
กฎหมายในชีวิตประจำวัน : การจดทะเบียนสมรส
คู่รักหลายคู่ที่กำลังวางแผนว่าอยากจดทะเบียนสมรส เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตคู่ต่อไป และการสมรสจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย คู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน บทความนี้จะมาบอกว่าควรจะมีการเตรียมตัวไปอย่างไร อย่ารอช้า กฏหมายภาษี จะพามาเปิดคู่มือกันเลย
จดทะเบียนสมรสคืออะไร
เป็นเอกสารทางกฎหมายที่ยืนยันความสัมพันธ์ของคู่แต่งงาน ที่ใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันสิทธิ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างสามี ภรรยา
คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสมรส

– ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย หรือหากอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้
– ผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
– ต้องไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือไร้ความสามารถ
– ต้องไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดามารดา
– ต้องไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
– ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
– กรณีหญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน ยกเว้นแต่ คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น, สมรสกับคู่สมรสเดิม, มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์, ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้, ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส

– บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
– สำเนาหรือหนังสือเดินทางหากเป็นชาวต่างประเทศ, หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาล ประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
– สำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
– การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง และคู่สมรสยื่นคำร้องขอต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
– คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
– หากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นชาวต่างชาติ จะต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) ตัวจริง และแบบฟอร์มรับรองที่ได้จากสถานทูตหรือกงสุลที่แปลแล้วประกอบด้วยถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
– ต้องมีพยานบุคคลจำนวน 2 คน
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม, หากนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียน, และนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
ฝ่ายหญิงสามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ และเปลี่ยนนามสุกลหรือไม่ หลังจดทะเบียนสมรสแล้วในกรณีที่คู่สมรสมีการยินยอมที่จะเปลี่ยนคำนำหน้า เปลี่ยนนามสกุล อย่าลืมว่าต้องไปดำเนินการแก้ไขเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน, ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง (Passport), วีซ่า, บัญชี, ธนาคาร, บัตรเครดิต, ประกันสังคม, ประกันสุขภาพ เป็นต้น สนับสนุนโดย LOTTOSOD888 มีครบ จบในเว็บเดียว