
ภาษีที่ดินและอัตราการจ่ายเป็นอย่างไร
ภาษีน้องใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นก็คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นอัตราการเก็บภาษีจากการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินและปรับปรุงปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินในท้องถิ่นให้มีความทันสมัย ดังนี้บทความนี้ กฏหมายภาษี จะเสนอเรื่องเกี่ยวกับภาษีที่ดินในแต่ละประเภทว่าเป็นอย่างไร ไปอ่านกันเลยค่ะ
ความเป็นมาของภาษีที่ดิน

ภาษีที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคาร ที่ครอบครอง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บ เริ่มใช้บังคับ ตั้งแต่ 13 มีนาคม 2562 และจะเริ่มเก็บภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยอัตราภาษีจะคำนวณตามประเภทการใช้ประโยชน์ ซึ่งอัตราสูงสุดที่เป็นไปได้อยู่ที่ปีละ 3% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ประเภทของภาษีที่ดิน
เนื่องจากที่ดินแต่ละแบบก็จะมีอัตราภาษีที่ดินไม่เหมือนกัน จึงต้องจำแนกได้ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. ประเภทบ้านและที่อยู่อาศัย

ประเภทนี้สามารถแบบออกเป็น 3 ดังนี้
1.1 สำหรับบ้านหลังแรกมีชื่อเจ้าของบ้านและที่ดินเป็นชื่อเดียวกัน เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด หากมีราคาตั้งแต่ 0 – 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี หากบ้านมีมูลค่าตั้งแต่ 50 – 75 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีที่อัตรา 0.03% หากบ้านของเรามีมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไปจะเสียภาษีที่ดินสูงสุดที่ 0.10%
1.2 สำหรับบ้านที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เช่น คอนโดหรืออาคารชุดต่าง ๆ หากราคาของบ้านมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาทจะได้รับการยกเว้นภาษี หากมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทจะมีการคิดภาษีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับราคาของบ้านที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยหากบ้านมีมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป จะเสียภาษีที่ดินสูงสุดที่ 0.10%

1.3 สำหรับนักลงทุนที่ซื้อบ้านหรือห้องชุดคอนโดไว้เก็งกำไรที่มีมากกว่า 1 หลังถึงแม้ไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ก็ต้องเสียภาษีที่ดินเหมือนกันหากบ้านมีราคาตั้งแต่ 0 – 10 ล้านบาท จะมีอัตราภาษีเริ่มต้นที่ 0.02% แล้วจะมากขึ้นตามราคาของบ้าน หากบ้านที่ราคามากกว่า 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีที่ดินสูงสุดที่ 0.10% หากผู้ที่จะเก็งกำไรในบ้านหรือคอนโด ต้องพิจารณาจุดนี้มาก ๆ เพราะจะคิดจากมูลค่าของบ้านแต่ละหลัง
2. สำหรับที่ดินการทำเกษตรกรรมที่เราใช้เพื่อปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือทำการประมง

สำหรับเจ้าของที่ดินเป็นบุคคลธรรมดาแล้วที่ดินมีมูลค่าน้อยกว่า 50 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดิน ถ้าที่ดินมีเจ้าของเป็นนิติบุคคลมีราคาไม่เกิน 75 ล้านบาท จะถูกคิดภาษีในอัตรา 0.01% มูลค่าของภาษีที่ดินสำหรับใช้ทำเกษตรกรรมจะมากขึ้นตามมูลค่าของที่ดิน โดยจะมีมูลค่าภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15%
3. สำหรับที่ดินรกร้าง

สำหรับที่ดินรกร้างและพื้นที่เกษตรกรรมใกล้กันมาก หากใช้พื้นที่รกร้างทำการเกษตรก็ได้ไม่ผิด แต่ต้องใช้ในการปลูกพืชผลทางการเกษตรให้เข้าหลักเกณฑ์ เช่น ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ผักผลไม้ ไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ต่อไร่ หากเข้ากำหนดก็จะนับที่ดินรกร้างนี้ เสียภาษีที่ดินเพื่อทำการเกษตรกรรม แต่ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ที่ดินตรงนี้จะต้องเสียภาษีที่ดินรกร้าง แล้วพื้นที่รกร้างจะมีอัตราเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.2% แต่ถ้ามูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้าน จะเสียภาษีที่ดินอยู่ที่ 0.3% แล้วจะมากขึ้นเรื่อย ๆ หากมูลค่าของที่ดินเกิน 5,000 ล้านบาท อัตราการเก็บภาษีจะอยู่ที่ 0.7% และภาษีต้องจ่ายเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีที่ดินรกร้างรวมแล้วต้องจ่ายภาษีที่ดินไม่เกิน 3%