
เมื่อซื้อของออนไลน์โดนโกงมีวิธีเรียกร้องสิทธิอย่างไร
เมื่อซื้อของออนไลน์โดนโกงมีวิธีเรียกร้องสิทธิอย่างไร สำหรับท่านใดที่ชื่นชอบการซื้อของออนไลน์ แต่หากบังเอิญโชคร้ายซื้อของออนไลน์โดนโกงขึ้นมาต้องทำอย่างไร และวันนี้บทความนี้เราจะมาบอกแนวทางการรับมือกับการซื้อของออนไลน์โดนโกง จะเป็นอย่างไร กฏหมายภาษี จะพามาดูกันเลย
ซื้อของออนไลน์โดนโกงเมื่อของไม่ตรงปก

เมื่อเจอการซื้อของออนไลน์โดนโกงส่งของที่ไม่ตรงปกมาให้ มีวิธีป้องกันดังนี้
- ต้องถ่าย VDO ก่อนเปิดกล่องจนถึงการเช็คของเสร็จสิ้น หากพบว่าซื้อของออนไลน์โดนโกงไม่ตรงที่เราสั่ง ทักไปถามคนขายว่าทำไมจึงส่งของสิ่งนี้มาให้ และด้วยเหตุใดจึงไม่ใช่สินค้าตามที่สั่งซื้อ หากร้านไม่ได้ตั้งใจโกงด้วยความผิดพลาดทางเทคนิคทำให้ส่งของมาผิดก็จะมีการเจรจาเพื่อส่งสินค้ามาให้ใหม่

- แต่ในกรณีที่ร้านค้าตั้งใจโกงมักจะตอบกลับมาในรูปแบบคล้าย ๆ กันว่า ของที่เราได้รับเป็นของแถม ส่วนสินค้าที่เราสั่งไปนั้นตอนนี้ของหมดสต๊อก ถ้ายังอยากได้สินค้านี้อยู่ให้เราโอนเงินค่าส่งไปให้เพิ่ม ถ้าเจอแบบนี้ให้ตอบกลับร้านค้าว่าขอเงินคืนเท่านั้น อย่าหลงกลโอนเงินเพิ่มไปอีกเด็ดขาด
- การแคปหน้าจอบทสนทนากับร้านค้าไว้เป็นหลักฐาน เมื่อพบว่าการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์อย่าง Lazada, Shopee, JD Central จะมีศูนย์บริการไว้รองรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้า ให้เราติดต่อเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยหลักฐานสำคัญ แต่ถ้าเป็นการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กอ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ ติ๊กต๊อก ให้รวบรวมหลักฐานทั้งหมด ทั้งของที่ส่งมาผิด รูปสินค้าที่สั่ง สลิปการโอนเงิน ชื่อร้านค้าหรือเจ้าของบัญชี ไว้เพื่อดำเนินการแจ้งตำรวจในขั้นตอนต่อไป
ซื้อของออนไลน์โดนโกง เมื่อโอนเงินแล้วไม่ได้รับของ

- ต้องแคปหน้าจอทั้งหมดแล้วปรินท์ออกมา เก็บหลักฐานให้ครบ หน้าเว็บไซต์ที่ขายของ รูปโปรไฟล์ของร้านค้า แคปรูปเพจเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ ติ๊กต๊อก ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชีของร้านค้า ข้อความในแชทที่เราพูดคุยกับผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม สั่งซื้อ ยืนยันการชำระเงิน เป็นต้น
- เข้าไปแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดี และออกคำสั่งอายัดบัญชีนำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความได้ 2 ทางเลือก ดังนี้
- สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ เช่น เหตุเกิดที่บ้านก็แจ้งที่ สน.ใกล้บ้าน ให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 เดือนตั้งแต่วันที่รู้ว่าซื้อของออนไลน์โดนโกง
- ต่อมา คือ การเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)
พร้อมด้วยการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนถึงที่สุดเท่านั้น ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน
- ติดต่อธนาคารเพื่อทำการอายัดบัญชี มีเอกสาร ได้แก่ ใบแจ้งความ, คำสั่งอายัดบัญชี, สมุดบัญชีต้นทาง, สำเนาบัตรประชาชน, หลักฐานที่รวบรวมไว้ เป็นต้น และเจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการติดต่อเจ้าของบัญชีปลายทาง และแจ้งให้โอนเงินคืน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการดำเนินคดี ข้อหาฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา