รู้จักขั้นตอนการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

by taxlaw
0 comment
จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

รู้จักขั้นตอนการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

สำหรับบทความนี้ กฏหมายภาษี จะมานำเสนอการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เพราะการดำเนินงานให้รับเด็กจำเป็นต้องอาศัยหลักของกฎหมายควบคู่กับหลักการทางสังคมสงเคราะห์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพระราชบัญญัติการรับเด็ก เป็นต้น ดังนั้นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้ที่จะรับและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

1. ผู้รับบุตรต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรอย่างน้อย 15 ปี

2. ผู้เป็นบุตรที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง

3. ผู้เป็นบุตรที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก บิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง  

4. ผู้จะรับบุตรหรือผู้จะเป็นบุตร ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน

5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรของบุคคลอื่นอีก ในขณะเดียวกันไม่ได้เว้นแต่เป็นบุตรของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

ขั้นตอนการปฏิบัติการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรอย่างน้อย 15 ปี

– กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือต่างประเทศให้ยื่นคำขอ พร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตร กรมประชาสงเคราะห์

– กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด

2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้จะรับบุตรหรือผู้จะเป็นบุตร สามารถดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนรับบุตรได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้

สิทธิตามกฎหมายของเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม

– บิดาหรือมารดาบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน แต่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจกัน ระหว่างบิดาหรือมารดาบุญธรรมกับบิดามารดาที่แท้จริงของเด็ก

– เด็กที่เป็นบุตรบุญธรรมด้วยเหตุผลบางประการ เช่น เพื่ออนาคตของเด็ก หรือเพื่อให้ผู้รับบุตรที่ไม่มีบุตรได้มีบุตรสมใจปรารถนา 

– เมื่อได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว สิทธิการคุ้มครองเด็กจะต้องให้มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา หรือมารดาบุญธรรมทันทีนับแต่วันที่จดทะเบียน เช่น มีสิทธิได้รับมรดก มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา หรือมารดาบุญธรรม โดยที่บิดาหรือมารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิที่จะมารับมรดกของบุตร

– บุตรบุญธรรมยังไม่เสียสิทธิที่พึงมีตามกฎหมายในครอบครัวเดิมแต่อย่างใดคือ ยังมีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาที่แท้จริงได้ และบิดามารดาที่แท้จริงมีสิทธิไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนได้ตามสมควร

– กฎหมายคุ้มครองเด็ก โดยบิดาหรือมารดาบุญธรรมจะเลิกรับเด็กเป็นบุตรได้ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาที่แท้จริงเสียก่อน และจะฟ้องให้มีการเลิกรับเด็กเป็นบุตร โดยไม่มีเหตุอันควรไม่ได้

You may also like

Leave a Comment