
รู้ไหมว่าเครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร
สำหรับเครดิตภาษีเงินปันผลภาครัฐอนุญาตให้นักลงทุนสามารถขอคืนได้ สำหรับเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับนั้นมาจากกำไรของบริษัท บริษัทได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลยังถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน วันนี้ กฏหมายภาษี จะพามาดู
เครดิตภาษีเงินปันผลมีเงื่อนไขใช้อย่างไร

สำหรับหุ้นปันผลที่จ่ายออกมาให้กับนักลงทุน นักลงทุนเสียภาษีไปแล้ว แต่อยากได้ภาษีส่วนนั้นคืน โดยการใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปั่นผล จะมีเงื่อนไขในการใช้สิทธิ 3 ข้อด้วยกัน ดังนี้
1. การยื่นเครดิตภาษีเงินปันผลทุกหลักทรัพย์ ที่ได้เงินปันผลในปีภาษี
2. การคำนวณจากเงินปันผลทุกงวดในปีภาษีนั้น ๆ ไม่สามรถ เลือกยื่นแค่บางงวดได้
3. การใช้สิทธิได้เฉพาะบริษัทที่มีสัญชาติไทยและตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
เครดิตภาษีเงินปันผลต้องเสียภาษี 10%

สำหรับหุ้นปันผลที่หลายคนคงรู้แล้วว่า เมื่อเราซื้อหุ้นไว้และได้รับเงินปันผล รายได้ส่วนที่นักลงทุนได้รับ จะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 10% แต่ว่านักลงทุนสามารถขอเงินภาษีที่ถูกเรียกเก็บ จากการมีรายได้จากเงินปันผลได้ หลักการในการวางแผนภาษีนั้นง่ายมาก ถ้าฐานภาษีของผู้เสียภาษีน้อยกว่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่จ่ายเงินปันผล เมื่อเราคำนวณภาษีโดยใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลเรามันจะได้ภาษีคืน สรุปง่าย ๆ ได้ว่าใครที่มีรายได้ส่วนอื่นนอกจากเงินปันผลไม่เยอะก็จะได้รับภาษีคืน แต่ถ้าใครมีฐานภาษีที่สูงอยู่แล้วก็ทำอะไรไม่ได้
เครดิตภาษีเงินปันผลมีสูตรคำนวณเครดิตภาษีอย่างไร

เครดิตภาษีเงินปันผล = เงินปันผล (อัตราภาษีนิติบุคคล / (100 – อัตราภาษีนิติบุคคล)
ปัจจุบันภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ในเรต 20%
เครดิตภาษีเงินปันผลถูกเรียกว่าการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน

สำหรับเครดิตภาษีเงินปันผลสามารถขอคืนภาษีย้อนหลังที่ถูกเรียกเก็บ 10% ณ จ่ายได้ โดยใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปั่นผลคือ การขอคืนภาษีจากการลงทุนในหุ้นแล้วได้รับเงินปันผล ที่ถูกมองว่ามีการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะการที่บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ บริษัทต้องประกอบธุรกิจจนมีกำไร จากนั้นบริษัทก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ก่อนจะกลายมาเป็นเงินปันผล ส่งต่อให้ผู้ถือหุ้น ประกอบกับ ตอนที่ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลยังต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย อีก 10% อีกด้วย จึงถูกมองว่าเป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน
