มีการบังคับเรียกเก็บภาษีจริง ๆ จากกรมสรรพากรบนเว็บเทรดในบ้านเรา แต่ป้องกันการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เพื่อความสบายใจให้เราเก็บหลักฐานทุกครั้ง เพื่อยื่นภาษีในเงินได้ในแต่ละปีอย่างครบถ้วน

อันตราการเสียภาษีคริปโตฯ

การเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจำนวน 15% มีตัวอย่างการคิดภาษีคริปโตฯ แบบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

หากเราซื้อขายเหรียญดิจิทัลได้กำไรมา 100,000 บาท เราต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อน 15% = 100,000 x 15% = 15,000 บาท

สรุปกำไรที่จะได้รับคือ 100,000 – 15,000 = 85,000 บาท

ยังไม่หมดเท่านั้น เพราการหักภาษีคริปโต 15% ยังไม่ได้ถือว่าเป็น Final tax เพราะในรอบการยื่นภาษีในรอบปีภาษีใหม่เรายังต้องนำส่วนแบ่งกำไรหรือกำไรจากการขายเหรียญดิจิทัลมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย หากไม่นำมายื่นอาจมีความผิดในการหลบเลี่ยงหรือแสดงรายการยื่นภาษีไม่ครบ ก็อาจโดนบทลงโทษต่อไป

สนับสนุนโดย : LOTTOSOD888

You may also like

Leave a Comment