LGBTQIA+ จะได้รับอะไรบ้างจาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

by taxlaw
0 comment
สมรสเท่าเทียม

LGBTQIA+ จะได้รับอะไรบ้างจาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียมเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อสนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมทางเพศของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือกลุ่ม LGBTQIA+ ที่ถูกพูดถึงและเป็นที่ถกเถียงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นเหตุให้นำไปสู่การลงชื่อเรียกร้องให้มีการร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมขึ้นเพื่อผลักดันเป็นกฎหมายต่อไป บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมว่ามีสิทธิอะไรบ้างที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะได้รับ กฏหมายภาษี จะพาไปอ่าน

รู้จักกับสมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียม คือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวที่ทุกคนจะได้รับโดยไม่จำกัดเพศว่าเป็นเพศใด ซึ่งร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเคยเป็นร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลยื่นร่างต่อสภาฯ ในปี พ.ศ.2563 ถูกเสนอเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดในการสมรส การจดทะเบียนสมรสและใช้ชีวิตคู่เป็นคู่สมรส ซึ่งไม่ว่าบุคคลเพศสภาพใดเมื่อสมรสกันก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายรองรับโดยไม่จำเป็นว่าคู่สมรสนั้นต้องเป็นชายและหญิงเท่านั้น 

สิทธิที่ LGBTQIA+ จะได้รับจาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

หาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายในไทยจะมีประโยชน์ในการมอบสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่ทุกเพศ ซึ่งกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) สามารถสมรส จดทะเบียนสมรสและเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐที่เป็นประโยชน์ได้ เช่น 

1. ไม่ว่าบุคคลจะมีเพศสภาพหรือมีอัตลักษณ์ทางเพศอย่างไร เมื่อจดทะเบียนสมรสกันก็ถือเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย

2. คำว่าคู่สมรสจะไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นแต่ครอบคลุมทุกเพศสภาพ 

3. มีการใช้ถ้อยคำที่เป็นกลางทางเพศมากขึ้น เช่น จากคำว่าสามีกับภรรยาปรับเป็นคู่สมรส, จากคำว่าชายและหญิง ปรับเป็นบุคคล, บิดา-มารดา ปรับเป็นบุพการี

4. ทุกคนจะได้รับความเท่าเทียมและได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

5. ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส 

6. สามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันและให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้ แต่ต้องมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

7. มีการปรับอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรส จากเดิมคือตั้งแต่อายุ 17 ปีขึ้นไป ปรับเป็นอายุ 18 ปี แต่ถ้าหากอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ยังคงต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

การผลักดันเรื่องสมรสเท่าเทียมให้ผ่านเป็นกฎหมายในไทยยังคงเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและจับตามอง หากถูกนำมาปรับใช้เป็นกฎหมายอย่างถูกต้องก็นับเป็นก้าวสำคัญของกฎหมายไทยของการส่งเสริมความเท่าเทียมและเสมอภาคให้แก่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) และทุกเพศสภาพในสังคม

You may also like

Leave a Comment