
การหักภาษี ณ ที่จ่าย
การหักภาษี ณ ที่จ่ายคือ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาวิธีการหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนนั้นทางกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าให้ผู้จ่ายเงินได้บางกรณีเป็นผู้คำนวณหักเงินดังกล่าว จากจำนวนเงินที่ตนเองต้องจ่ายให้แก่ผู้รับเงินได้ ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางกฎหมายกำหนดเอาไว้ เงินที่ถูกหักดังกล่าวจะถูกนำส่งรัฐบาลในภายหลัง เงินดังกล่าวเรียกว่า “เงินหักภาษี ณ ที่จ่าย”
การหักภาษี ณ ที่จ่ายมีประโยชน์กับลูกจ้างหรือผู้รับเงินอย่างไร คำตอบคือประโยชน์นั้นมีแน่นอนแต่ก็ไม่ได้รับอย่างปัจจุบันทันทีเลย แต่เงินที่ถูกหักไปทั้งหมดในรอบปีภาษีจะถูกนำไปรวมกัน เป็นค่าลดหย่อนภาษีอีกทางหนึ่งพูดง่าย ๆ ก็คือเป็นการจ่ายเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายนั่นเอง และไม่จำเป็นต้องไปจ่ายซ้ำซ้อนอีกยังเป็นการช่วยลดภาระภาษีอีกทางหนึ่งอีกด้วย กฏหมายภาษี จะพามาดู
ทำไมต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ตามที่กฎหมายกำหนดนั้นผู้ที่มีสิทธิหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย อาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญคณะบุคคลซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องเป็นผู้จ่ายเงิน ส่วนผู้รับเงินนั้นต้องเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และเงินได้ที่จ่ายนั้นก็ต้องเป็นเงินได้ที่มีใช่เงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวม เพื่อคิดคำนวณภาษีด้วย
จุดประสงค์หลักที่รัฐบาลจัดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นก็เพื่อต้องการบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงิน ไม่ต้องมาเสียภาษีทีละมาก ๆ ในคราวเดียว เป็นการแบ่งเสียภาษีย่อยคราวละน้อย ๆ และเป็นครั้งคราวเท่านั้น นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมให้มีการจ่ายภาษีกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐบาลมีเงินไปพัฒนาประเทศ อีกทั้งยังเป็นการลดสาเหตุที่ทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงหรือหนีภาษีอย่างผิดกฎหมายอีกด้วย
ชำระเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ตรงกำหนดหรือไม่ถูกต้องรับโทษอย่างไร

หลาย ๆ คนคงประสบปัญหาเกี่ยวกับการยื่นชำระภาษีมาหลากหลายอย่างเป็นแน่ ซึ่งส่วนมากนั้นมักจะเจอกับปัญหาที่ว่ายื่นแบบ ภ.ง.ด. ไม่ตรงเวลาหรือไม่ก็ไม่ถูกต้องตามที่ควรเป็น ซึ่งในกรณีนี้ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ ต่างก็ต้องได้รับบทลงโทษเช่นเดียวกันหมด โดยบทลงโทษที่ว่าระบุไว้ดังนี้
กรณีที่ไม่ชำระภาษีตามกำหนดเวลา อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าช่วงเวลาที่เปิดให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีนั้นจะอยู่ช่วง 3 เดือนแรกของปี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุก ๆ ปีหากว่าเรายื่นแบบ ภ.ง.ด. เกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ ย่อมจะเป็นเรื่องที่ผิดและบทลงโทษที่ได้รับนั้นก็คือ เราต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด ยกเว้นในกรณีที่ทางอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งให้ขยายเวลาในการชำระภาษีให้เกินกำหนด ในกรณีนี้จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 0.75 เท่านั้น
หากเจ้าพนักงานออกหมายเรียก ในกรณีนี้จะปรากฏก็ต่อเมื่อทางผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ หรือไม่ก็ยื่นไปแล้วแต่ว่ามีการชำระภาษีที่ต่ำกว่าความเป็นจริง หรือที่เราเรียกว่า ชำระภาษีขาด ในกรณีนี้ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน โดยโทษที่ได้รับก็คือ ผู้เสียภาษีต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนด อีกทั้งยังต้องเสียค่าปรับจำนวน 12 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระขึ้นอยู่กับกรณีที่แตกต่างกันไป แต่เงินเบี้ยปรับดังกล่าวนั้นอาจจะลดหรือไม่ต้องชำระก็ได้ ขึ้นอยู่กับระเบียบข้อบังคับที่รัฐบาลกำหนดมาในขณะนั้น
การผ่อนชำระการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ผู้เสียภาษีทั้งแบบภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ต้องมียอดชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป โดยสามารถผ่อนชำระได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่ม ผู้เสียภาษีสามารถติดต่อผ่อนผันได้ที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่เพื่อขอแบบฟอร์มยื่นเรื่อง ซึ่งจะกำหนดวันเวลาที่ต้องชำระในแต่ละงวดดังนี้
งวดที่ 1 ให้ชำระพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคม
งวดที่ 2 ให้ชำระภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ชำระงวดที่ 1
งวดที่ 3 ให้ชำระภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ชำระงวดที่ 2
“การชำระภาษีจะเป็นเรื่องเคร่งครัด แต่ความจริงแล้วการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ยังมีช่องทางผ่อนปรนให้ผู้เสียภาษีด้วยเช่นกัน ที่เราสามารถเลือกผ่อนปรนชำระภาษีแบบเป็นงวด ๆ ได้”
