กฎหมายคุ้มครองแรงงานต่างด้าว

by taxlaw
0 comment
แรงงานต่างด้าว

กฎหมายคุ้มครองแรงงานต่างด้าว

มาอัพเดตกฎหมายคุ้มครองแรงงานต่างด้าวล่าสุดกันเถอะว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง และที่สำคัญนายจ้างจะต้องอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าวด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะมีอะไรบ้าง กฏหมายภาษี จะพามาดูกันเลย

กฎหมายคุ้มครองแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่

สำหรับนายจ้างบางคนที่ยังไม่ทราบว่าแรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายอะไรบ้าง เหมือนกับแรงงานไทยหรือป่าว มีรายละเอียด ดังนี้

1. เมื่อนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน หากพบว่านายจ้างไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนตามเวลา รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน หรือไม่จ่ายเงินกรณีเลิกสัญญา โดย ไม่บอกล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดหรือเงินชดเชย กรณีหยุดกิจการ ทั้งหมดนี้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัด 15% ต่อปี

2. เมื่อเปลี่ยนนายจ้าง หากพบว่ามีการเปลี่ยนตัวนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมลูกจ้างแรงงานต่างด้าว และนายจ้างใหม่ก็ต้องให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ลูกจ้างเคยได้รับจากนายจ้างเดิมเช่นกัน

3. เมื่อบอกเลิกสัญญา หากพบว่านายจ้างบอกเลิกสัญญา โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ ตั้งแต่ในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน จนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล

4. เมื่อหยุดกิจการชั่วคราว หากพบว่านายจ้างมีความจำเป็นที่ต้องหยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว สำหรับนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง

5. เรื่องการลากิจ สำหรับลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ปีละ ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และจะได้รับค่าจ้างตามปกติหากลาไม่เกิน 3 วันทำงานในหนึ่งปี

6. เรื่องการลาคลอดบุตร สำหรับลูกจ้างแรงงานต่างด้าวหญิงลาคลอดบุตรได้ ไม่เกิน 98 วัน รวมถึงวันลา เพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย และนายจ้างต้องจ่ายเงินให้เท่ากับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน

7. เรื่องความเท่าเทียมของลูกจ้างชายและหญิง สำหรับลูกจ้างชายและหญิงจะต้องได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน รวมไปถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่งานนั้นต้องมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากันด้วย

8. เรื่องค่าแรงขั้นต่ำแรงงานต่างด้าวเท่ากับแรงงานไทยหรือไม่ สำหรับเรื่องการได้รับค่าจ้างนั้น ยังได้รับค่าแรงขั้นต่ำเทียบเท่ากับแรงงานไทย แม้ว่าจะทำให้นายจ้างมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ทำให้นายจ้างมีโอกาสเลือกแรงงานต่างด้าวที่มีคุณภาพได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้แรงงานต่างด้าวจำนวนมาก สนใจเข้ามาทำงานในประเทศไทย รวมถึงทำให้นายจ้างที่มีลูกจ้างทำงานบางประเภทที่แรงงานไทยไม่อยากทำ ตัวอย่างเช่น งานก่อสร้าง, งานในโรงงานอุตสาหกรรม, งานขนของ เป็นต้น

สนับสนุนโดย LOTTOSOD888 เว็บแทงหวยออนไลน์อันดับ 1 ที่มีหวยมากที่สุดในประเทศ

You may also like

Leave a Comment