
หากใครยังไม่เข้าใจว่า การยื่นภาษี ภ.พ.36 คืออะไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน
การยื่นภาษี ภ.พ.36 คืออะไร ทำไมเราถึง “งง”
ในกรณีที่คุณจ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคลที่มีที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย หากคุณต้องการนำค่าใช้บริการเหล่านี้มาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของคุณ เช่น การลงโฆษณาใน Facebook หรือ Google ก็จะต้องยื่นรายการพร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ขายหรือให้บริการ โดยใช้แบบฟอร์มการยื่นภาษี ภ.พ.36 นั้นเอง แต่รู้แค่นี้ยังไม่พอให้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้ด้วยกัน
ใครเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภาษี ภ.พ.36
สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 คือนิติบุคคลที่ได้ใช้บริการกับผู้ให้บริการนั้น ๆ และต้องการนำค่าบริการเหล่านั้นมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการ เช่น บริษัท Lottosod888 จำกัด ได้ลงโฆษณาใน Facebook บริษัท Lottosod888 จำกัด ก็มีหน้าที่ที่จะต้องยื่น ภ.พ.36 แทน Facebook นั่นเอง ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นทางบริษัทจะต้องจัดเตรียมข้อมูล และบัญชีรายรับรายจ่ายให้เรียบร้อย โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อถัดไป
เอกสารแบบใดที่จะใช้ยื่น ภ.พ.36 ได้
กรณีที่คุณได้ใช้บริการลงโฆษณาบน Facebook หรือ Google แล้ว แต่ไม่ได้บอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้กับผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเหล่านั้น จะคิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการของคุณ เช่น คุณลงโฆษณาจำนวน 3,000 บาท ก็จะมีภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 210 บาท รวมเป็น 3,210 บาท เป็นวิธีที่ใช้ในการคำนวณภาษีเบื่้องต้น แต่ถ้าคุณลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเหล่านั้นไว้แล้ว โดยระบุว่าเป็นนิติบุคคลมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ทางผู้ให้บริการจะคิดค่าบริการตามอัตราปกติ คือ 3,000 บาท ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณมีหน้าที่เพียงนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก 210 บาทแทนผู้ประกอบการเหล่านั้น โดยใช้แบบ ภ.พ.36 เท่านั้น
การยื่นภาษี ภ.พ.36 ง่าย ๆ ด้วยตนเอง
นำรายการค่าใช้จ่ายมามาบันทึกลงในแบบ ภ.พ.36 1 รายการต่อ 1 ใบเท่านั้น หรืออาจจะรวบรวมรายการที่ใช้บริการทั้งเดือนต่อผู้ให้บริการ 1 รายก็ได้ นำรายการไปยื่นแบบผ่านเว็บไซด์ของสรรพากร e-Filing ตามลิงก์ที่แนบมาให้
หรือ หากต้องการยื่นแบบด้วยตนเองโดยใช้แบบ ภ.พ.36 ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
https://www.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/vat/pp36_010260.pdf
การยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ให้บริการนั้น จะต้องยื่นนำส่งและชำระภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปในทุก ๆ รอบการชำระภาษี หรือถ้ายื่นแบบทางอินเตอร์เน็ตสามารถยื่นและชำระภาษีได้ในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
หลังจากทำการยื่นแบบเรียบร้อยแล้ว ให้นำใบเสร็จรับเงินจากกรมสรรพากร มาบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ได้ยื่น และพิมพ์รายงานภาษีซื้อเหมือนกับรายการค่าบริการในประเทศทั่วไป