
ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมใช้สิทธิอะไรได้บ้าง
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงลดต้นทุนด้วยการลดการจ้างแรงงาน เป็นเหตุให้พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทเอกชนจำนวนมากต้องถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอย่างฉับพลัน โดยที่คนเหล่านั้นไม่ได้เตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นสิ่งที่ควรต้องรู้คือสิทธิที่ตนเองจะต้องได้รับจากนายจ้างกรณีที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม กฏหมายภาษี จะพามาดู
ข้อยกเว้นของการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติถึงเหตุอันสมควรซึ่งนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ โดยที่ลูกจ้างคนดังกล่าวไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ กับนายจ้างได้เลย ความหมายคือไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้างกับนายจ้างได้ มีดังนี้
1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4. หากมีการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้กระทำผิด
5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น หรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หากเป็นความผิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายด้วย
การได้รับค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

กรณีที่ลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยไม่ได้มีเหตุอันสมควร และถึงแม้ว่าจะได้กระทำความผิดตามเหตุอันสมควรดังกล่าว แต่การเลิกจ้างของนายจ้างนั้นไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง หรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ทราบในขณะที่เลิกจ้าง ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมย่อมมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย การได้รับค่าชดเชยที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมีดังนี้
1. ทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ให้นายจ้างจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ให้นายจ้างจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3. ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี ให้นายจ้างจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี ให้นายจ้างจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5. ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน