เรื่องภาษีร้านอาหาร คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้

by taxlaw
0 comment
ภาษีร้านอาหาร

เรื่องภาษีร้านอาหาร คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้

เรื่องภาษีร้านอาหาร คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ เพราะเรื่องของภาษีคนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ ถือเป็นทักษะสำคัญที่ควรรู้อีกด้วย เมื่อเราเข้าใจก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่าย ๆ ในทุก ๆ ปีได้ ดังนั้นมาทำความเข้าใจเรื่องภาษีขั้นพื้นฐานที่ง่ายกว่าที่คิด วันนี้กฏหมายภาษีจะมาบอก ตามมาดูกันเลยค่ะ

คนทำร้านอาหารต้องเสียภาษีร้านอาหาร

อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า เราทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร เราอาจจะเสียภาษีในรูปแบบของภาษี ณ ที่จ่าย เช่น การซื้อของตามห้างร้าน การนั่งทานอาหารตามร้าน เป็นต้น สำหรับคนที่มีรายได้ในทุก ๆ อาชีพ ภาษีที่จะต้องจ่ายคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีเกณฑ์ของกรมสรรพากรว่าถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ต่อปีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีเพิ่ม แต่เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ มาลดหย่อนได้อีกมากมาย มีช่วงเวลายื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ 

  1. ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน ยื่นได้ด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ 
  2. ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ยื่นได้ด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ 

หากในกรณีที่มีรายได้ไม่ถึง 150,000 ต่อปี ต้องยื่นไหม คำตอบคือยื่น เพราะกรมสรรพากรจะเก็บเป็นประวัติรายได้เอาไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียภาษี 

ภาษีร้านอาหารเล็ก ๆ ต้องยื่นไหม

สำหรับร้านเล็กหรือร้านใหญ่ หากมีรายได้มากหรือน้อยควรต้องยื่นภาษีในทุก ๆ ปี และร้านที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของรอบเดือนถัดไปด้วย

ส่วนร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน ควรยื่นภาษีร้านอาหารไหม

เมื่อร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน และมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่เป็นปัญหาใด ๆ แต่หากกรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่ารายได้ต่อปีเกินจากนั้น อาจมีการเรียกเก็บย้อนและการหลบหลีกหรือไม่ยื่นเลยไม่ใช่ทางออกที่ดี ดังนั้นเจ้าของร้านอาหารทุกร้านต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละคน

ภาษีร้านอาหารการเข้าร่วมเดลิเวอรี่ต้องเสียภาษีด้วยไหม

ภาษีร้านอาหารที่ทั้งเปิดหน้าร้านและเดลิเวอรี่ เวลายื่นตรวจสอบภาษีจะต้องนำรายได้ 2 ช่องทางมารวมกัน โดยกรมสรรพากรจะมีฐานข้อมูลร้านเดลิเวอรี่ รวมถึงรายได้ในแต่ละเดือน จากการที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ต้องยื่นเสียภาษีในทุก ๆ เดือน ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดหน้าร้านด้วยหรือขายผ่านแอปเดลิเวอรี่ก็จำเป็นต้องยื่นภาษีในทุก ๆ ปี

วิธีลดหย่อนภาษีร้านอาหาร

  1. สำหรับร้านค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา

เจ้าของภาษีร้านอาหารสามารถลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ รวมถึงค่าลดหย่อนสำหรับครอบครัว ค่าการทำประกัน และการลงทุน หรือค่าเงินบริจาค

  1. สำหรับภาษีร้านอาหารที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือบริษัท
  • จากค่าเสื่อมและค่าสึกหรอ
  • จากค่าจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 
  • จากค่าอบรมพนักงาน
  • จากการทำประกันความคุ้มครอง
  • จากการเข้าร่วมโครงการของรัฐ

You may also like

Leave a Comment