กฎหมายระหว่างประเทศ

by taxlaw
0 comment
กฎหมายระหว่างประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศคืออะไร

กฎหมายระหว่างประเทศ (International law) คือเป็นกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ สามารถดำเนินการติดต่อสัมพันธ์กันให้เป็นไปตามกฎที่กำหนดหรืออยู่ในกรอบข้อตกลงยินยอมระหว่างกันไม่ว่าในยามปกติ หรือเกิดภาวะสงคราม ซึ่งจะมีความแตกต่างกับกฎหมายภายในประเทศ กฏหมายภาษี ดังนั้นมารู้จักให้มากขึ้นกับบทความต่อไปนี้ได้เลยค่ะ

จุดเริ่มต้นของการวางรากฐานแห่งกฎหมายระหว่างประเทศคืออะไร

คือความยินยอมที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของเหล่าบรรดาประเทศต่าง ๆ โดยมาจาก 2 ทางได้แก่

1. จารีตประเพณี การที่รัฐยินยอมให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในระยะเวลายาวนานพอสมควร จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความผูกพัน โดยไม่จำเป็นต้องมีลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อกำหนด

2. สนธิสัญญา การที่ทำข้อตกลงระหว่างกันของรัฐอย่างชัดเจนและเปิดเผย รวมทั้งมีการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้มีการบังคับปฏิบัติเฉพาะคู่สัญญา

กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งแยกเป็นแผนกคดี 3 สาขามีอะไรบ้าง 

กฎหมายระหว่างประเทศหรือ International law คือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน ได้แบ่งออกเป็นแผนกคดี 3 สาขา ดังนี้

1. แผนกคดีเมือง (Public International Law) เป็นข้อบังคับกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม โดยแบ่งออกเป็นคือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองภาคสันติ เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับรัฐ เช่น ลักษณะของรัฐ อาณาเขตของรัฐ หรือหลักเกณฑ์ในการทำสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองภาคสงคราม เป็นข้อความเกี่ยวกับการทสงคราม

2. แผนกคดีบุคคล (Private International Law) เป็นข้อบังคับกำหนดสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ถือว่าเป็นพลเมืองของรัฐในทางแพ่ง เช่น เรื่องการสมรส การหย่า การได้สัญชาติหรือการสูญเสียสัญชาติ การแปลงสัญชาติ ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา มรดก เป็นต้น

3. แผนกคดีอาญา (Criminal International Law) เป็นกฎหมายที่นำมากำหนดด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในคดีอาญา เมื่อพลเมืองของรัฐมีการกระทำผิดกฎหมายอาญา เช่น การกำหนดอำนาจที่จะใช้บังคับและปฏิบัติต่อชาวต่างประเทศ ตลอดจนการส่งตัวผู้รายข้ามแดน เป็นต้น

กฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายในประเทศมีความแตกต่างอย่างไร

สามารถแบ่งออกเป็น 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

1. ความสัมพันธ์ที่มีข้อบังคับ สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศสามารถใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่กฎหมายในประเทศจะบังคับความเกี่ยวข้องกันระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือระหว่างเอกชนด้วยกัน

2. กฎหมายระหว่างประเทศเกิดขึ้นมาจากธรรมเนียมปฏิบัติที่มีต่อกันระหว่างประเทศมีสนธิสัญญา แต่กฎหมายภายในประเทศเกิดขึ้นมาจากขนบธรรมเนียมภายในอาณาเขตของประเทศใด ประเทศหนึ่งหรือการถูกบัญญัติขึ้นด้วยสถาบันนิติบัญญัติของประเทศนั้น ๆ 

3. การตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับ สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้กำหนดให้รัฐใดมีอำนาจเหนืออีกรัฐหนึ่ง แต่เป็นการจรรโลงความสัมพันธ์ระหว่างอธิปไตยไว้ ส่วนการใช้อำนาจบังคับของกฎหมายนั้น บางครั้งกฎหมายระหว่างประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในประเทศ แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะไม่ยอมรับไม่นำเอากฎหมายภายในประเทศใดประเทศหนึ่งมาเป็นหลักในการพิจารณาคดีพิพาทระหว่างประเทศโดยเป็นอันขาด

You may also like

Leave a Comment