
ปลูกพืชชนิดไหนบ้างอัตราการเก็บภาษีที่ดินการเกษตรกับการจ่ายที่ลดลง
ปี 2565 ภาษีที่ดินการเกษตรและสิ่งปลูกสร้าง กระทรวงการคลังพิจารณาจัดเก็บภาษีดังกล่าวเต็มจำนวนเป็นปีแรก หลังจากที่ปรับลดมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว เนื่องจากการลดภาษีในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นภาระทางการคลัง แต่การจัดเก็บยังคงเก็บอัตราเดิมตามฐานของปี 2563 – 2564 ไปถึงปี 2566 จะมีอัตราการจ่ายภาษีที่ดินการเกษตรอย่างไร กฏหมายภาษี จะพามาดูกันเลย

อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินการเกษตร
ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ต้องเป็นผู้ที่จ่ายภาษีที่ดินการเกษตร
มูลค่าที่ดิน 0 – 75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
มูลค่าที่ดิน 75 – 100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
มูลค่าที่ดิน 100 – 500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
มูลค่าที่ดิน 500 – 1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
มูลค่าที่ดิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

เมื่อต้องการจ่ายอัตราการเก็บภาษีที่ดินการเกษตรลดลงต้องปลูกพืชชนิดใดบ้าง
หากต้องการลดการจ่ายภาษีที่ดินการเกษตรการได้จากการประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจ แบบสวนเฉพาะหรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชซึ่งกำหนดพืช 51 ชนิดดังต่อไปนี้ จะต้องประกอบการเกษตร ให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม
1. กล้วยหอม 200 ต้น/ไร่
2. กล้วยไข่ 200 ต้น/ไร่
3. กล้วยน้ำว้า 200 ต้น/ไร่
4. กระท้อนเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่ สำหรับพันธุ์ทับทิม 25 ต้น/ไร่ สำหรับพันธุ์ปุยฝ้าย 25 ต้น/ไร่
5. กาแฟ 170 ต้น/ไร่ สำหรับพันธุ์โรบัสต้า 170 ต้น/ไร่ สำหรับพันธุ์อราบิก้า 533 ต้น/ไร่
6. กานพลู 20 ต้น/ไร่
7. กระวาน 100 ต้น/ไร่

8. โกโก้ 150-170 ต้น/ไร่
9. ขนุน 25 ต้น/ไร่
10. เงาะ 20 ต้น/ไร่
11. จำปาดะ 25 ต้น/ไร่
12. จันทร์เทศ 25 ต้น/ไร่
13. ชมพู่ 45 ต้น/ไร่
14. ทุเรียน 20 ต้น/ไร่
15. ท้อ 45 ต้น/ไร่
16. น้อยหน่า 170 ต้น/ไร่
17. นุ่น 25 ต้น/ไร่
18. บ๊วย 45 ต้น/ไร่
19. ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่
20. ฝรั่ง 45 ต้น/ไร่
21. พุทรา 80 ต้น/ไร่
22. แพสชั่นฟรุ๊ต 400 ต้น/ไร่
23. พริกไทย 400 ต้น/ไร่
24. พลู 100 ต้น/ไร่
25. มะม่วง 20 ต้น/ไร่
26. มะพร้าวแก่ 20 ต้น/ไร่
27. มะพร้าวอ่อน 20 ต้น/ไร่
28. มะม่วงหิมพานต์ 45 ต้น/ไร่
29. มะละกอแบบยกร่อง 100 ต้น/ไร่ และสำหรับไม่ยกร่อง 175 ต้น/ไร่

30. มะนาว 50 ต้น/ไร่
31. มะปราง 25 ต้น/ไร่
32. มะขามเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่
33. มะขามหวาน 25 ต้น/ไร่
34. มังคุด 16 ต้น/ไร่
35. ยางพารา 80 ต้น/ไร่
36. ลิ้นจี่ 20 ต้น/ไร่
37. ลำไย 20 ต้น/ไร่
38. ละมุด 45 ต้น/ไร่
39. ลางสาด 45 ต้น/ไร่
40. ลองกอง 45 ต้น/ไร่
41. ส้มโอ 45 ต้น/ไร่
42. ส้มโอเกลี้ยง 45 ต้น/ไร่
43. ส้มตรา 45 ต้น/ไร่
44. ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่
45. ส้มจุก 45 ต้น/ไร่

46. สตรอเบอรี่ 10,000 ต้น/ไร่
47. สาลี่ 45 ต้น/ไร่
48. สะตอ 25 ต้น/ไร่
49. หน่อไม้ไผ่ตง 25 ต้น/ไร่
50. หมาก (ยกร่อง) 100-170 ต้น/ไร่
51. พืชกลุ่มให้เนื้อไม้ 100 ต้น/ไร่
ทั้งนี้เป็นพืชที่สามารถปลูกเพื่อได้ได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดอัตราการจ่ายภาษีที่ดินการเกษตร และที่สำคัญยังช่วยสร้างรายได้จากผลผลิตอีกหนึ่งทางนั่นเอง