ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเครื่องดื่ม

by taxlaw
0 comment
ภาษีเครื่องดื่ม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเครื่องดื่ม

บทความนี้ กฏหมายภาษี จะนำเสนอภาษีเครื่องดื่มเบื้องต้น เพราะในปัจจุบันความต้องการบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ยิ่งเพิ่มขึ้น ทั้งเครื่องดื่มที่ให้พลังอิ่มท้อง ดับกระหาย รวมถึงเครื่องดื่มที่เปี่ยมคุณค่าทางโภชนาส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มควรจะต้องรู้จักและทำความความเข้าใจกับขั้นตอนการเสียภาษีเครื่องดื่ม เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างถูกต้องตามกฎหมายและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

ภาษีเครื่องดื่มเป็นอย่างไร

ตามพระราชบัญญัติพ.ศ. 2527 เครื่องดื่มที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษี หมายถึง สิ่งที่ตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้ โดยไม่ต้องเจือปนและไม่มีแอลกอฮอล์ โดยจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ เช่น น้ำแร่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำพืชผักและน้ำโซดา เป็นต้น สนับสนุนโดย LOTTOSOD888 ฝาก-ถอนออโต้ไม่มีขั้นต่ำ

วิธีการเสียภาษีเครื่องดื่มกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษี 

1. ใช้แสตมป์สรรพสามิต

2. ใช้เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจดทะเบียน เช่น เครื่องดื่มประเภทน้ำโซดา น้ำอัดลมเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น

3. ชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีหลักประกัน

การประกอบธุรกิจเครื่องดื่มกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวของภาษีเครื่องดื่ม

ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องดำเนินการทั้งก่อนที่จะนำเข้า ผลิต จำหน่ายหรือส่งออกเครื่องดื่ม มีดังนี้

1. ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มผลิตหรือจำหน่าย

2. ต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากกรมสรรพากร ตามขนาดและประเภทธุรกิจ เพื่อใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากรรวมทั้งการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีมีรายได้จากยอดขายเครื่องดื่มเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือกรณีที่ต้องการเป็นผู้นำเข้าหรือส่งออกเครื่องดื่ม

กรณีการนำเข้าเครื่องดื่ม

1. ผู้ประกอบการจะต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรก่อน

2. ลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร

3. ต้องขออนุญาตนำเข้าเครื่องดื่มจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

4. ดำเนินการนำเข้าตามพิธีการนำเข้าของกรมศุลกากร โดยสำหรับสินค้าประเภทเครื่องดื่มนั้นจะต้องขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์และชำระภาษีสรรพสามิต

5. จัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อไป

กรณีการผลิตเครื่องดื่ม

ผู้ประกอบการจะต้องมีเลขประจ้าตัวผู้เสียภาษีอากร จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่ยอดขายต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท และจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว มีดังต่อไปนี้

1. ต้องขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตเครื่องดื่มจากหน่วยราชการท้องถิ่น 

2. ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต ณ สำนักงานกรมสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน ก่อนเริ่มผลิตสินค้า

3. ต้องยื่นขออนุญาตผลิต โดยหลังจากผลิตเสร็จแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องส่งตัวอย่างเครื่องดื่มตามที่กฎหมายกำหนดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขออนุมัติการผลิต

4. ต้องยื่นแจ้งวันทำการผลิตและราคาขายต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันเริ่มจำหน่าย รวมทั้งทำการจดแจ้งฉลากและจัดทำบัญชีงบเดือน เพื่อใช้ประกอบการเสียภาษีสรรพสามิตด้วย

5. ต้องจัดทำรายงานภาษียื่นต่อกรมสรรพสามิต เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนนำสินค้าออกวางจำหน่าย

You may also like

Leave a Comment