
ทำไมต้องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และใครเป็นคนเสียภาษี ?
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลทั่วไป หรือเก็ยจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามกฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยจะเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องไปแสดงรายการตัวเองตามแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้ที่มีรายได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีครึ่งปี สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ วันนี้ กฏหมายภาษี จะพามาดู

ใครเป็นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด โดยแบ่งออกได้ดังนี้
- บุคคลธรรมดา
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้ทีการแบ่งมรดก
ประเภทของรายได้ผู้ที่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง ?
บุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้จำเป็นต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งภาษีที่ต้องเสียนั้นอยู่กับประเภทของรายได้ มาจากรายได้ประเภทอะไร และเงินได้ในแต่ละประเภทจะแบ่งออกมาเป็นรูปแบบทั้งหมด 8 ประเภท 40(1) – 40(8) ได้ดังนี้
- ประเภทที่ 1 รายได้ที่ได้มาจากหน้าที่การงาน เช่น เงินเดือน , โบนัส
- ประเภทที่ 2 รายได้ที่ได้มาจากหน้าที่ เช่น ค่ารับจ้าง , ค่านายหน้า , Part-time
- ประเภทที่ 3 รายได้ที่ได้มาจากค่าลิขสิทธิ์ เช่น รายได้จากการเขียนหนังสือ หรือ เงินได้ที่มีลักษณะจ่ายรายปี
- ประเภทที่ 4 รายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร
- ประเภทที่ 5 รายได้ที่ได้มาจากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าที่
- ประเภทที่ 6 รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น วิศวกร แพทย์ เป็นต้น
- ประเภทที่ 7 รายได้ที่มาจากการรับเหมา เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง
- ประเภทที่ 8 รายได้อื่นๆ นอกเหนือจากประเภทที่ 1-7

ผู้ที่มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อไหร่?
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนและรวมเงินประเภทอื่นอยู่ด้วย โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น และภาษีที่เสียนำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้
2.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ โดยยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
แบบแสดงรายการที่ใช้แบ่งได้มีดังต่อไปนี้
- แบบที่1 ภ.ง.ด. 90 ใช้ยื่นกรณีมีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท โดยมีกำหนดเวลายื่น คือ มกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
- แบบที่1 ภ.ง.ด. 91 ใช้ยื่นกรณีที่มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียว โดยมีกำหนดเวลายื่น คือ มกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
- แบบที่1 ภ.ง.ด. 93 ใช้ยื่นกรณีที่มีเงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้า โดยมีเวลายื่นก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
- แบบที่1 ภ.ง.ด. 94 ใช้ยื่นกรณีที่ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7 และ 8 โดยมีกำหนดเวลายื่น คือ กรกฎาคม – กันยายน ของปีภาษีนั้น
เราสามารถไปยื่นแบบภาษีเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลที่ไหนได้บ้าง ?
1.สำนักงานกรมสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ
2.ทาง Internet ผ่านทางเว็ปไซต์ของกรมสรรพากร ได้ที่
www.rd.go.th
จากข้างต้นเราจึงทราบว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น เป็นภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร โดยที่มีบุคคลธรรมดาเป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีเมื่อมีรายได้ และมีกรมสรรพากรนั้นเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อ้างอิง https://www.boi.go.th/index.php?page=taxation
https://www.boi.go.th/index.php?page=taxation#1
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีบ้าง ?