ภาษีที่อยู่อาศัยคืออะไร มีการคำนวณอย่างไร

by taxlaw
0 comment
ภาษีที่อยู่อาศัย

ภาษีที่อยู่อาศัยคืออะไร มีการคำนวณอย่างไร

ภาษีที่อยู่อาศัยคือ ภาษีที่จัดเก็บตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในครอบครอง การจัดเก็บภาษีที่ดินจะจัดเก็บเป็นรายปี โดยจะคิดตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ ไม่รวมมูลค่าทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งยึดมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นฐานในการคำนวณภาษี มีหน่วยงานรับผิดชอบหลายแห่ง กฏหมายภาษี และผู้เสียภาษีสามารถชำระได้ตามพื้นที่ของตน

ภาษีที่อยู่อาศัยตามกฎหมายที่มีคำจำกัดความดังนี้

1. ที่หรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัยหรือให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย 

2. การครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น

3. สำหรับบ้านเช่า หอพัก อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดที่ปล่อยเช่ารายเดือน หากถ้าเป็นบ้านหรือห้องพักให้เช่าเป็นรายวัน จะจัดอยู่ในหมวดใช้ประโยชน์เพื่อการอื่น ๆ ซึ่งเสียภาษีแพงกว่า

4. โฮมสเตย์เป็นสถานที่พักชั่วคราวที่เจ้าของดัดแปลงเป็นห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน จัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกตามสมควร และเป็นการพักรวมกับเจ้าของในชายคาเดียวกัน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม

การจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยจะแบ่งเป็น 3 กรณีมีอะไรบ้าง 

1. บ้านหลังหลัก การจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยสำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมกับมีชื่อในทะเบียนบ้าน ถ้าสิ่งปลูกสร้างนี้มีราคาไม่ถึง 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี 2565 แต่ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท ให้เสียภาษีตามอัตราปกติ ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 3 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 60 ล้านบาท ทรัพย์สินส่วน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนที่เหลืออีก 10 ล้านบาท นำมาคำนวณภาษี 0.03% เท่ากับต้องเสียภาษี 3,000 บาท 

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังหลักพร้อมที่ดิน มูลค่า 100 ล้านบาท ทรัพย์สินส่วน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี ส่วน 25 ล้านบาทต่อมา นำมาคำนวณภาษี 0.03% เท่ากับ 7,500 บาท และส่วน 25 ล้านบาทสุดท้าย คิดอัตรา 0.05% เท่ากับ 12,500 รวมเสียภาษี 20,000 บาท

2. บ้านหลังหลัก การจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยสำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เป็นบ้านหลังหลัก และยังมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม 2565 แต่เราเป็นเจ้าของเฉพาะตัวสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

สำหรับผู้ที่มีบ้านหรือคอนโดมิเนียม มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่ต้องเสียภาษี

สำหรับผู้ที่มีบ้านบนที่ดินเช่า มูลค่า 30 ล้านบาท และมีชื่อในทะเบียนบ้าน 10 ล้านบาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่เหลือ 20 ล้านบาท จะนำมาคิดภาษีที่ 0.02% เท่ากับต้องเสียภาษี 4,000 บาท 

3. บ้านหลังอื่น ๆ การจัดเก็บภาษีที่อยู่อาศัยสำหรับบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไปหรือบ้านที่ไม่มีชื่อเราอยู่ในทะเบียนบ้านจะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ว่าบ้านหลังนั้นจะมีราคาเท่าไรก็ตาม โดยคิดในอัตรา 0.02-0.10% ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังที่ 2 มูลค่า 3 ล้านบาท เสียภาษี 0.02% คือ 600 บาท

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังที่ 3 มูลค่า 60 ล้านบาท ส่วน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษี 0.02% คือ 10,000 บาท ที่เหลืออีก 10 ล้านบาท เสียภาษี 0.03% เท่ากับ 3,000 บาท รวมแล้วต้องเสียภาษี 13,000 บาท

สำหรับผู้ที่มีบ้านหลังที่ 5 มูลค่า 100 ล้านบาท ส่วน 50 ล้านบาทแรก เสียภาษี 0.02% คือ 10,000 บาท ส่วน 25 ล้านบาทถัดมา เสียภาษี 0.03% คือ 7,500 บาท และที่เหลืออีก 25 ล้านบาท คิดอัตรา 0.05% คือ 12,500 บาท รวมเสียภาษีทั้งหมด 30,000 บาท

ภาษีที่อยู่อาศัยกรณีเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมรดกลดภาษีอีก 50%

คือเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาได้รับมรดกเป็นบ้านพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย หากจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2562 จะได้ลดภาษีที่ดิน 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

นางมั่งมีได้รับมรดกที่ดินพร้อมบ้าน มูลค่า 60 ล้านบาท โดยมีชื่ออยู่ในบ้านหลังนี้ จะได้รับยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก ส่วนเกินอีก 10 ล้านบาท จะเสียภาษี 0.03% คิดเป็น 3,000 บาท แต่นางมั่งมีได้รับบ้านหลังนี้มาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 จึงได้ลดภาษี 50% จึงจ่ายภาษีแค่ 1,500 บาท

You may also like

Leave a Comment