การจ่ายภาษีแบบตามโครงสร้างของประเทศไทยนั้นมีกี่แบบ

by taxlaw
0 comment
การจ่ายภาษี

การจ่ายภาษีแบบตามโครงสร้างของประเทศไทยนั้นมีกี่แบบ

ขึ้นชื่อว่าภาษีเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะต้องปวดหัวไปเป็นอันมาก แต่เราต้องยอมรับว่าการจ่ายภาษีเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคม แม้อาจจะดูยุ่งยากหรือวุ่นวายแต่ความจริงแล้วทั้งหมดล้วนมีระเบียบกฎเกณฑ์อยู่แล้ว หากเราเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ก็สามารถทำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและรวดเร็วเมื่อเราเข้าใจอย่างแท้จริงแล้วการจ่ายภาษีก็เป็นเรื่องง่าย ๆ กว่าที่เราคิด

การจ่ายภาษีที่เราเป็นประชาชนต้องจ่ายให้รัฐ เพื่อจุดประสงค์เดียวคือสนับสนุนให้รัฐบาลนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศต่อไป เพื่อจะนำผลประโยชน์จากการได้พัฒนานำความเจริญในทุก ๆ ด้านกลับมาหาประชาชนอีกรอบ สามารถเปรียบเทียบในเห็นอย่างชัดเจนคือ เหมือนเราจ่ายค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า นั้นแหละค่ะ

เมื่อไหร่ที่เราจะต้องจ่ายภาษี ก็เมื่อเราถึงตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ หากว่ามีผู้ใดหลบเลี่ยงภาษีทั้งที่เจตนาและไม่เจตนาก็จะได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ เช่น ต้องจ่ายเงินย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ย ฟังดูแล้วแสนจะโหดร้ายเหลือเกิน ดังนั้นเรามาทำให้ถูกต้องตามกฎหมายกันเถอะค่ะ กฏหมายภาษี จะพามาดู

การจ่ายภาษีตามโครงสร้างของประเทศไทยมีกี่แบบ

สำหรับเรื่องของการจ่ายภาษีมีอยู่หลายแบบหลายอย่างชนิดที่ว่าเราคาดไม่ถึงก็มี ซึ่งตามความเป็นจริงเราสามารถแบ่งรูปแบบของภาษีได้ 2 แบบง่าย ๆ คือ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม โดยทั้ง 2 แบบนั้นมีลักษณะต่างกันดังนี้

1. ภาษีทางตรง

ขึ้นชื่อว่าภาษีทางตรงก็มีความหมายตามนั้น เป็นภาษีที่เราจ่ายให้รัฐบาลโดยตรง โดยทางหน่วยงานของรัฐบาลจะเป็นผู้เรียกเก็บเอง หรือไม่ก็อาจจะยื่นแบบเพื่อขอชำระภาษีเองก็ได้ โดยภาษีเหล่านี้จะเก็บจากฐานเงินรายได้และสินทรัพย์ของแต่ละคน ภาษีเหล่านี้มีอยู่หลายอย่าง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมรดก ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย เป็นต้น 

2. ภาษีทางอ้อม

เป็นภาษีที่ผู้ผลิตนั้นจะต้องจ่ายให้รัฐเมื่อขายสินค้านั้นออกไป แต่ในความเป็นจริงแล้วภาษีดังกล่าวถูกผลักดันให้ผู้ซื้อสินค้าและนำไปใช้ หรือพ่อค้าคนกลางที่นำสินค้าไปขายอีกทอดหนึ่ง โดยการแฝงเอาไว้ในราคาสินค้า กลายเป็นภาระของผู้ซื้อไปทำให้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ จ่ายภาษีชนิดนี้ไปอย่างไม่ทันรู้ตัว ภาษีทางอ้อมนี้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% ในสินค้าต่าง ๆ ภาษีสรรพสามิต ภาษีกุลภากร อากรแสตมป์ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าธุรกิจแต่ละประเภทจ่ายภาษีแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษีทางตรงหรือภาษีทางอ้อม เราจะเห็นได้ว่าล้วนเป็นความรับผิดชอบของประชาชนทุก ๆ คน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้จักวางแผนรับมือกับการจ่ายภาษีในอนาคตให้ดีที่สุด เพื่อจะได้ผ่อนหนักให้เป็นเบา 

สนับสนุนโดย : LOTTOSOD888

You may also like

Leave a Comment