
การขายของออนไลน์จ่ายภาษีอย่างไร
การขายของออนไลน์เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้มหาศาล แน่นอนการจ่ายภาษีสำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์รวยภายในพริบตาเลยทีเดียว แต่ก็ต้องยอมรับว่าเมื่อมีรายได้เข้ามามากขึ้น การจ่ายภาษีก็จะเป็นเรื่องที่ตามมาติด ๆ กัน กฏหมายภาษี จะพามาดูกันว่าการจ่ายภาษีออนไลน์มีกี่ประเภท การคำนวณภาษีอย่างไรบ้าง
รู้ไหมว่ากรมสรรพากรจะรู้รายได้จากการขายของออนไลน์ได้อย่างไร

การประกาศใช้กฎหมายอีเพย์เมนต์ (e-Payment) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดยธนาคารจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษี โดยสถาบันจำนับจำนวนธุรกรรมรวมกันทุกบัญชีที่เกิดขึ้นใน 1 ปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค.) ส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบโดยใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้
1. มีการฝากเงิน หรือรับโอนเงินรวมทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปี
2. มีการฝาก หรือรับโอนเงินรวมทุกบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปี และยอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
การเสียภาษีจากการขายของออนไลน์มี 2 ประเภท ได้แก่

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม่ค้าพ่อค้าขายของออนไลน์ทั่วไปต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป โดยยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94 ซึ่งจะมี 2 ช่วง ได้แก่
ช่วงแรกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. สรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปีก่อนหน้านี้
ช่วงที่สองยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. สรุปรายได้ที่เกิดขึ้นช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ขายของออนไลน์ที่ต้องจดเป็นบริษัทจำกัดมีรายได้มากกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนและจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% ทุก ๆ เดือน สำหรับยอดขายของเดือนที่ผ่านมา
วิธีการคำนวณการเสียภาษีจากการขายของออนไลน์ 2 วิธี ดังนี้

1. (เงินได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี
2. เงินได้ x 0.5% (หากมียอดขายเกิน 1,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป)
สำหรับค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักก่อนนำไปคำนวณภาษีมีดังนี้

1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% (แบบเหมา)
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง ซึ่งในกรณีนี้จะต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นด้วย เช่น นายร่ำรวย มีรายได้จากการขายเสื้อผ้าผ่านทางเฟซบุ๊ก 1,000,000 บาทต่อปี ใช้วิธีคำนวณที่ 1 (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี 1,000,000 – 600,000 – 60,000 = 340,000 จากนั้นเอาไป x อัตราภาษีตามฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กำหนดไว้ ดังนั้นนายร่ำรวยมีเงินได้สุทธิ 340,000 บาท ต้องเสียภาษีในอัตรา 10% ทำให้ต้องเสียภาษีทั้งสิ้น 7,500 + 4,000 = 11,500 บาท
อัตราการคำนวณภาษีมีดังนี้

จำนวน 0 – 150,000 ยกเว้นภาษี
จำนวน 150,001 – 300,000 จ่ายภาษี 5%
จำนวน 300,001 – 500,000 จ่ายภาษี 10%
จำนวน 500,001 – 750,000 จ่ายภาษี 15%
จำนวน 750,001 – 1,000,000 จ่ายภาษี 20%
จำนวน 1,000,001 – 2,000,000 จ่ายภาษี 25%
จำนวน 2,000,001 – 5,000,000 จ่ายภาษี 30%
จำนวน 5,000,001 จ่ายภาษี 35%
