
รอบรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม
รอบรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นกฎหมายประเภทหนึ่งเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการป้องกันและเยียวยาความเสื่อมโทรม สำหรับกฎหมายสิ่งแวดล้อมบางประเภทมีการกำหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจำกัดเงื่อนไขในการดำเนินกิจการบางประเภทของมนุษย์ ดังนั้นบทความนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักให้มากขึ้น กฏหมายภาษี จะพามาดูกันเลย
กฎหมายสิ่งแวดล้อมได้บัญญัติขึ้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภท มีดังนี้

- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กฎหมายสิ่งแวดล้อมนี้ได้บัญญัติขึ้นมาเพื่อป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ดินเสีย น้ำเน่า อากาศเป็นพิษ ป่าไม้ ต้นน้ำลำธารถูกทำลาย อันเนื่องมาจากการขยายตัวของประชากร และการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ถูกต้อง และอุตสาหกรรม กำหนดมาตรการควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษตลอดจนให้มีกองทุนสิ่งแวดล้อม
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ออกใช้เพื่อควบคุมดูแลการประกอบกิจการโรงงานให้เหมาะสม โดยกำหนดให้แบ่งโรงงานตามประเภทชนิดหรือขนาดโรงงาน ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ โรงงานจำพวกที่ 1 โรงงานจำพวกที่ 2 หรือโรงงานจำพวกที่ 3 ในแต่ล่ะกรณีกฎหมายกำหนดให้โรงงานจำพวกใดจำพวกหนึ่งหรือทุกจำพวกต้องปฏิบัติตามในเรื่องที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะอาคารและลักษณะภายในของโรงงาน ลักษณะและชนิดของเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ คนงานที่ต้องมีความรู้ตามประเภทชนิดหรือขนาดของโรงงาน หลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ กรรมวิธีการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อป้องกันหรือระงับหรือบรรเทาอันตราย ความเสียหาย ความเดือดร้อนที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์สินในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียง มาตรฐานและวิธีควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม การจัดให้มีเอกสารเพื่อการควบคุมหรือตรวจสอบ ข้อมูลที่จำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการจะต้องแจ้งตามระยะเวลาที่กำหนด และการอื่นใดที่คุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน

- พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่จัดหาพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม แล้วจัดให้เช่า เช่าซื้อหรือขาย และให้บริการแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้ประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์หรือต่อเนื่องกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ขยายขอบเขตการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขในด้านต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น เพื่อสามารถนำมาปรับใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที กำหนดมาตรการกำกับดูแลและป้องกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมให้มีลักษณะการกำกับดูแลและติดตาม และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และบทกำหนดโทษตามกฎหมายปัจจุบันให้สามารถบังคับให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของสังคมปัจจุบัน

- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ออกมายกเลิก พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 ปรากฏว่ามีการนำวัตถุอันตรายมาใช้ในกิจการประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และวัตถุอันตรายบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ และสิ่งแวดล้อมได้
- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้บัญญัติกฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อกำหนดมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอันอาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือแก่กิจการอุตสาหกรรม หรือเศรษฐกิจของประเทศ
- กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะของไทย กฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทยมี 2 ลักษณะ คือ กฎหมายการรักษาความสะอาด ห้ามทิ้งขยะมูลฝอยในที่ห้ามและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกลักษณะหนึ่ง คือ กฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งจะให้อำนาจกับท้องถิ่น