
รู้จักและเข้าใจกฎหมายแรงงานฉบับง่าย ๆ
รู้จักและเข้าใจกฎหมายแรงงานฉบับง่าย ๆ เพราะทุกคนที่ทำงานบริษัทจำกัด ทำงานโรงงาน งานในระบบต่าง ๆ ล้วนต้องอยู่ภายใต้ของกฎหมายแรงงาน ดังนั้น กฏหมายภาษี จึงต้องมารู้จักและเข้าใจให้ละเอียดกันเถอะ
กฎหมายแรงงานคืออะไร
เป็นกฎหมายเพื่อแรงงานที่อยู่ในระบบของบริษัทนั้น ๆ เมื่อเกิดอะไรขึ้นแรงงานก็จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานนี้ กฎหมายแรงงานจึงเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงานและการใช้งาน การประกอบกิจการและความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นไปด้วยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม หรือเรียกว่าเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) ซึ่งการมีกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างการใช้แรงงาน การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดีและปลอดภัยในชีวิตร่างกาย พร้อมทั้งได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม
กฎหมายแรงงานกับการจัดการวันลาของพนักงาน

แรงงานทุกคนมีสิทธิในการลางาน และจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามเงื่อนไขของบริษัทและภายใต้กฎหมายแรงงานด้วย ดังนั้นจึงจะลาหยุดไปเองแบบสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ และวันลา คือ วันที่ลูกจ้างนั้นใช้สิทธิในการลาหยุดงานได้อันเนื่องจากเหตุต่าง ๆ โดยต้องได้รับการอนุญาตจากนายจ้าง และมาดูกันว่าสิทธิในการลาในแต่ละอย่างตามกฎหมายกันเถอะ
- การลาป่วย ตามมาตรา 32 ลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ เมื่อป่วย และลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม
- การลาไปทำหมัน เป็นสิทธิที่ลูกจ้างสามารถลาได้ และระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและการออกใบรับรองแพทย์ ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนในวันลา
- การลากิจ ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้ เพื่อไปทำธุระจำเป็น การลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้
- ลาเพื่อรับราชการทหาร ตามมาตรา 35 ให้มีสิทธิลา เพื่อรับราชการทหารเพื่อฝึกวิชาชีพทหารได้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
- การลาเพื่อไปพัฒนาความรู้ ตามมาตรา 36 ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถได้ไม่เกิน 30 วันหรือ 3 ครั้ง/ปี และต้องมีหลักสูตรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนชัดเจน ลูกจ้างต้องแจ้งต่อนายจ้างไม่น้อยกว่า 7 วันให้ถือเป็นการลา
- การลาเพื่อคลอดบุตร ตามมาตรา 41 ลูกจ้างเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน/ปี ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลา เพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาไม่เกิน 45 วัน

เมื่อนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนตามกฎหมายแรงงานเป็นอย่างไร
ในกรณีนี้นายจ้างเลิกสัญญาหรือเลิกจ้าง ไม่คืนเงินหลักประกัน หรือเลิกจ้างโดยไม่บวกล่วงหน้า ไม่มีค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน หรือเงินส่วนต่าง ๆ ที่จะต้องจ่าย แต่ไม่จ่ายนั้นจะต้องชดเชยพิเศษให้พนักงาน รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการด้วย นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดด้วยร้อยละ 15 ต่อปี ตามกฎหมายแรงงาน
การโดนเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานจะได้รับค่าจ้างหรือไม่
เมื่อเป็นเพราะนายจ้างเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้าให้ทราบ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ควรจะได้รับ หากเป็นการเลิกจ้างแบบแจ้งให้ทราบก่อนนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาวันหยุดและเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับภายในเวลา 3 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง หากบริษัทจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราวที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายเงินแก่พนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

การย้ายสถานประกอบการไปแหล่งใหม่ตามกฎหมายแรงงานเป็นอย่างไร
เมื่อบริษัทจะย้ายไปตั้งที่ใหม่ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตพนักงานอย่างมาก บางคนเดินทางลำบากและยังสิ้นเปลืองมากกว่าเดิมอีก หากบริษัทต้องย้ายไปตั้งที่ใหม่จะต้องมีการปิดประกาศจ้างให้ทราบล่วงหน้า 30 วัน แต่ถ้านายจ้างไม่ปิดประกาศแล้วสั่งย้าย จะต้องมีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แทนการบอกล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงานที่แห่งใหม่
กฎหมายแรงงานเป็นประโยชน์ตั้งต่อแรงงานและนายจ้าง เพื่อมิให้มีฝ่ายใดเอาเปรียบกันได้ ดังนั้นทุกคนควรจะทราบและปฏิบัติตาม