ระเบียบในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของหลักธรรมาภิบาล

by taxlaw
0 comment
การบริหารกิจการบ้านเมือง

ระเบียบในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของหลักธรรมาภิบาล

ความหมายของหลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีอะไรบ้าง กฏหมายภาษี จะพาไปดูกันเลยค่ะ

หลักธรรมาภิบาล ประกอบไปด้วย

1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)

สำหรับหลักธรรมาภิบาลข้อแรกคือ หลักนิติธรรม ที่หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย LOTTOSOD888 ล็อตโต้สด888 เว็บแทงหวยออนไลน์และคาสิโนออนไลน์ที่ดีที่สุดของปี 2022

2. หลักคุณธรรม (Morality)

ข้อหลักธรรมาภิบาลต่อมาคือ หลักคุณธรรม ที่หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ

3. หลักความโปร่งใส (Accountability)

หลักธรรมาภิบาลข้อนี้คือ หลักความโปร่งใส ที่หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส

4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)

หลักธรรมาภิบาลข้อที่สี่คือ หลักการมีส่วนร่วม ที่หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูลความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ

5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)

หลักธรรมาภิบาลที่ห้าคือ หลักความรับผิดชอบ ที่หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง

6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

หลักธรรมาภิบาลข้อนี้คือ หลักความคุ้มค่า ที่หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาขั้นต้นคือเป็นหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นระเบียบวินัยในการบริหารบ้านเมืองที่ดีของผู้บริหาร เมื่อนำไปปฏิบัติชีวิตของตนเองและคนรอบข้างจะมีความสุข

You may also like

Leave a Comment