กฎหมายมหาชนคืออะไร

by taxlaw
0 comment
กฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชนคืออะไร

กฎหมายมหาชนหรือ Public Law เป็นกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐบาลหรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงสังคม มีการแบ่งแยกสาขาต่าง ๆ ของกฎหมายมหาชนออกได้กี่สาขา กฏหมายภาษี มาหาคำตอบจากบทความข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ

กฎหมายมหาชน (Public Law) คืออะไร

คือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐบาลกับราษฎร ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร มีความหมายง่าย ๆ คือ รัฐบาลมีฐานะเหนือราษฎร

กฎหมายมหาชนแบ่งออกได้ 6 แบ่งมีอะไรบ้าง

1. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่าง ๆ รัฐธรรมนูญต้องมีข้อความกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร อำนาจตุลาการต่อกันและกัน 

2. กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นลงจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยอำนาจการปกครองประเทศ แต่กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการปกครอง ซึ่งในกฎหมายนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การปกครอง เช่น จัดแบ่งออกเป็นกระทรวง ทบวง กรมหรือเทศบาล สุขาภิบาล เป็นต้น ความเกี่ยวพันระหว่างองค์การเหล่านี้ต่อกันและกัน และความเกี่ยวกับระหว่างองค์การเหล่านี้กับราษฎร

กฎหมายปกครองไม่ได้รวบรวมขึ้นในรูปของประมวลกฎหมาย กฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในสาขากฎหมายปกครองเป็นจำนวนมาก เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น พระราชบัญญัติจัดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติเทศบาล พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดและพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น  

3. กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฎหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน

4. กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลและอำนาจในการพิจารณาพิพากษาของศาลและของผู้พิพากษา มีหลักการดังนี้ หลักอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ต้องเป็นของศาลโดยเฉพาะ, หลักการจัดตั้งศาล จัดตั้งศาลต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติ, หลักการห้ามตั้งศาลพิเศษ, หลักการผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามรัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้ 2 ประการ คือ การแต่งตั้ง ย้าย ถอดถอนและการเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือน

5. กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการที่จะนำตัวผู้กระความความผิดมารับโทษตามความผิดที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา เริ่มตั้งแต่ขอบเขตของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการและศาลในการพิจารณาคดี หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ6. กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง หลักการเริ่มคดีอยู่ที่คู่ความ ไม่ว่าจะเป็นตัวฟ้องก็ดี คำให้การก็ดี หรือคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีแพ่งก็ดี คู่ความจะต้องระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง การพิจารณาดำเนินไปโดยเคร่งครัดต่อแบบพิธี ไม่จำเป็นต้องถือเอาความสัตย์จริงเป็นใหญ่ เพราะคู่ความต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง

You may also like

Leave a Comment