มาทำความเข้าใจว่า การยื่นภาษีต้องทำอย่างไรบ้าง?

by taxlaw
0 comment
การยื่นภาษี

มาทำความเข้าใจว่า การยื่นภาษีต้องทำอย่างไรบ้าง?

เรามาแก้ข้อสงสัยกันว่า ทำไมคนเราต้องยื่นภาษี การยื่นภาษี เป็นข้อกำหนดในกฎหมายสรรพากรว่าประชาชนคนไทยจำเป็นมีการยื่นภาษีแสดงรายได้ และใช้เป็นหลักฐานกในารยื่นทำธุรกรรมในอนาคตได้ และเพื่อแสดงถึงรายได้ของบุคคลนั้น ๆ เช่น การขอกู้เงิน รวมไปถึงถ้าใครอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีแล้ว เพื่อนำภาษีเหล่านี้ไปพัฒนาด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ วันนี้ กฏหมายภาษี จะพามาดู

เราสามารถไปยื่นภาษีที่ไหนได้บ้าง ?

ปัจจุบันกรมสรรพากรเปิดช่องให้ยื่นภาษีได้เป็น 3 ช่องทางหลัก ดังนี้

1. สำนักงานสรรพากรทุกแห่ง 

2. ไปรษณีย์ แบบลงทะเบียน เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 

3. เพื่อความสะดวกในปัจจุบันอีกหนึ่งช่อง คือช่องทางออนไลน์ เราสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ได้ที่ rd.go.th  สำหรับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สามารถดูรายละเอียด และขั้นตอนต่างๆ ได้ที่ ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์จากกรมสรรพากร

ต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะต้องยื่นภาษี ?

ถ้ามีเงินเดือนหรือมีรายได้จากหลายทางเกิน 10,000 บาท/เดือน หรือ 120,000 บาท/ปี จะต้องยื่นภาษีทุกคน คนที่มีรายได้ 10,000 บาท/เดือนหรือน้อยกว่า ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ เนื่องจากกฎหมายกำหนด

สาเหตุที่กฎหมายกำหนด เพราะเมื่อผู้ที่มีเงินได้ 120,000 บาทต่อปี ยื่นภาษีแล้วใช้สิทธิลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ร่วมกับสิทธิหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินเดือน เท่ากับว่าเงินได้สุทธิ 0 บาทจึงไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี

การยื่นภาษี คือ การที่บุคคลที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ต้องยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจสอบ แต่การเสียภาษีนั้นเป็นขั้นตอนหลังจากผู้ยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว จะเสียภาษีก็ต่อเมื่อ มีเงินได้หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น 

ขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็นยังไงได้บ้าง ?

ขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน ได้แก่

  1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล เป็นต้น
  2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งอื่น เช่น พนักงานบริษัท

หากเราไม่ยื่นภาษีจะมีความผิดไหม ?

การไม่ยื่นภาษี หรือ เลี่ยงภาษีล้วนมีความผิด โดยบทลงโทษจะแตกต่างกันในแต่ละกรณี แบ่งได้ดังนี้

– กรณีที่ไม่จ่ายภาษีในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนไปจนถึงวันที่เสียภาษี

– กรณีที่ตรวจสอบพบว่าไม่ได้ยื่นภาษี หรือยื่นแสดงรายการไว้ แต่จ่ายภาษีขาดจะต้องรับผิดชอบเงินส่วนที่หายไป และเสียเบี้ยปรับอีก 

– กรณีที่ได้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา จะต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

– ถ้าจงใจให้ข้อความเท็จ แสดงหลักฐานเท็จ เพื่อเลี่ยงภาษี จะมีโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท

– ถ้ามีเจตนาไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเลี่ยงภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

การยื่นภาษี เป็นหน้าที่ของผู้เสียภาษี แม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ก็ต้องยื่นภาษี แม้การเสียภาษีจะมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาค่อนข้างมาก แต่ถ้าหากค่อย ๆ ศึกษาและทำตามขั้นตอนก็สามารถทำด้วยตนเองได้ เพื่อนำภาษีเหล่านี้ไปพัฒนาด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ

อ้างอิง https://www.bangkokbiznews.com/social/947144

https://www.bangkokbiznews.com/business/864783

You may also like

Leave a Comment