ใบกระท่อมถูกปลดล็อกไม่ผิดกฎหมายแล้ว

by taxlaw
0 comment
ใบกระท่อม

ใบกระท่อมถูกปลดล็อกไม่ผิดกฎหมายแล้ว

เป็นเรื่องที่ฮือฮากันในประเทศไทย เมื่อใบกระท่อมถูกปลดล็อกไม่ผิดกฎหมายแล้ว ได้พ้นสถานะบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 แล้วเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ดังนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อถูกปลดล็อกจากยาเสพติด กฏหมายภาษี มาดูกัน

มารู้จักกับใบกระท่อมให้มากขึ้น

กระท่อม (Kratom, Mitragyna speciosa) ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายสายพันธุ์ ในประเทศไทยกลุ่มคนทำไร่ทำนาจะนิยมนำส่วนใบของพืชกระท่อมมาเคี้ยวสด หรือต้มเป็นชา ถูกใช้ในลักษณะยาสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้แบบไม่เมื่อยล้า เพราะพืชกระท่อมจะออกฤทธิ์คล้ายกับแอมเฟตามีน กระตุ้นประสาทให้ทำงานได้มากขึ้น

เมื่อใบกระท่อมถูกกฎหมาย

เมื่อปี พ.ศ. 2522 พืชกระท่อมกลายเป็นหนึ่งในพืชที่อยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 ของพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ชนิดเดียวกับกัญชา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2564 ได้มีการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยจะส่งผลให้ มีดังนี้

1. เป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งตัวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

2. ผู้ถูกคุมขังหรืออยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับพืชกระท่อม ได้รับการปล่อยตัวหรือยุติคดีโดยไม่ถือว่าเคยกระทำความผิด

3. ปลูก กิน ซื้อ และขายพืชกระท่อมได้ไม่จำกัดจำนวน โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนด

ใบกระท่อมใช้อย่างไรให้ไม่ผิดกฎหมาย

ใบกระท่อม

1. มาตรการควบคุมและกำกับดูแล กำหนดให้การปลูก ขาย รวมถึงการนำเข้าหรือส่งออก เพื่อประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม ต้องได้รับใบอนุญาต โดยใบอนุญาตปลูกพืชกระท่อม ใบอนุญาตขายมีอายุ 5 ปี ส่วนใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกมีอายุ 1 ปี กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต

2. หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต

– เพาะหรือปลูกในที่ดิน สถานที่ และพิกัดตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น

– ผู้รับใบอนุญาตขาย นำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม มีหน้าที่ต้องจัดให้มีป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ขาย นำเข้า หรือส่งออก จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับ โดยอย่างน้อยต้องระบุแหล่งที่มาของใบกระท่อม คำเตือน หรือข้อควรระวัง

– การคุ้มครองบุคคลและการป้องกันการใช้ในทางที่ผิด เช่น ห้ามขายใบกระท่อม น้ำต้มหรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ ให้แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท กรณีมีการขายในสถานศึกษา หอพัก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ หรือสวนสนุก หรือขายโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และห้ามผู้ใดบริโภคหรือน้ำต้มที่ปรุงผสมกับยาเสพติดให้โทษ

– กำหนดไม่ให้ผู้ปลูกพืชกระท่อม ขายใบกระท่อม เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือนำเข้า-ส่งออก โดยไม่มีใบอนุญาต

You may also like

Leave a Comment