ภาษีรถยนต์คืออะไร มีวิธีคำนวณอย่างไร

by taxlaw
0 comment
ภาษีรถยนต์คืออะไร

ภาษีรถยนต์คืออะไร มีวิธีคำนวณอย่างไร

ภาษีรถยนต์เป็นภาษีที่ต้องชำระเป็นรายปีให้กรมขนส่งทางบก คุณสามารถคำนวณค่าต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ กฏหมายภาษี พาไปดูบทความนี้ได้เลยค่ะ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์

สมุดจดทะเบียนรถยนต์และประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรณีรถยนต์ที่อายุใช้ครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ด้วย

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์เบื้องต้น

1. รถยนต์ทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ)

รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง 4 ประตู รถสปอร์ต 2 ประตู รถกระบะ 4 ประตู จะคำนวณค่าภาษีรถยนต์ (ค่าต่อทะเบียนรถ) ตามขนาดความจุกระบอกสูบจริง (cc) ตามที่ปรากฏในเล่มทะเบียนรถ โดยคำนวณภาษีเป็นอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันไดดังนี้

กำลังเครื่องยนต์ อัตราภาษีต่อ cc จำนวน cc แต่ช่วงชั้น ภาษีแต่ละช่วงชั้น

600 cc แรก 0.50 600 ฿300

ส่วนเกิน 600 cc ถึง 1,800 cc 1.50 1,200 ฿1,800

ส่วนเกิน 1,800 cc 4.00

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ 1,600 cc อายุ 1 ปี

600 cc แรก = 300 (จำนวน 600 cc x อัตราภาษี 0.50)

ส่วนเกิน 600 cc ถึง 1,600 cc = 1,500 (จำนวน 1,000 cc x อัตราภาษี 1.50)

ดังนั้นคำนวณค่าภาษีรถยนต์ 1,600 cc อายุ 1 ปี ได้ 1,800 (300 + 1,500)

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ 5,000 cc อายุ 5 ปี

1,800 cc แรก = 2,100

ส่วนเกิน 1,800 cc ถึง 5,000 cc = 12,800 (จำนวน 3,200 cc x อัตราภาษี 4.00)

ดังนั้นคำนวณค่าภาษีรถยนต์ 5,000 cc อายุ 5 ปี ได้ 14,900 (2, 100 + 12,800)

ส่วนลดภาษีสำหรับรถยนต์เก่าที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษีตั้งแต่ 10-50% ของค่าภาษีรถยนต์ที่คำนวณได้ในอัตราส่วนลดดังนี้

อายุการใช้งาน ส่วนลด

ปีที่ 6 10% 

ปีที่ 7 20%

ปีที่ 8 30%

ปีที่ 9 40%

ปีที่ 10 เป็นต้นไป 50%

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ 1,600 cc อายุ 6 ปี

600 cc แรก = 300 (จำนวน 600 cc x อัตราภาษี 0.50)

ส่วนเกิน 600 cc ถึง 1,600 cc = 1,500 (จำนวน 1,000 cc x อัตราภาษี 1.50)

คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 1,600 cc ได้ 1,800 (300 + 1,500)

ส่วนลดสำหรับปีที่ 6 = 180 (10% ของค่าภาษีรถยนต์ 1,800)

สรุปค่าภาษีหลังได้รับส่วนลดสำหรับรถยนต์อายุ 6 ปี = 1,620 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ 2,354 cc อายุ 10 ปี

1,800 cc แรก = 2,100

ส่วนเกิน 1,800 cc ถึง 2,354 cc = 2,216 (จำนวน 554 cc x อัตราภาษี 4.00)

คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 2,354 cc อายุ 2 ปี ได้ 4,316 (2,100 + 2,216)

ส่วนลดสำหรับปีที่ 10 เป็นต้นไป = 2, 158 (50% ของค่าภาษีรถยนต์ 4,316)

ค่าภาษีหลังได้รับส่วนลดสำหรับรถยนต์อายุ 10 ปีขึ้นไป 2,1558 บาท

2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน)

รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะคำนวณค่าภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ตามที่ปรากฏในเล่มทะเบียนรถ โดยคำนวณภาษีแบบเหมาตามน้ำหนักรถดังนี้

น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ค่าภาษี

0 – 500 150 บาท

501 – 750 300 บาท

751- 1,000 450 บาท

1,001 – 1,250 800 บาท

1,251 – 1,500 1,000 บาท

1,501 – 1,750 1,300 บาท

1,751 – 2,000 1,600 บาท

2,001 – 2,500 1,900 บาท

2,501 – 3,000 2,200 บาท

3,001 – 3,500 2,400 บาท

3,501 – 4,000 ,600 บาท

4,001 – 4,500 2,800 บาท

4,501 – 5,000 3,000 บาท

5,001 – 6,000 3,200 บาท

6.001 – 7,000 3,400 บาท

ตั้งแต่ 7,000 ขึ้นไปค่าภาษี 3,600 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถตู้โดยสาร หนัก 1,800 กิโลกรัม 

น้ำหนักรถ 1,800 กิโลกรัม = ค่าภาษี 1,300 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถตู้โดยสาร หนัก 2,000 กิโลกรัม

น้ำหนักรถ 2,000 กิโลกรัม = ค่าภาษี 1,600 บาท

3. รถบรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว)

รถบรรทุกไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 2 ประตู หรือรถตู้ขนส่งสินค้า จะคำนวณค่าภาษีรถยนต์ (ค่าต่อทะเบียนรถ) ตามน้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ตามที่ปรากฏในเล่มทะเบียนรถ โดยคำนวณภาษีแบบเหมาตามน้ำหนักรถดังนี้

น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ภาษี

0 – 500 300 บาท

501 – 750 450 บาท

751 – 1,000 600 บาท

1,001 – 1,250 750 บาท

1,251 – 1,500 900 บาท

1,501 – 1,750 1,050 บาท

1,751 – 2,000 1,350 บาท

2,001 – 2,500 1,650 บาท

2,501 – 3,000 1,950 บาท

3,001 – 3,500 2,250 บาท

3,501 – 4,000 2,550 บาท

4,001 – 4,500 2,850 บาท

4,501 – 5,000 3,150 บาท

5,001 – 6,000 3,450 บาท

6.001 – 7,000 3,750 บาท

ตั้งแต่ 7,000 ขึ้นไปค่าภาษี 4,050 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถกระบะ 2 ประตู หนัก 1,800 กิโลกรัม 

น้ำหนักรถ 1,800 กิโลกรัม = ค่าภาษี 1,350 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถกระบะ 2 ประตู หนัก 2,300 กิโลกรัม

น้ำหนักรถ 2,300 กิโลกรัม = ค่าภาษี 1,650 บาท

You may also like

Leave a Comment