
ไขข้อสงสัย ภาษีโครงการคนละครึ่งมีจริงไหม
ภาษีโครงการคนละครึ่งมีจริงไหม เป็นคำถามยอดฮิตของประชนชน มีจริง ไม่มีจริง บทความนี้ กฏหมายภาษี จะมีคำตอบ ไปอ่านกันได้เลย
คำถามยอดฮิต ภาษีโครงการคนละครึ่งมีจริงไหม ?

เมื่อโควิดมา รัฐบาลจึงได้จัดโครงการคนละครึ่ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน และส่งผ่านกำลังซื้อไปสู่ผู้ประกอบการให้มีรายได้เพิ่ม ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นข้อกังวลว่าเหล่าพ่อค้าแม่ค้านั้นต้องจ่ายภาษีโครงการคนละครึ่งนั่นเอง หากผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น และอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ต้องดำเนินการไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการของรัฐหรือไม่ก็ตาม เพราะฉะนั้นการจ่ายภาษีของผู้ประกอบการจึงไม่เกี่ยวกับโครงการคนละครึ่ง เนื่องจากฐานข้อมูลผู้ที่เข้าโครงการคนละครึ่ง ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับระบบของกรมสรรพากรเพื่อตรวจสอบรายได้ ดังนั้นการเสียภาษีอยู่ที่เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของแต่ละบุคคลนั่นเอง จึงเป็นคำตอบว่าการเรียกเก็บภาษีโครงการคนละครึ่งจากพ่อค้าแม่ค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง นั่นไม่มีอยู่จริง
กรมสรรพากรไม่ได้มุ่งเน้นจัดภาษีโครงการคนละครึ่งจริงหรือไม่

– สำหรับผู้ประกอบการ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ได้เงินจากการค้าขาย เมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี โดนนำเอกสารหลักฐานต้นทุนในการประกอบกิจการมาหักค่าใช้จ่ายจากยอดขาย เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ หรือผู้ประกอบการไม่ได้เก็บเอกสารต้นทุน ก็สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 60 โดยจะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิหลักหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือในอัตราเหมาจ่าย รวมถึงค่าลดหย่อนแล้ว
– เมื่อมีเงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษีจะได้รับการยกเว้น แต่มีเงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 150,001 บาทเป็นต้นไป จะต้องนำรายได้ยื่นภาษี และจะต้องยื่น 2 ครั้ง ตามระยะเวลาที่กำหนด
– กรณีเป็นร้านที่ขายดีมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT โดยจัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ. 30 นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

จึงเป็นบทสรุปได้ว่าเมื่อร้านค้าเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งหรือรับเงินผ่านแอพฯ ถุงเงินต้องเสียภาษีโครงการคนละครึ่งหรือไม่ คำตอบคือ ต้องเสียภาษีสำหรับร้านค้าที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีเท่านั้น คือ ร้านค้าที่มีรายได้ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องยื่นภาษี ส่วนจะต้องเสียภาษีหรือจ่ายภาษีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิหรือรายได้สุทธิที่แต่ละร้านได้รับ โดยเป็นไปตามเกณฑ์คือ ต้องดูที่เงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษี (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ)