
จริงหรือไม่ราคาน้ำมันแพงเพราะภาษีและเงินกองทุน
ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเป็นกระแสร้อนในสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเด็นที่บอกว่าราคาน้ำมันที่แพงนั้นเกือบครึ่งเป็นค่าภาษี และเงินกองทุนของภาครัฐคิดที่เป็นสัดส่วนราว 49% ของราคาขายที่หน้าปั๊ม ความจริงแล้วเป็นอย่างไร กฏหมายภาษี จะพาดูบทความนี้มีคำตอบ
โครงสร้างของราคาน้ำมันขายปลีก

กระทรวงการคลังได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยเริ่มต้นจากการอธิบายโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกของน้ำมันเชื้อเพลิง ในปัจจุบันว่ามีการแบ่งออกเป็น 6 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
1. ราคาหน้าโรงงาน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ
2. ภาษีสรรพสามิตที่อัตราประมาณ 0.975 ถึง 6.5 บาทต่อลิตร ขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำมันจะจัดเก็บบนหลักการด้านสิ่งแวดล้อม
3. ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่นทีร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 ซึ่งเป็นการจัดเก็บสินค้าเกือบทุกประเภท
5. กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะจัดเก็บ -17.6143 ถึง 6.58 บาทต่อลิตร ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ
6. ค่าการตลาด ซึ่งเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ รัฐเก็บภาษี-เงินกองทุน 45% ของราคาน้ำมัน คือเรื่องจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด
กระทรวงการคลังยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างราคาน้ำมันดังกล่าวว่าสัดส่วนที่พูดกันเกี่ยวกับการเก็บภาษีและเงินกองทุนของภาครัฐสูงถึงร้อยละ 45 ของราคาน้ำมันต่อลิตรที่ประชาชนจ่ายนั้นจะพบว่าเป็นการนำสัดส่วนของราคาน้ำมันเบนซินปกตินำมาอ้างใช้กับน้ำมันทุกประเภท จึงเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
ราคาน้ำมันแต่ละประเภท มีโครงสร้างราคาไม่เท่ากัน

1. น้ำมันดีเซล
ราคาหน้าโรงงาน คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 75-87 ของราคาขายปลีก
ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่งหรือได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนทั้งหมดร้อยละ 6-16 ของราคาขายปลีก
ค่าการตลาด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1-3 ของราคาขายปลีก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า
2. น้ำมันเบนซิน
ราคาหน้าโรงงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56-100 ของราคาขายปลีก
ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่งหรือได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ถึง 35 ของราคาขายปลีก
ค่าการตลาด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2-18 ของราคาขายปลีก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าทุกประเภทที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า

3. LPG
ราคาหน้าโรงงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 157 ของราคาขายปลีก
ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่งหรือได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81 ของราคาขายปลีก
ค่าการตลาด อยู่ที่สัดส่วนร้อยละ 17 ของราคาขายปลีก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า