
ภาษีมรดกคืออะไร และต้องเสียภาษีอย่างไร ?
ภาษีมรดกหรือภาษีการรับมรดก คือภาษีที่เก็บจากมรดกที่ทายาทได้รับจากกองมรดก โดยที่ผู้รับมรดกต้องเป็นผู้ที่เสียภาษี และจะมีการกำหนดค่าลดหย่อน อัตราภาษีที่เป็นประโยชน์กับผู้รับมรดกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้เสียชีวิต ทำให้มีภาระภาษีที่น้อยกว่าผู้รับมรดกอื่น เพราะรับภาระภาษีตามสัดส่วนมูลค่าของมรดกที่ตัวเองได้รับ วันนี้ กฏหมายภาษี จะพามาดู
ประเภททรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมรดก
ภาษีมรดกปี 2564 ไม่ได้มีการปรับรายละเอียดจากปีที่ประกาศใช้ใน พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
- อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านเรือน หรือที่ดิน
- หลักทรัพย์ เช่น พันธบัตร
- เงินฝาก
- ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
- ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ
ซึ่งอัตราค่าเก็บภาษีมรดกนั้นแบ่งออกเป็น 5% และ 10% ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรตั้งไว้

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมรดก
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ ผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับเป็นมรดก หักด้วยภาระหนี้สินที่ตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกินจาก 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับมรดก ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(2) บุคคลธรรมดาผู้ไม่ได้มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ตามกฎหมาย
(3) บุคคลธรรมดาผู้ไม่ได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
บุคคลธรรมดาตามข้อ (1) (2) ต้องเสียภาษีจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและที่นอกประเทศ แต่บุคคลตาม (3) ให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
2. นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย ได้แก่ นิติบุคคลที่ถือว่าเป็นบุคคลมี่มีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559 ดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ
(2) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายในประเทศไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่ผู้มีสัญชาติไทย ถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรด
(3) เป็นนิติบุคคลที่ผู้มีสัญชาติไทย เป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจบริหารกิจการทั้งหมด
นิติบุคคลตามข้อ (1) และ ข้อ (3) ให้เสียภาษีการรับมรดกจากมรดกที่ได้รับเป็นทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและอยู่นอกประเทศ
3. กรณีผู้ที่ได้รับมรดกเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้ถือว่าเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกที่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

อ้างอิง https://www.rd.go.th/56658.html
ภาษีการรับมรดก