
การวางแผนภาษีและเคล็ดลับการลงทุนให้รวยและประหยัดภาษี
หลายคนเมื่อพูดถึงเรื่องภาษีถึงกับเบือนหน้าหนี ด้วยเหตุผลการวางแผนภาษีจึงทำให้ใครหลายคนมองหาวิธีในการประหยัดภาษี การจ่ายภาษีให้น้อยที่สุดนั้นต้องถูกกฎหมายด้วย บทความนี้ กฏหมายภาษี จึงจะนำเสนอการวางแผนภาษีและเคล็ดลับการลงทุนให้รวยและประหยัดภาษี ไปดูกันเลยค่ะ
การวางแผนภาษีอย่างฉลาด
1. หลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เอกสารหลักฐานการหัก ณ ที่จ่ายนั้นเป็นเอกสารสำคัญที่เราจะใช้ในการคำนวณภาษี โดยนำตัวภาษีที่เราถูกหักไว้ทั้งปีนำมาหักออกจากรายการที่จะต้องจ่ายภาษี ดังนั้นเก็บเอกสารตัวนี้ไว้ให้ครบถ้วนเป็นการวางแผนภาษีที่ถูกต้องที่สุด สำหรับพนักงานออฟฟิศต้องไปแจ้งข้อมูลค่าลดหย่อนทั้งหมดที่เรามีให้ฝ่ายบุคคลทราบ เพื่อที่ทางกิจการจะได้หักภาษีไว้ไม่เกินกว่าจำนวนที่เราต้องเสียในแต่ละปี
2. นำเงินภาษีที่ประหยัดไปลงทุนในสิ่งที่ตนเองชอบ

ลองคิดดูสิว่าหากเราได้นำเงินที่ประหยัดจากการวางแผนภาษีนั้น ไปลงทุนในสิ่งที่เราชื่นชอบจะเกิดการต่อยอดที่ยอดเยี่ยมขนาดไหน
3. ต้องมีความรู้ด้านภาษีก่อน

เพราะความรู้ด้านภาษีซึ่งใครหลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากเราศึกษาให้ละเอียดเชื่อว่าจะไม่ยากอย่างที่คิด ไม่มัวแต่คิดจะให้ใครวางแผนภาษีให้ เพราะแต่ล่ะคนต้องสร้างวิธีในการวางแผนภาษีการจ่ายภาษีที่เหมาะสมกับตนเองจะดีกว่า
4. การจัดประเภทรายได้

การจัดประเภทรายได้ที่เราต้องมีนั้นว่ารายได้ที่ต้องจ่ายภาษีหรือไม่ มีรายได้ประเภทใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพราะว่ารายได้แต่ละประเภทที่เรามีนั้นกฎหมายกำหนดให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากน้อยแตกต่างกัน ตัวอย่างการวางแผนภาษี รายได้ฟรีแลนซ์ปกติสามารถหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้เพียง 60,000 บาทต่อปี แต่ถ้าเราเป็นฟรีแลนซ์ที่เปิดในรูปแบบธุรกิจที่ชัดเจนมีจดทะเบียนเต็มรูปแบบก็ต้องหักค่าใช้จ่ายได้ตามที่เกิดขึ้นจริง
5. การวางแผนค่าลดหย่อนด้วยการออม

รายการค่าลดหย่อนที่เป็นการวางแผนภาษีการจ่ายภาษีและประหยัดภาษีที่สำคัญยังเป็นการออมเงินไปพร้อม ๆ กัน ประกอบด้วย 5 ตัวหลัก ได้แก่
1. สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักลดหย่อน 15% ของรายได้หรือสูงสุด 500,000 บาท
2. สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักลดหย่อน 15% ของรายได้หรือสูงสุด 500,000 บาท (โดยเมื่อรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
3. สำหรับประกันสังคมหักค่าลดหย่อนสูงสุดได้ 9,000 บาทต่อปี
4. สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หักค่าลดหย่อนสูงสุดได้ 500,000 บาทต่อปี
5. สำหรับประกันชีวิตทั่วไปหักลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท และประกันชีวิตแบบบำนาญหักลดหย่อน 15% ของรายได้หรือสูงสุด 200,000 บาท
