
กัญชาไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป ปลูก ใช้ นำเข้า จำหน่าย
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 กัญชาถูกกฎหมาย รัฐบาลได้ปลดล็อกพืชสมุนไพรกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด และยกเลิกความผิดฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออก มีไว้ในครอบครอง จำหน่ายมีไว้ในครอบครองเพื่อเสพหรือเสพพืชกัญชาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปลดล็อก พืชกัญชาถูกกฎหมายวันที่ 9 มิถุนายน 2565 นี้มาดูกันว่ามีอะไรที่ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และเรื่องไหนที่ต้องจดแจ้งและขออนุญาตอยู่ กฏหมายภาษี จะพาไปดูกันเลย

รัฐบาลได้ควบคุมการใช้กัญชา
สำหรับควบคุมการใช้ รัฐบาลได้พิจารณาออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสมุนไพรควบคุม พ.ศ.2565 โดยให้กัญชา หรือสารสกัดจากกัญชาซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis เป็นสมุนไพรควบคุม อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ขึ้นไปสามารถครอบครองใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษา ขนย้าย จำหน่ายได้ แต่ห้ามสูบในที่สาธารณะ ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ห้ามจำหน่ายแก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร
สำหรับการอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาให้กับผู้ป่วยของตน และอนุญาตให้ผู้ป่วยข้างต้น สามารถครอบครอง ขนย้าย ดูแล เก็บรักษา ใช้ประโยชน์ในปริมาณที่จ่ายให้สำหรับการใช้ประโยชน์เป็นเวลา 30 วัน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

การปลูกกัญชาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การปลูกไม่ต้องขออนุญาตอีกต่อไป ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ให้ประชาชนที่ต้องการปลูกแจ้งข้อมูลผ่านระบบ Application “ปลูกกัญ” ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้นหรือแอปพลิเคชั่น ปลูกกัญชา ลงทะเบียน จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์
การสูบกัญชาถูกกฎหมาย
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป การสูบไม่มีความผิดกฎหมายยาเสพติดแต่การสูบในที่สาธารณะรบกวนสิทธิผู้อื่นมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท การสูบกัญชาในที่สาธารณะยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรงเช่น บุหรี่ ที่มี พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบควบคุมอยู่

กัญชา กัญชง ที่ใช้ในอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายถูกกฎหมาย
การนำกัญชา กัญชง และสารสกัดแคนนาบิไดออล (CBD) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อผลิตจำหน่าย ต้องเป็นเฉพาะส่วนของพืชสมุนไพรที่กำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน รากและใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วยผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้ประโยชน์จากสารสกัด CBD ผู้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารหรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหารเงื่อนไขชนิดอาหาร ปริมาณ THC และ CBD และแสดงคำเตือนเป็นไปตามที่ประกาศกำหนด ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องดำเนินการยื่นขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารและเลขสารบบอาหารด้วย
กัญชาเป็นสมุนไพรเปรียบเสมือนดาบสองคม มีทั้งประโยชน์และโทษ ถ้านำไปในในทางที่ถูกก็จะมีประโยชน์มหาศาล แต่ถ้านำไปใช้ในทางที่ผิดก็สามารถให้โทษถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน
สนับสนุนโดย : LOTTOSOD888