รู้จักซื้อสินค้า-ใช้บริการแบบไหนต้องจ่ายบ้าง 

by taxlaw
0 comment
รู้จักซื้อสินค้า

รู้จักซื้อสินค้า-ใช้บริการแบบไหนต้องจ่ายบ้าง 

เคาะแล้วว่า การจัดเก็บภาษี e-Service จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป ตามพ.ร.บ. e-Service ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ผู้ประกอบการออนไลน์จากแพลตฟอร์มต่างประเทศต้องจ่าย VAT ให้กรมสรรพากร แต่มีหลายคนยังไม่รู้ว่า ภาษี e-Service นั้นคืออะไร แล้วการซื้อของ ขายของออนไลน์ การยิงโฆษณา Google, Facebook ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่ ดังนั้นวันนี้ กฏหมายภาษี ลองมารู้จักและทำความเข้าใจกับภาษี e-Service ให้ชัดเจนกันเลย

ภาษี e-Service คืออะไร

คือ การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Google, Line, Microsoft, Apple, TikTok เป็นต้น โดยถ้ามียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีแล้ว จะต้องนำส่ง VAT ให้กรมสรรพากร ซึ่งในปัจจุบันคิดอัตรา 7% ของราคาค่าบริการ 

ทำไมถึงต้องจัดเก็บภาษี e-Service 

การจัดเก็บภาษี e-Service เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการไทย กับผู้ประกอบการจากต่างประเทศนั่นเอง ซึ่งปกติแล้วผู้ประกอบการไทยต้องยื่น ชำระ VAT 7% ให้กรมสรรพากรเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่มีรายได้ในประเทศไทยกลับไม่ต้องเสียภาษี VAT เลย ดังนั้น กฎหมาย e-Service จึงออกมาเพื่อปิดช่องโหว่ตรงนี้ และให้ผู้ประกอบการต่างชาติต้องจดทะเบียนและเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการไทยนั้นเอง โดยประเทศไทยได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. e-Service ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

ธุรกิจประเภทไหนต้องจดภาษี e-Service ในไทยบ้าง

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือแพลตฟอร์มของบริษัทต่างประเทศที่ให้บริการทางออนไลน์ในประเทศไทย แบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. ธุรกิจที่ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับขายของออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Amazon, Alibaba

2. ธุรกิจที่ให้บริการพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook, Google

3. ธุรกิจให้บริการจองโรงแรมที่พักและการเดินทาง เช่น Agoda, Booking, Airbnb

4. ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย เช่น บริการเรียกรถรับ-ส่ง, บริการขนส่ง

5. ธุรกิจที่ให้บริการสมาชิกดูหนัง-ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกม และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น Netflix, Disney, Youtube, IQIYI, Spotify, App Store, Play Store, Zoom, Slack

คนทั่วไปแบบเรา ๆ จะไม่ได้เสียภาษี e-Service โดยตรง เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการต่างประเทศ แต่ก็อาจจะได้จ่ายภาษีทางอ้อม เนื่องจากต้นทุนของการประกอบการสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางรายมาเรียกเก็บ VAT 7% จากเราแทนนั้นเอง 

ทั้งนี้แล้ว ตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ประกอบการต่างประเทศด้วยว่าต้องการบวก VAT 7% เพิ่มจากค่าสินค้าและบริการหรือไม่ หรือจะดำเนินการอย่างไรกับต้นทุนที่เพิ่มมาในส่วนนี้ เพราะถ้าเมื่อมีผู้ให้บริการรายใดตัดสินใจชาร์จ VAT จากลูกค้าเพิ่ม ในขณะที่คู่แข่งยังคงตรึงราคาเดิมอยู่ ผู้ให้บริการที่ปรับราคาขึ้นก็จะอาจเสียลูกค้าไปได้

You may also like

Leave a Comment