ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

by taxlaw
0 comment

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร บทความนี้มีคำตอบมาให้ มาคลายความสงสัย และเรียนรู้กับฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกัน จะเป็นอย่างไร กฏหมายภาษี ไปดูกันเลย

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

คือมูลค่าของสินค้าและบริการที่จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของสินค้าและบริการ และแบ่งได้ 4 กรณีดังนี้

1. ทั่วไป (จากมาตรา 79) ฐานภาษีกรณีทั่วไปคือ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ รวมไปถึงภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี, ภาษีขาย, ค่าตอบแทนที่มีลักษณะ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี, ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้าและบริการได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว ทั้งนี้เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าว ให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้

2. ส่งออก (จากมาตรา 79/1) ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ให้ใช้ราคา F.O.B รวมกับภาษีสรรพสามิต รวมกับ ภาษีอื่น ๆ และรวม ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก เงินมัดจำ ไม่ใช่ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ไม่เสีย Vat แต่ฐานภาษีสำหรับการส่งออกคือ ราคา F.O.B

3. นำเข้า (จากมาตรา 79/2) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ให้ใช้ราคา C.I.F.  รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ อากรขาเข้า ราคา F.O.B. คือราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมกับค่าขนส่ง และค่าประกันภัย และราคา C.I.F. คือ ราคารวมประกันภัยกับค่าระวางหรือค่าขนส่ง ราคา C.I.F. อาจถือตามราคาที่กรมศุลกากรกำหนด

4. กรณีพิเศษ (จากมาตรา 79/3) การขายสินค้าและบริการที่ไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณ ให้ยึดตามราคาตลาดทั่วไป การนำสินค้าไปใช้เอง โดยไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการ มูลค่าของฐานภาษีคือตามราคาตลาด สินค้าขาดจาก Stock มูลค่าของฐานภาษีคือ ราคาตลาด ณ วันที่ตรวจพบสินค้า ถือว่าเป็นวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตรา 0 ต่อมาได้กลายเป็นอัตรา 7 ฐานภาษีคือ ราคาตลาดของสินค้านั้นตามสภาพหรือปริมาณ ในวันที่ความรับผิด สินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ให้ถือเป็นการขายโดยคิดตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ เป็นฐานภาษี

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลของเบื้องต้นของฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้เสนอหวังว่าจะทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับฐานภาษีมูลค่าเพิ่มนี้

You may also like

Leave a Comment