มารู้จักกับภาษีมรดกของประเทศไทยกันดีกว่า

by taxlaw
0 comment
ภาษีมรดก

มารู้จักกับภาษีมรดกของประเทศไทยกันดีกว่า

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าประเทศไทยมีการเก็บภาษีที่เรียกว่า“ภาษีมรดก”แล้วนะครับ ซึ่งได้เริ่มเก็บภาษีมรดกตั้งปี พ.ศ. 2559 นับว่าเป็นการกลับมาเก็บภาษีมรดกอย่างจริงจังอีกครั้งหลังล้มเลิกไปเมื่อครั้งก่อน และดูจะเป็นเรื่องที่ทำให้คนที่ประกอบธุรกิจครอบครัวหัวหมุนอยู่ไม่น้อย เนื่องจากทรัพย์สินทุกอย่างต้องถูกส่งต่อไปรุ่นสู่รุ่นและต้องมีการเสียภาษีมรดกเมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากผู้ตายไปยังผู้รับมรดกหรือทายาทนั่นเอง วันนี้ กฏหมายภาษี จะพามาดู

ภาษีมรดกของประเทศไทย

มาดูกันกันดีกว่าว่า“ภาษีมรดกของประเทศไทย”เป็นยังไงกันบ้าง? ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นจะเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่ารวมเกิน 100 ล้านบาท ถึงจะเป็นภาษีการรับมรดก ซึ่งจะมีอัตราภาษีอยู่ที่ 5% และ 10% โดยทรัพย์สินที่นับเป็นภาษีมรดกนั้นได้แก่

  • อสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคาร บ้านหรือที่ดิน
  • เงินฝาก
  • หลักทรัพย์ เช่น ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตร
  • ยาพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
  • ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ

มาดูหลักการคิดของภาษีมรดกกันดีกว่า

สำหรับการคิดภาษีมรดกโดยมีอัตราภาษี 5% และ 10% นั้นจะถูกนำมาคิดดังต่อไปนี้ คือมรดกที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตราภาษี 10% แต่ถ้าผู้รับมรดกเป็นคนในตระกูล อัตราภาษีจะลดลงเหลือเพียง 5% ส่วนคู่สมรสนั้นได้รับการยกเว้นภาษีมรดก แม้ว่าจะได้รับมรดกเกิน 100 ล้านบาทก็ตาม

       แต่การคิดภาษีมรดกก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะถ้ามีมรดกรวมเกิน 100 ล้านบาท แต่แบ่งให้คนอื่น ๆ ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ผู้รับมรดกก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีมรดก หรือการแสดงเจตนาเพื่อบริจาค ใช้ในกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณะประโยชน์ให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคล และองค์กรต่างประเทศตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ การเก็บภาษีมรดกข้างต้น อาจทำให้หลายคนเลือกที่จะโอนทรัพย์สินแบ่งไปให้ผู้รับมรดกหลายคน เพื่อเลี่ยงภาษีตรงนี้ จึงได้เพิ่มการเก็บภาษีที่เรียกว่า “ภาษีการรับการให้” ที่ทำให้ผู้รับทรัพย์สินต้องเสียภาษี 5% ของทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท หากผู้รับทรัพย์สินเป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส จะต้องเสียภาษี 5% ของทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกิน 20 ล้านบาท

สรุปภาพรวมของภาษีมรดก

เราจะเห็นได้ว่ากฎหมายภาษีมรดกมีความซับซ้อนซึ่งต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากในการทำความเข้าใจ หากกล่าวโดยสรุปแล้วก็คือ ภาษีมรดกเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากส่วนแบ่งของทรัพย์ที่ผู้รับมรดกได้จากผู้ตายโดยชอบธรรม โดยภาษีมรดกประเภทที่มีการจัดเก็บมากที่สุดคือ ภาษีมรดกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคำนวนจากมูลค่าของทรัพย์สิน ณ ขณะที่เจ้าของทรัพย์เสียชีวิต

การรับมรดกในประเทศต่าง ๆ รวมถึงเขตอำนาจศาลที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้ผู้รับมรดกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ และอัตราการเก็บภาษีที่แตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเขียนกฎหมาย โดยบางประเทศอาจจะไม่มีการเก็บภาษีมรดกเลยก็ได้

ภาษีมรดกจึงเป็นส่วนสำคัญของระบบภาษีในทุกประเทศ ด้วยเหตุผลที่ว่า บุคคลใด ๆ ก็ตาม ซึ่งได้รับทรัพย์สินจากผู้ตาย ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่โชคดีกว่าคนอื่น ๆ ก็จะต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลด้วย โดยเงินภาษีมรดกที่รัฐบาลเก็บมานั้น จะถูกนำไปใช้พัฒนาในหลาย ๆ ภาคส่วนในทางสาธารณะ เช่น ด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการป้องกันประเทศ 

แหล่งที่มา: https://www.ar.co.th/kp/th/596

You may also like

Leave a Comment