แบบไหนที่เข้าค่ายผิดกฎหมายหมิ่นประมาท

by taxlaw
0 comment
กฎหมายหมิ่นประมาท

แบบไหนที่เข้าค่ายผิดกฎหมายหมิ่นประมาท

กฎหมายหมิ่นประมาทในยุคปัจจุบัน ยุคโซเชียลแทบเรียกได้ว่าเป็นช่องทางหลักของการสื่อสาร ทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในพื้นที่ของตนเองและพื้นที่ของบุคคลอื่น แต่รู้หรือไม่ว่าบางถ้อยคำที่เราพิมพ์ทั้งโพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นไปโดยที่อาจจะพิมพ์ขำ ๆ สนุก ๆ พูดลอย ๆ อาจจะนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า ผิดกฎหมายหมิ่นประมาทแบบไม่รู้ตัวสิ่งที่ต้องคำนึงตลอดเวลาในการแสดงความคิดเห็นคือ แม้เราจะมีสิทธิในการพูดก็ต้องไม่พูด เขียน หรือแสดงความคิดเห็นสิ่งที่จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้รับผลกระทบหรือทำให้ผู้อื่นได้รับการเกลียดชังจากคนอื่น ๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจจะเข้าข่ายผิด “กฎหมายหมิ่นประมาท” ผู้อื่นอีกด้วย บทความนี้ กฏหมายภาษี ชวนทำความรู้จักกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทให้มากขึ้น

โทษของกฎหมายหมิ่นประมาท 

โทษของกฎหมายหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดกฎหมายหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายหมิ่นประมาทข้อไหนที่ชาวโซเชียลสุ่มเสี่ยงที่สุด

ในมาตรา 328 ถ้าความผิดกฎหมายหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

คำด่าคำหยาบนับเป็นความผิดกฎหมายหมิ่นประมาทไหม

คำที่ใช้แสดงความคิดเห็นแล้วมีความผิดกฎหมายหมิ่นประมาทนั้นไม่จำเป็นต้องใช้คำที่ก้าวร้าวหยาบคายแม้เป็นคำพูดสุภาพก็อาจจะเป็นหมิ่นประมาทได้ เช่น มาสายเป็นประจำ, รับเงินเขามาแล้วไม่ทำงาน, ผ่านผู้ชายมาหลายคน, ขี้โกง เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นข้อความที่รุนแรงขึ้น เป็นคำหยาบคายก็อาจจะไม่เป็นการหมิ่นประมาทแต่เป็นแค่เพียงดูหมิ่นก็ได้ เช่น ไอ้เหี้* ไอ้สั** ไอ้ชาติห** อีเว* อีคว**

ความผิดกฎหมายหมิ่นประมาทสามารถยอมความได้ไหม

ถ้าสมมติว่า A ฟ้อง B หลังจากที่ทนายความของ A ได้ยื่นฟ้องต่อศาล และศาลได้รับฟ้องแล้ว A คิดได้ว่าไม่ต้องการเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการฟ้อง หรือดำเนินคดีต่อไปจึงขอถอนฟ้องจากศาลถ้าศาลตัดสินให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นผิดสามารถฟ้องกลับได้หรือไม่ ในกรณีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาที่ศาลพิพากษาให้พ้นผิดแล้วจะสามารถดำเนินการฟ้องกลับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 5 ละเมิด มาตรา 420 

ซึ่งได้ระบุไว้ในมาตราที่ 420 ว่าผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

You may also like

Leave a Comment