ที่ ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม โอนได้หรือไม่

by taxlaw
0 comment
ส.ป.ก. คืออะไร

ที่ ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม โอนได้หรือไม่

ที่ ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม โอนได้หรือไม่ แตกต่างจากที่ดินประเภทอื่นอย่างไร และใครมีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก. ดังนั้นบทความนี้ กฏหมายภาษี จะพามาดูรู้จักรายละเอียดกันค่ะ

ที่ ส.ป.ก. คืออะไร 

ที่ ส.ป.ก. คือ เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ สำหรับผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน

  • ที่ ส.ป.ก. ซื้อขายได้ไหม ที่ ส.ป.ก. ไม่สามารถซื้อขายได้
  • คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ ส.ป.ก. มีดังนี้ มีสัญชาติไทย, บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว, ประพฤติดี ซื่อสัตย์สุจริต, ร่างกายสมบูรณ์ ขยันขันแข็ง, ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอ, ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน, ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบของ ส.ป.ก.
  • ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ ส.ป.ก. มี 3 ประเภท ได้แก่
  1. เกษตรกร เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว
  2. ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี, จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า, เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  1. สถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร, สหกรณ์การเกษตร, ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  • หน้าที่ของเกษตรกรที่ได้รับที่ ส.ป.ก. ต้องผู้ที่ทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง ห้ามซื้อขาย ห้ามให้เช่า หรือให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น, ขุดบ่อได้ไม่เกิน 5% ของที่ดิน จากเนื้อที่ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตจาด ส.ป.ก. และไม่นำดินที่ขุดออกจากแปลง, ต้องดูแลหมุดหลักฐาน และหลักเขตที่ดิน มิให้เกิดความชำรุดหรือเคลื่อนย้าย, ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน จนทำให้ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม, ปลูกบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ได้ตามสมควร, ยินยอมทำสัญญาและปฏิบัติตามสัญญากับส.ป.ก. และไม่ทำให้สิ่งก่อสร้างและสภาพแวดล้อมในที่ดินเสียหาย
  • ที่ ส.ป.ก. โอนให้ใครได้บ้าง มีดังนี้ สามี ภรรยา, บุตร, บิดามารดาของเกษตรกร, พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเกษตรกร, พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของเกษตรกร, หลานของเกษตรกร

สำหรับที่ ส.ป.ก. สามารถโอนสิทธิและตกทอดทางมรดกสิทธิให้ทายาท ต้องเป็นเกษตรกรหรือผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเท่านั้น การโอนสิทธิเกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. ที่ยังมีชีวิตออยู่ สามารถโอนสิทธิให้กับทายาทได้ ต่อเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น แก่ชรา เจ็บป่วย เป็นต้น และตกทอดทางมรดกสิทธิ เกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. เสียชีวิต ทายาทสามารถยื่นคำร้องขอรับมรดกสิทธิได้

สนับสนุนโดย huaysod เว็บแทงหวยออนไลน์อัตราการจ่ายหวยสูงที่สุด 2566

You may also like

Leave a Comment