
ภาษีป้ายคืออะไร ? มาตามหาคำตอบกัน
วันนี้ กฏหมายภาษี มาตามหาคำตอบกันว่า ภาษีป้ายคืออะไร ? ภาษีป้าย คือ ภาษีที่ได้จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น ป้ายชื่อ โลโก้บนสินค้าต่าง ๆ หรือเครื่องหมายประกอบการค้า ที่ประกอบด้วยตัวอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นป้ายบนทางด่วน ป้ายผ้าใบ ป้ายไฟที่ใช้เพื่อหารายได้ หรือ เพื่อการโฆษณา โดยเจ้าของป้ายที่นำมาติดเพื่อการโฆษณาจะต้องเป็นผู้ที่เสียภาษีป้ายนี้ ไม่ว่าป้ายจะขนาดเล็กหรือใหญ่ เจ้าของป้ายที่นำมาติดจะต้องเสียภาษีทั้ง 2 แบบ

อัตราภาษีป้ายตามเกณฑ์ใหม่
เนื่องจากภาษีป้ายได้มีกำหนดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ปัจจุบันได้มีการยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้มีการอัพเดทอัตราภาษีป้ายใหม่ และได้เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2564 โดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้ายเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ป้ายที่มีตัวอักษรไทยล้วน
(ก) ป้ายที่มีข้อความเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ ให้คิดอัตรา 10 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
(ข) ป้ายที่ข้อความไม่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นไม่ได้ ให้คิดอัตรา 5 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
2. ป้ายที่มีตัวอักษรไทยปนกับตัวอักษรต่างประเทศ ภาพ หรือเครื่องหมายอื่น
(ก) ป้ายที่มีข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ ให้คิดอัตรา 52 บาท
ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
(ข) ป้ายที่มีข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายไม่เคลื่อนที่หรือไม่เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ ให้คิดอัตรา
26 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
3. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมี รูป หรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ และป้ายตัวอักษรไทยอยู่ใต้หรือต่ำกว่าตัวอักษรต่างประเทศ
(ก) ป้ายที่มีข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ ให้คิดอัตรา 52 บาท
ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
(ข) ป้ายที่มีข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายไม่เคลื่อนที่หรือไม่เปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ ให้คิดอัตรา
50 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
อัตราเสียภาษีป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ให้บังคับใช้สำหรับป้ายโฆษณาต้องเสียภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ส่วนป้ายที่ต้องเสียภาษีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2564 ใหเป็นไปตามอัตราภาษีป้ายที่กฎกระทรงฃกำหนด ฉบับที่๕ (๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ เหมือนเดิม

ป้ายประเภทไหนที่ไม่ต้องเสียภาษีป้าย ?
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพ
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งห่อหรือบนบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้บริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ว่าด้วยตามกฎหมายที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนนั้น
10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตที่เกิดจากการเกษตรของตนเอง
11. ป้ายของวัดหรือผู้ทำให้เกิดกิจกรรมเป็นประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะ
12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย
(ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถส่วนบุคคล
(ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
(ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร
เอกสารหลักฐานภาษีป้ายที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ
กรณีป้ายใหม่ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐานและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่
– ใบอนุญาตติดตั้งป้าย และใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– บัตรประจำตัวประชาชน ,บัตรข้าราชการ ,บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ,บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
– กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ,ทะเบียนพาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร
– หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
– หลักฐานอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ
ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุต่าง ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา ล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้นตามที่กฎหมายกำหนด
อ้างอิง http://www.khuanlang.go.th/networknews/detail/226124/data.html
https://www.prosoftwinspeed.com/Article/Detail/133916